How to วิ่งตามโลกให้ทันพวกรุ่นใหม่ 4 เรื่องที่ธุรกิจยุคเก๋า เรียนรู้เอาจาก Startup

TEXT : กองบรรณาธิการ
           




         การดำเนินธุรกิจมีเป็นล้านวิธี แต่วิธีที่นำไปสู่ความสำเร็จได้เร็วที่สุดในยุคนี้ คือวิธีแบบ Startup ที่ดำเนินการแตกต่างจากบริษัทที่ก่อตั้งมายาวนาน พวกเขาเริ่มต้นธุรกิจอย่างฉูดฉาดและสนุกสนาน แม้ว่าผู้ประกอบการรุ่นเก๋าจะมองว่ามันเป็นวิธีการของเด็กๆ แต่ก็ถึงเวลาต้องเปิดกว้าง และเรียนรู้กลยุทธ์ที่บริษัทรุ่นใหม่เหล่านี้คิดขึ้น หากมัวแต่ยึดติดของเก่า ไม่เอาของใหม่มาประยุกต์ ในไม่ช้าก็จะตามธุรกิจใหม่ๆ ไม่ทันเอา โดยเฉพาะ 4 เรื่องนี้
 
 
  1. Passion เป็นแรงขับเคลื่อนของพนักงาน


         คุณลักษณะหนึ่งที่มักเจอในวัฒนธรรมองค์กรของธุรกิจ Startup ก็คือ พลังงานอันล้นเหลือที่เกิดขึ้นในออฟฟิศและในตัวพนักงาน เมื่อเราพูดถึงพนักงานในบริษัทสตาร์ทอัพ พวกเขามักเชื่อมั่นในพันธกิจของบริษัทและต้องการช่วยให้มันสำเร็จขึ้นมาให้ได้ เพราะพวกเขาหลงใหลในเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน จนมันกลายเป็นแรงผลักดันที่จำเป็นต่อการสร้างความรู้สึกผูกพันขึ้นในองค์กร


        การสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นสิ่งที่ Startup ทำได้ดีมาก บริษัทที่ก่อตั้งมานานสามารถตั้งเป้าหมายร่วมกันในหมู่พนักงานได้เหมือนกัน




 
  1. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง


        โลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และ Startup รู้วิธีเปลี่ยนแปลงตาม พวกเขาต้องวิ่งให้ทันกับคู่แข่งที่เป็นที่รู้จักมากกว่าหรือมีทรัพยากรมากกว่า


         เหตุการณ์ล่าสุดที่ทำให้ธุรกิจทั่วโลกต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วกว่าที่เคย ก็คือ การระบาดของโควิด-19 บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการปรับตัวเองให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคก็สามารถรักษารายได้ให้คงที่ และบางครั้งก็เพิ่มรายได้มากขึ้นในช่วงเวลานั้นอีกต่างหาก


          AXA PP Healthcare เป็นหนึ่งในบริษัทที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก และธุรกิจของพวกเขาก็เติบโตขึ้นในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการประกันภัยรายใหญ่ พวกเขานำเสนอบริการดิจิทัลเป็นรายแรกๆ และสื่อสารครั้งใหญ่กับลูกค้าให้รู้ว่ามีบริการใหม่ การปรับตัวประเภทนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับบริษัทที่อยากเติบโตท่ามกลางความไม่แน่นอน



 
 
  1. นวัตกรรมช่วยให้คุณทันกับเวลา


        มีเหตุผลหลายประการที่บริษัทที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกมักเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี เช่น Facebook, Netflix, Airbnb ซึ่งล้วนเล้วแต่มองเห็นความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และสร้างโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่มานำเสนอได้ก่อนใคร


            ธุรกิจยุคเก่าต้องสามารถรับรู้ถึงโอกาสที่เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการจัดหาโซลูชันให้กับลูกค้าหากไม่ต้องการให้บริษัทใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดแต่มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเข้ามาแทนที่ในตลาด



 
  1. การรู้จักตัวตนของพนักงานจะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีได้


        ข้อได้เปรียบอย่างมากของ Startup คือขนาดองค์กรที่เล็ก เป็นเรื่องง่ายที่ผู้บริหารจะรู้จักทุกคนในบริษัท ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ แต่สามารถอุดรอยรั่วนั้นได้ด้วยการสื่อสาร


         พนักงานจะรู้สึกเติมเต็มและมีส่วนร่วมมากขึ้นเมื่อรู้สึกว่าพวกเขามีปากมีเสียง ได้รับโอกาส ผู้บริหารต้องแน่ใจว่าช่องทางการสื่อสารนั้นเปิดกว้างสำหรับทุกคน บางทีลำดับขั้นที่เคยเป็น อาจกลายเป็นอุปสรรคในบริษัทก็ได้
 
 
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ปรับโหมดลูกน้อง “Fauxductivity” ขยันทำงานแบบการละคร สู่โหมดจริงจังและได้ผลงานจริง

รู้จัก “Fauxductivity” หลอกว่ายุ่ง แต่ใจไม่ได้มุ่งทำงาน แล้วผู้นำหรือหัวหน้าต้องทำอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาการทำงานแบบ Fauxductivity ได้อยู่หมัด

เหนื่อยยังไง...ให้ไปต่อได้ 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่คนทำธุรกิจยุคไม่แน่นอนต้องรู้

ถ้าเป้าหมายการทำธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ “อยู่รอด” แต่คือ “อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่า”ลองดู 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ในวันที่เหนื่อยแทบขาดใจ

ลงทุนในคน ยังไงไม่ให้คนเก่งหนี  บทเรียนจากองค์กรชั้นนำ ยุคที่คนเปลี่ยนงานไวกว่าเปลี่ยนมือถือ

หากองค์กรจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การพัฒนาคน” ทั้งในแง่ของทักษะ มุมมอง และการสร้างระบบที่หล่อเลี้ยงการเติบโตของคนกับองค์กรไปพร้อมกัน