วางแผนประชุมให้น้อยครั้งแต่มากประสิทธิภาพ



    ความถี่ของการเรียกประชุมไม่สำคัญเท่ากับประสิทธิภาพของบรรยากาศการประชุม คงไม่มีใครปฎิเสธว่าการประชุมทุกครั้งกระทบระยะเวลาทำงานของพนักงาน ดังนั้น หากไม่อยากให้การประชุมเสียเวลาเปล่าก่อนเรียกประชุมแต่ละครั้งควรมีการวางแผน เพื่อเรียกประชุมน้อยครั้งแต่ก่อเกิดประสิทธิผลมาก

    1.เวลาเอื้ออำนวย การเรียกประชุมควรดูตารางการทำงานของพนักงานด้วย เพราะถ้าเรียกประชุมขณะช่วงปิดโปรเจค หรือช่วงที่ใกล้ถึงกำหนดส่งงาน พนักงานจะกังวลอยู่กับการทำงานและไม่มีสติอยู่ในห้องประชุมทำให้การประชุมขาดความคิดดีๆ                                                                                                                                                                                 
    ทางแก้ : ควรระบุเวลาประชุมล่วงหน้าขั้นต่ำหนึ่งสัปดาห์
 



    2.ทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุม หากต้องนั่งฟังเฉยๆบรรยากาศการประชุมคงเหมาะกับการนอนมากกว่าการระดมสมอง ถ้าต้องการไอเดียใหม่ๆควรกระตุ้นให้ทุกคนที่เข้าประชุมได้มีส่วนร่วม ผู้นำประชุมควรให้โอกาสคนอื่นพูดด้วย การประชุมที่ดีคือการแลกเปลี่ยนความคิด ช่วยกันแก้ปัญหา หรือพัฒนาสิ่งใหม่ รวมถึงติดตามความคืบหน้าของงานเดิม

    ทางแก้ : ควรให้มีเวลาให้ทุกคนนำเสนอสิ่งที่ตัวเองทำเล็กน้อย
 

    3.จำนวนคนเข้าร่วมประชุมเหมาะสม การประชุมที่มีคนมากเกินไปไม่ส่งเสริมให้เกิดการแชร์ไอเดีย และมักนำไปสู่ผลลัพท์ของการประชุมที่ไม่น่าพึงพอใจ 

    Jeff Bezos ซีอีโอของอแมซอน กล่าวไว้ว่า “การประชุมในแต่ละครั้งควรมีจำนวนไม่เกินวงที่นั่งกินพิซซ่าสองถาดแล้วอิ่มพอดี”

    การประชุมเป็นจุดเริ่มต้นของการระดมไอเดีย ยิ่งการประชุมที่มีพลังมากผลงานที่ออกมากมักมีคุณภาพสูง หากเจ้าของกิจการคนไหนเรียกประชุมบ่อยครั้งแต่ระดับผลงานยังคงที ลองปรับเปลี่ยนบรรยากาศการประชุมใหม่ ไม่แน่พนักงานอาจคิดว่าการประชุมไม่ใช่ยาขมอีกต่อไป 

Create by smethailandclub.com
 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เหนื่อยยังไง...ให้ไปต่อได้ 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่คนทำธุรกิจยุคไม่แน่นอนต้องรู้

ถ้าเป้าหมายการทำธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ “อยู่รอด” แต่คือ “อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่า”ลองดู 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ในวันที่เหนื่อยแทบขาดใจ

ลงทุนในคน ยังไงไม่ให้คนเก่งหนี  บทเรียนจากองค์กรชั้นนำ ยุคที่คนเปลี่ยนงานไวกว่าเปลี่ยนมือถือ

หากองค์กรจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การพัฒนาคน” ทั้งในแง่ของทักษะ มุมมอง และการสร้างระบบที่หล่อเลี้ยงการเติบโตของคนกับองค์กรไปพร้อมกัน

ล้มไม่ใช่แพ้ ถ้ารู้จักลุกอย่างมีกลยุทธ์ “Resilience” ทักษะที่ SME ควรมี

ล้มแค่ไหนก็ไม่พัง ถ้าเราล้มเร็วลุกเร็ว มาเรียนรู้ 10 วิธีฟื้นใจและปรับตัวไว ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของความอดทน แต่คือศิลปะของการลุกขึ้นใหม่