คู่มือ...สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเป็นห้างหุ้นส่วนบริษัท

 




เรื่อง : อชิระ ประดับกุล
      

    มีเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยมาบอกกล่าวกันครับ ความจริงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่เดาว่ายังคงมีเจ้าของกิจการหลายท่านที่อาจยังไม่ทราบเรื่องที่จะเล่าให้ฟังนี้…

    เป็นเรื่องของ “คู่มือ...สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเป็นห้างหุ้นส่วนบริษัท” ที่จัดทำโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สังกัด กระทรวงพานิชย์ ครับ ซึ่งได้มีการเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2555 แล้วล่ะครับ โดยมีการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้กับ หุ้นส่วนผู้จัดการ, กรรมการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปปฏิบัติเมื่อมีการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนบริษัท ให้ปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันภายใต้กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของกรมฯ

    ในคู่มือมีหลายเรื่องน่าสนใจเชียวครับ เช่น

- ความหมายของห้างหุ้นส่วน

 - หน้าที่ของห้างหุ้นส่วน

- ความหมายของบริษัทจำกัด

- หน้าที่ของบริษัทจำกัด

- มาตรฐานทางจริยธรรมขององค์กรธุรกิจ

    และสถานที่ หน่วยงานต่างๆ สำหรับการติดต่อประสานงานเพื่อดำเนินธุรกิจก็ได้รวบรวมไว้ด้วยเช่นกัน

    อ่านเข้าได้ง่ายไม่ยากและเหมาะอย่างยิ่งกับเจ้าของธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นก่อร่าง สร้างตัว เพราะจะได้มีแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ
     
    ส่วนอื่นๆของคู่มือผมคงไม่ลงรายละเอียดแต่จะขอหยิบยกส่วนของ “งานบัญชี” ที่คู่มือนี้ได้บรรจุเอาไว้อย่างน่าสนใจจนมิอาจละเลยไปได้ ดังนี้ครับ (ขออนุญาตกล่าวถึงเฉพาะกรณีห้างหุ้นส่วน)

 


กรณีห้างหุ้นส่วน

        1.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ดังนี้  

- บัญชีรายวัน
- บัญชีแยกประเภท
- บัญชีสินค้า
- บัญชีประเภทอื่น

           หากไม่มีการจัดทำบัญชีดังกล่าวจะโดนปรับ ตามส่วนดังนี้

- ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคล โดนปรับไม่เกิน 30,000 บาท และอีกไม่เกินวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

- หุ้นส่วนผู้จัดการ โดนปรับไม่เกิน 30,000 บาท และอีกไม่เกินวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

 
          2.ต้องจัดให้มี “ผู้ทำบัญชี”ถ้าไม่ปฏิบัติ จะโดนปรับตามส่วนดังนี้

- ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคล โดนปรับไม่เกิน 10,000 บาท

- หุ้นส่วนผู้จัดการ โดนปรับไม่เกิน 10,000 บาท

 


 
          3.ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ถ้าไม่ดำเนินการจะมีความผิด โดย

- ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคล โดนปรับไม่เกิน 10,000 บาท

- หุ้นส่วนผู้จัดการ โดนปรับไม่เกิน 10,000 บาท




        4.ต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน ถ้าไม่ดำเนินการจะมีความผิด โดย

- ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคล โดนปรับไม่เกิน 10,000 บาท

- หุ้นส่วนผู้จัดการ โดนปรับไม่เกิน 10,000 บาท



        5.จัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบกำไรขาดทุน, งบแสดงฐานะการเงิน, หมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน ถ้าไม่จัดทำมีความผิด โดย

- ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคล โดนปรับไม่เกิน 50,000 บาท

- หุ้นส่วนผู้จัดการ โดนปรับไม่เกิน 50,000 บาท

       นอกจากนี้หากดำเนินการไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นต่องบการเงินของห้างฯ จะมีความผิดเพิ่มเติมอีก โดย

- ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคล โดนปรับไม่เกิน 20,000 บาท

- หุ้นส่วนผู้จัดการ โดนปรับไม่เกิน 20,000 บาท
 





         6.เมื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบงบการเงินแล้วให้ดำเนินการนำส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี หากไม่ดำเนินการ มีความผิด โดย

- ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคล โดนปรับไม่เกิน 50,000 บาท

- หุ้นส่วนผู้จัดการ โดนปรับไม่เกิน 50,000 บาท


 
         7.ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ที่สำนักงานใหญ่เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี หากไม่ดำเนินการจะมีความผิด โดย

- ห้างหุ้นส่วนซึ่งเป็นนิติบุคคล โดนปรับไม่เกิน 5,000 บาท

- หุ้นส่วนผู้จัดการ โดนปรับไม่เกิน 5,000 บาท


     ที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงบางส่วนของเหตุที่อาจทำให้กิจการของคุณทำผิดโดยไม่รู้ตัว ยังมีกรณีของกิจการประเภท”บริษัทจำกัด” ที่ก็มีเหตุแห่งการกระทำความผิดมากมายและค่าปรับต่างๆ ไม่แพ้กิจการประเภทห้างหุ้นส่วนด้วยเช่นกัน รวมทั้งความหมายของห้างหุ้นส่วน/ บริษัท / การเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือแม้กระทั่งเมื่อคุณเลิกกิจการ ควรจะต้องทำอย่างไร

    ผมอยากให้ทุกท่านที่กำลังจะเป็นเจ้าของธุรกิจหรือเป็นอยู่แล้วก็ตาม ได้มีคู่มือเบื้องต้นในการดำเนินธุรกิจติดเอาไว้ที่สำนักงานสักคนละฉบับ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามแนวทาง ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้กำหนดไว้จะได้มีใครโดนปรับให้วุ่นวายปวดหัว แค่เห็นตัวเลขค่าปรับก็เสียดายแล้วล่ะครับ

    คู่มือดังกล่าวสามารถดาวน์โหลดได้ “ฟรี” เป็น pdf ไฟล์ เก็บเอาไว้เผยแพร่ให้ผู้ร่วมงานในองค์กรของคุณได้ศึกษา โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th   


Create by smethailandclub.com

 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

Quiet Quitting เวอร์ชั่นใหม่จากจีน! ประท้วงแบบใหม่ แบบสับ แห่แต่งชุดไม่เหมาะสมไปทำงาน เรียกร้องสวัสดิภาพที่ดี

“Quiet Quitting” หรือ “การลาออกเงียบ” เทรนด์การทำงานของคนยุคนี้ที่มีการพูดถึงกันมากเมื่อช่วง 2 ปีก่อน ล่าสุดคนรุ่นใหม่ หรือ คน Gen Z ต่างหันมาแต่งตัวไปทำงานด้วยชุดที่ไม่เหมาะสม เช่น การสวมชุดที่ดูคล้ายชุดนอนมาทำงาน, การแต่งกายด้วยชุดเวอร์วัง อย่างเสื้อคลุมขนสัตว์ที่ดูรุ่มร่าม เป็นต้น โดยมองว่าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร แค่อยากแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์เฉยๆ

ไม่อยากเจ๊งต้องอ่าน รวมทางออกให้ธุรกิจไปต่อ ยามเจอวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้าย

ความท้าทายไม่เคยขาดหายไปสำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกปัญหาล้วนมีทางออกเสมอสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และยืนหยัดด้วยปรัชญาที่ถูกต้อง

5 หนังครอบครัวฟีลกู้ด ที่คนทำธุรกิจควรดู

เพราะครอบครัว คือ รากฐานสำคัญของทุกอย่าง หลายธุรกิจแจ้งเกิดเติบโตประสบความสำเร็จได้  เนื่องในวันครอบครัว 14 เมษายนนี้ เลยอยากชวนมาดู 5 หนังเรื่องราวธุรกิจที่มีความอบอุ่นของครอบครัวเป็นแรงผลักดันจนสำเร็จมาฝากกัน