​4 เทคนิคเจรจาธุรกิจลื่นไหลสไตล์ SME

 

แปลและเรียบเรียง : เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ

    เจ้าของกิจการชั้นเยี่ยมย่อมมีทักษะการเจรจาชั้นยอดหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า ‘สาริกาลิ้นทอง’ เจ้าของกิจการกลุ่มนี้ไม่ว่าจะพูดจะกล่าวอะไรก็ฟังดูลื่นหูจนคู่ค้าอยากตกลงร่วมธุรกิจ แต่เชื่อหรือไม่ว่าเจ้าของกิจการทุกคนสามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นนักเจรจาชั้นยอดได้เพียงใช้ทริคเล็กๆ

    1.เจรจาแบบมีจุดมุ่งหมาย ก่อนจะเจรจาธุรกิจเจ้าของกิจการต้องตั้งธงเป้าหมายของการเจรจาให้ชัดเจน เพื่อในเวลาเจรจาต่อรองจะได้ชักแม่น้ำทั้งห้าจูงใจคู่ค้าให้โอนเอียงตามเป้าหมายของเราได้ เพราะหากเป้าหมายไม่ชัดเจนจะส่งผลให้การเจรจาไร้ทิศทางและก่อให้เกิดความสับสน นอกจากตั้งเป้าหมายแล้วเจ้าของกิจการควรเผื่อทางเลือกสำรองหรือ Plan B ไว้ด้วยสำหรับกรณีที่การเจรจาตามเป้าหมายแรกไม่สัมฤทธิ์ผล

    2.เงียบถูกจังหวะ การพูดน้ำไหลไฟดับอาจทำให้การเจรจาไม่ราบรื่นและทำให้คู่ค้ารู้สึกถูกยัดเยียดเกินไป เพราะฉะนั้น เพื่อสร้างบรรยากาศการเจรจาที่ดี เจ้าของกิจการควรเงียบเพื่อหยุดฟังความต้องการของคู่ค้าเพื่อยื่นข้อเสนอทางธุรกิจ แบบ win-win ทั้งสองฝ่าย

    3.รู้ว่าพูดกับใคร ในการเจรจาแต่ละครั้งควรทำการบ้านซักนิดว่าคนที่เจ้าของกิจการต้องนั่งเจรจาธุรกิจด้วยคือใคร มีลักษณะนิสัยอย่างไร มีสไตล์การทำงานรูปแบบไหน ชอบอะไรไม่ชอบอะไร เพราะบางครั้งการสร้างความประทับใจก็ส่งผลต่อบวกต่อการเจรจาเช่นกัน

    4.ให้ข้อมูลครบถ้วน ความเชื่อถือเป็นปัจจัยหลักส่งผลให้การเจรจาธุรกิจสำเร็จตามเป้าหมาย โดยความเชื่อถือสามารถสร้างได้ด้วยการเปิดเผยข้อมูลระหว่างเจรจาให้ครบถ้วนและไขทุกข้อสงสัยของคู่ค้า นอกจากนั้นการให้ข้อมูลครบถ้วนแบบไม่หมกเม็ดยังสะท้อนวิถีการทำธุรกิจที่โปร่งใสของเจ้าของกิจการซึ่งทำให้คู่ค้าอยากร่วมธุรกิจด้วย

    การเจรจาต่อรองนอกจากคำถึงผลประโยชน์ของตัวเองแล้วยังควรนึกถึงคู่เจรจาฝ่ายตรงข้ามเพื่อประสานผลประโยชน์ของสองฝ่ายให้ลงตัว เพราะหากแต่ละฝ่ายต่างดื้อดึงยึดถือแต่ผลประโยชน์ของตัวเองฝ่ายเดียวแล้วนั้นไม่ว่าเจ้าของกิจการมีทักษะการเจรจาลื่นไหลเพียงได้การเจรจาก็ไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลได้

 แปลและเรียบเรียงจาก www.entrepreneur.com

by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MANAGEMENT

เหนื่อยยังไง...ให้ไปต่อได้ 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่คนทำธุรกิจยุคไม่แน่นอนต้องรู้

ถ้าเป้าหมายการทำธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ “อยู่รอด” แต่คือ “อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่า”ลองดู 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ในวันที่เหนื่อยแทบขาดใจ

ลงทุนในคน ยังไงไม่ให้คนเก่งหนี  บทเรียนจากองค์กรชั้นนำ ยุคที่คนเปลี่ยนงานไวกว่าเปลี่ยนมือถือ

หากองค์กรจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การพัฒนาคน” ทั้งในแง่ของทักษะ มุมมอง และการสร้างระบบที่หล่อเลี้ยงการเติบโตของคนกับองค์กรไปพร้อมกัน

ล้มไม่ใช่แพ้ ถ้ารู้จักลุกอย่างมีกลยุทธ์ “Resilience” ทักษะที่ SME ควรมี

ล้มแค่ไหนก็ไม่พัง ถ้าเราล้มเร็วลุกเร็ว มาเรียนรู้ 10 วิธีฟื้นใจและปรับตัวไว ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของความอดทน แต่คือศิลปะของการลุกขึ้นใหม่