SME รับมือให้ไว! 5 เหตุผลทำไมมนุษย์มิลเลนเนียลถึงเปลี่ยนงานบ่อย

Text : Yuwadi.s





Main Idea
 
 
  • เดี๋ยวเข้าเดี๋ยวออก! ไม่มีความอดทนเอาซะเลย หลายคนอาจมองกลุ่มมิลเลนเนียลว่าชอบเปลี่ยนงานบ่อย ทำงานที่ไหนได้ไม่นาน แถมยังรักอิสระซะเหลือเกิน
 
  • แต่ใครจะรู้ว่าบางทีคนกลุ่มนี้ก็มีเหตุผลส่วนตัวบางอย่างที่ทำให้พวกเขาต้องตัดสินใจเปลี่ยนงาน แล้วผู้ประกอบการอย่างคุณต้องทำอย่างไรถึงจะรักษาคนกลุ่มนี้ไว้ให้ได้นานที่สุด




   กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำ Gen ไปเสียแล้วกับนิสัยการเข้าออกงานบ่อยเป็นว่าเล่นของเหล่ามิลเลนเนียล (Millennial) หรือผู้ที่เกิดประมาณปี 1980 – 2000  หลายองค์กรมักเจอปัญหาปวดหัวเรื่องการเอาใจมนุษย์มิลเลนเลียนที่เข้ามาทำงานได้ไม่นานก็ลาออกไป พอจะรับคนใหม่ก็ต้องคิดหนักว่าจะเจอปัญหาแบบเดิมอีกไหม ซึ่งเหล่ามิลเลนเนียลนับว่าเป็น Workforce หรือแรงงานที่สำคัญของโลกเราในตอนนี้เลยทีเดียว เพราะ 3 ใน 4 ของกำลังแรงงานคือมนุษย์มิลเลนเนียล แต่องค์กรต่างๆ จะทำอย่างไรในการรักษาคนกลุ่มนี้เอาไว้ให้ได้นานที่สุด ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจเหตุผลหลักที่พวกเขาเปลี่ยนงานกันก่อนว่าเกิดจากอะไรกันแน่!





เหตุผลสำคัญที่มิลเลนเนียลอยู่ไม่ทน
 
  1. รักอิสระ ไม่ชอบผูกมัด

     เรียกว่าน่าจะเป็นลักษณะนิสัยเฉพาะตัวของคนกลุ่มมิลเลนเนียลไปแล้ว ที่ส่วนใหญ่มักชอบความอิสระ ชอบเดินทาง ชอบเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ที่สำคัญยังฝันใฝ่อยากเป็นนายตัวเอง ทำให้พวกเขาไม่ค่อยมีความอดทนในการทำงานที่ไหนนานๆ อีกทั้งยังไม่ค่อยผูกพันกับองค์กรเท่ากับคนยุคก่อนด้วย เมื่อเขาเริ่มรู้สึกว่าอยู่ที่ไหนแล้วอึดอัด โดนบีบคั้นมากเกินไป จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงเปลี่ยนงานบ่อยๆ
 
  1. องค์กรไม่ให้พวกเขาเรียนรู้อะไรใหม่ๆ

     แน่นอนว่าหลายองค์กรมีการทำงานในรูปแบบของงาน Routine มีสเต็ป 1- 2- 3- 4 ที่ต้องทำในแต่ละวัน แม้งานจะสบายไม่ต้องคิดอะไรมาก แค่ทำตามขั้นตอน แต่เมื่อผ่านไปนานๆ อาจจะทำให้เหล่ามิลเลนเนียลรู้สึกเบื่อหน่ายกับการทำงาน ไม่มีองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้ได้เรียนรู้ การจมอยู่กับงานรูปแบบเดิมๆ ไม่มีพัฒนาการอาจทำให้พวกเขาเกิดภาวะ Burnout syndrome หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั่นเอง



 
  1. มองไม่เห็นการเติบโต

     อีกหนึ่งเหตุผลภายใต้การลาออกของคนยุคใหม่คือมองไม่เห็นความสำเร็จจากองค์กรปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งงานที่ไม่สามารถโตได้ ผลตอบแทนน้อยเกินไปและไม่มีทีท่าว่าจะขยับขึ้นแบบที่พวกเขาพอใจ สิ่งที่คนกลุ่มมิลเลนเนียลทำได้คือมองหาบริษัทอื่นที่มอบผลตอบแทนที่คุ้มค่ากว่าและยังมีโอกาสเติบโตมากกว่า หากองค์กรของคุณไม่สามารถตอบโจทย์พวกเขาในเรื่องอื่นได้ก็คงยากในการรั้งพวกเขาเอาไว้
 
  1.  เบื่อระบบในองค์กร

     มีหลายองค์กรที่ก่อตั้งมานานพร้อมกับระบบและวัฒนธรรมองค์กรบางอย่างที่ยากจะเปลี่ยน ซึ่งระบบการทำงานเก่าๆ ของพนักงานรุ่นเก่าคือสิ่งสำคัญที่ส่งผลให้คนกลุ่มมิลเลนเนียลปรับตัวเข้ากับที่ทำงานไม่ได้ คนรุ่นใหม่มักชอบทำอะไรด้วยความรวดเร็ว ชอบคิด กล้าพูด กล้าทำ แต่บางองค์กรมักจะมีระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง ที่พี่ไม่ฟังความคิดเห็นน้อง หัวหน้าไม่ฟังความคิดเห็นพนักงาน คนที่อยู่ใต้บังคับบัญชามีสิทธิ์แค่ทำตามคำสั่งเท่านั้น เมื่อเจอแบบนี้ก็ทำให้มิลเลนเนียลอยู่ได้ไม่นาน
 
  1. ทางเลือกเยอะ

     ยุคนี้เป็นยุคแห่งทางเลือก ไม่ได้จำกัดแค่การทำงานประจำอย่างเดียว มีทั้งการทำงานฟรีแลนซ์ ใช้ทักษะเฉพาะตัวในการประกอบอาชีพไปจนถึงมีอาชีพใหม่ๆ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่งานประจำอีกต่อไป กลุ่มมิลเลนเนียลมากมายที่เคยทำงานประจำไปสักพักจนเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งพร้อมกับที่เพิ่งเข้าใจว่าตัวเองรักอะไร อยากทำอะไร ก็ลาออกเพื่อตามความฝันของตัวเอง บางคนเป็นนักแคสเกม บางคนออกไปท่องเที่ยวและเขียนหนังสือ บางคนทำอาหารจนเปิดช่องยูทูป แต่ก็มีบางองค์กรที่เปิดโอกาสให้พนักงานของตัวเองทำตามฝันได้ไปพร้อมๆ กับการทำงานประจำ องค์กรเหล่านี้แหละคือองค์กรที่ได้ใจมิลเลนเนียลในยุคนี้



 

บริษัทต้องปรับตัวอย่างไรถึงได้ใจมิลเลนเนียล
 
  • ปรับตัวเองให้ยืดหยุ่น มองผลลัพธ์ของการทำงานมากกว่าวิธีการ เช่น เปิดให้พวกเขาสามารถ Work from Home ได้ มี Flexible Hours เป็นต้น
 
  • มีค่าตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อ ขึ้นเงินเดือนอย่างเหมาะสม ทำดีได้รางวัล
 
  • สร้างโอกาสในการเติบโตทางสายงานและให้ท้าทายพวกเขาเพื่อให้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ
 
  • เปิดให้พนักงานทุกคนได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมกับองค์กรมากกว่าแค่ทำงานในแต่ละวันแล้วจบไป เพื่อให้ทุกคนรู้สึกผูกพันกับองค์กร
 
  • เพิ่มความสนุกในการทำงาน อย่าปล่อยให้บรรยากาศในออฟฟิศตึงเครียด
 
  • ปล่อยให้ทุกคนได้ทำสิ่งที่ตัวเองรักไปพร้อมๆ กับรับผิดชอบงานของตัวเองให้แสร็จ หลายองค์กรอาจไม่โอเคกับการที่พนักงานทำงานอื่น แต่หากงานประจำไม่เสียก็ไม่เห็นจะต้องปิดโอกาสพวกเขา จริงไหม?
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

Quiet Quitting เวอร์ชั่นใหม่จากจีน! ประท้วงแบบใหม่ แบบสับ แห่แต่งชุดไม่เหมาะสมไปทำงาน เรียกร้องสวัสดิภาพที่ดี

“Quiet Quitting” หรือ “การลาออกเงียบ” เทรนด์การทำงานของคนยุคนี้ที่มีการพูดถึงกันมากเมื่อช่วง 2 ปีก่อน ล่าสุดคนรุ่นใหม่ หรือ คน Gen Z ต่างหันมาแต่งตัวไปทำงานด้วยชุดที่ไม่เหมาะสม เช่น การสวมชุดที่ดูคล้ายชุดนอนมาทำงาน, การแต่งกายด้วยชุดเวอร์วัง อย่างเสื้อคลุมขนสัตว์ที่ดูรุ่มร่าม เป็นต้น โดยมองว่าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร แค่อยากแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์เฉยๆ

ไม่อยากเจ๊งต้องอ่าน รวมทางออกให้ธุรกิจไปต่อ ยามเจอวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้าย

ความท้าทายไม่เคยขาดหายไปสำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกปัญหาล้วนมีทางออกเสมอสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และยืนหยัดด้วยปรัชญาที่ถูกต้อง

5 หนังครอบครัวฟีลกู้ด ที่คนทำธุรกิจควรดู

เพราะครอบครัว คือ รากฐานสำคัญของทุกอย่าง หลายธุรกิจแจ้งเกิดเติบโตประสบความสำเร็จได้  เนื่องในวันครอบครัว 14 เมษายนนี้ เลยอยากชวนมาดู 5 หนังเรื่องราวธุรกิจที่มีความอบอุ่นของครอบครัวเป็นแรงผลักดันจนสำเร็จมาฝากกัน