อย่าตั้งสมมติฐานผิดๆ กับหัวหน้า

 



เรื่อง : เจษฎา ปุรินทวรกุล

     การเป็นผู้นำไม่ใช้เรื่องง่าย และเรามักจะได้ยินวลีที่ว่า “ยิ่งสูงยิ่งหนาว” นั่นไม่ใช่คำพูดที่เกินจริงเลย เพราะคนที่เป็นผู้นำหรือหัวหน้า ต้องคอยตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบริษัทโดยตัดอารมณ์และความชอบส่วนตัวออกไป ทำให้บางครั้งลูกน้องไม่เข้าใจและไม่ชื่นชอบในสิ่งที่หัวหน้าทำสักเท่าไหร่

    นอกจากนั้น คนเราก็มักจะคิดไปเองว่าหัวหน้าควรจะเก่ง มีประสบการณ์ พอเห็นข้อผิดพลาดก็นำไปพูดกันในเชิงลบ แต่คุณต้องอย่าลืมว่า การเป็นผู้นำแบบในจอโทรทัศน์หรือภาพยนตร์น่ะ มันง่ายแสนง่าย แต่นี่คือโลกความจริงที่เราต้องละทิ้งอคติแล้วเผชิญกับความเป็นจริง ว่าหัวหน้าก็เป็นคนธรรมดาเหมือนเรานั่นแหละ

    และนี่ก็คือคำแนะนำของ Jeff Boss ที่ปรึกษาทางธุรกิจจาก McChrystal Group ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำด้านการให้คำปรึกษา และช่วยให้องค์กรปรับตัวจนสามารถก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในโลกธุรกิจได้ โดยต่อไปนี้คือคำแนะนำว่า เราไม่ควรตั้งสมมติฐานผิดๆ เกี่ยวกับบทบาทของผู้นำดังต่อไปนี้
 


หัวหน้าต้องรู้ทุกสรรพสิ่ง   

    ไร้สาระมาก หัวหน้าเป็นคนนะ ไม่ใช่ Google (ขนาด Google ยังไม่รู้ทุกเรื่องเลย) ถ้าสิ่งที่ต้องรู้ เป็นเรื่องของการทำงาน หน้าที่ กฎระเบียบ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้กับพนักงาน เรื่องพวกนี้เป็นหน้าที่ของหัวหน้าที่ควรรู้อยู่แล้ว แต่ถ้าจะให้รอบรู้เรื่องอื่นๆ รอบตัวทั้งหมด ก็คงต้องบอกว่าคุณมีความคิดที่แปลกมากที่จะให้คนๆ หนึ่งรอบรู้ไปเสียทุกอย่าง

หัวหน้าต้องตัดสินใจทุกอย่างด้วยตัวเอง  

     เป็นคำตอบที่ ...ผิดอีกนั่นแหละ จริงอยู่ที่ผู้นำต้องมีความเด็ดขาด แต่ต้องไม่ใช่การเข้าไปยุ่งในการปรับเปลี่ยนราคาสินค้า หรือกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดด้วยตัวเองโดยตรง เพราะหน้าที่ของผู้นำคือบริหารงานโดยให้ลูกน้องในแผนกสามารถทำงานรวมถึงขับเคลื่อนกลยุทธ์ต่างๆ ออกมา ถ้ากลยุทธ์ใดมีช่องโหว่ หัวหน้าค่อยเข้าไปแนะนำ แสดงความเห็นว่าควรแก้ไขหรือไม่อย่างไร หากหัวหน้าใครเอาแต่สั่งและแทรกแซงการทำงานแผนกนั้นแผนกนี้ เขาคงต้องไปตรวจสอบอีโก้ของตัวเองดูบ้างแล้วละ
 

หัวหน้าต้องคอยปรับปรุงคุณภาพบริษัท

     จำไว้เลยว่า ผลิตภัณฑ์และบริการดีๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากการทำงานที่มีคุณภาพของพนักงานทุกคนในบริษัท เหมือนกับถ้าไม่มีพนักงานคอยทำหน้าที่ต่างๆ ของตัวเอง ก็จะไม่มีใครผลิตสินค้า ตรวจสอบคุณภาพของสินค้าและบริการภายในบริษัทของเรา ยกตัวอย่างเช่น บริษัทใหญ่ๆ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลชี้วัดทางการเงินประจำทุกวัน เพราะข้อมูลเหล่านั้นเป็นตัวขับเคลื่อนแสนสำคัญของบริษัทและพนักงานในแผนกนี้ก็เปรียบเสมือนผู้ที่การันตีความอยู่รอดของบริษัทเลยทีเดียว

    เพราะฉะนั้น ความไว้วางใจ เต็มใจแบ่งปันข้อมูลระหว่างกัน และภาพที่ชัดเจนของเป้าหมายบริษัทจะทำหน้าที่เป็นพื้นฐานของคุณภาพภายในองค์กร หากเกิดสิ่งผิดพลาดขึ้นมา เช่น สินค้าจำนวนมากชำรุดในตอนบรรจุลงกล่อง แปลว่าพนักงานขาดความรอบคอบในการตรวจสอบ หรือ พนักงานรับโทรศัพท์พูดจาไม่สุภาพ ก็แปลว่าพนักงานไม่มีทักษะด้านการบริการ สิ่งเหล่านี้จะชี้ให้เห็นถึงช่องว่างซึ่งขาดการพัฒนาของทั้งองค์กร ไม่ใช่จากตัวหัวหน้าเพียงคนเดียว  

    สิ่งที่คุณควรทำก่อนจะรับบทบาทของหัวหน้า หรือผู้นำก็คือ เรียนรู้ให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ คอยสังเกต ตั้งคำถาม และสิ่งที่สำคัญที่สุดคืออย่าลุ่มหลงในตำแหน่งและความมีชื่อเสียง รวมถึงคอยสั่งสมประสบการณ์ไปด้วย สิ่งนี้จะคอยสอนคุณเองว่าคุณควรรู้และควรทำอะไรบ้าง


create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เช็กลิสต์ วัฒนธรรมองค์กรดี ที่พาธุรกิจโตไม่หยุด

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่แข็งแกร่ง แต่ยังสร้างอนาคตที่ดีขององค์กรด้วย เราลองมาเช็คลิสต์กันว่า ในวันนี้องค์กรได้สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นบวก และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีแล้วหรือยัง

ท่องศัพท์ A - Z แบบใหม่ ผู้นำจำให้แม่น! 26 คำ แก้ปัญหาลูกน้องลาออกบ่อย!

ถ้าอยากเป็นผู้นำยุคใหม่ พร้อมปั้นองค์กรให้มี Green Flag สะบัดไกว ซึ่งเป็นสัญญาณของความปลอดภัยและไม่เป็นพิษ ต้องจำและนำ A – Z แบบใหม่นี้ไปใช้      

ESG จะเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นโอกาสธุรกิจได้อย่างไร

แม้คำว่า ESG (Environment, Social, Governance) จะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่โตและต้องใช้เงินลงทุน แต่แท้จริงแล้วเอสเอ็มอี ก็สามารถทำได้ เพราะนี่คือโอกาสและความท้าทายครั้งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ