7 ความต่าง ระหว่าง “บอส” กับ “ผู้นำ”

 


เรื่อง เจษฎา ปุรินทวรกุล
 
    คิดว่าคำว่า หัวหน้าหรือบอส (Boss) กับ ผู้นำ (Leader) ใช้แทนกันได้ไหม ในความเป็นจริงแล้วคำว่า บอสกับผู้นำนั้น แตกต่างกันอย่างมหาศาล เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจน ลองเลือกตัวเลือกนี้ดูก็ได้ว่า

    1. คุณเห็นทีมงานหรือลูกจ้างค่อนข้างน่ารำคาญ เพราะคุณต้องมาสั่งงานอยู่ตลอดเวลา และสั่งแบบวันต่อวัน เพื่อให้พวกเขาสามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้

    2. คุณเพลิดเพลินกับการทำงานร่วมกับคนในทีมเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

    หากตอบข้อ 1 คุณอาจจะเป็นหัวหน้าหรือบอส แต่ถ้าตอบข้อ 2 คุณมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้นำ ซึ่งในการทำธุรกิจ การทำงานเป็นทีมให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด คนที่มาคอยกำกับทีมงานควรมีภาวะผู้นำ ไม่ใช่เป็นบอสที่คอยสั่งงานโดยไม่เข้าใจอะไรใครนอกจากตัวเอง และนี่คือวิธีการสลับขั้วจากบอส ให้กลายเป็นผู้นำ

1. พร้อมช่วยเหลือลูกทีม

    ลูกจ้าง ลูกน้อง คนงาน หรือทีมงาน ไม่ใช่สมุนของเรา พวกเขามีบุคลิกและความสามารถที่ไม่ซ้ำกัน หากคุณต้องการเป็นผู้นำ คุณมีหน้าที่ดึงความสามารถของทุกคนออกมาใช้ให้เต็มที่ ให้เขาทำงานได้อย่างสนุก พร้อมกันนั้นคุณต้องสนับสนุนและคอยดูความสำเร็จของพวกเขา

2. ให้คำแนะนำ ไม่ใช่ควบคุม

    บอสมักชอบควบคุมการทำงานในทุกขั้นตอน ส่วนผู้นำจะคาดการณ์ไปล่วงหน้าได้ว่า ทีมงานจะประสบความสำเร็จหากได้รับการสนับสนุนอย่างไร ดังนั้น ผู้นำจะสร้างกรอบและโครงสร้างการทำงานเพื่อให้ลูกน้องทำงานได้ พร้อมกับคอยช่วยเหลือและให้คำปรึกษา

3. รู้จักปรับตัว

    บอสมักมีแนวคิดที่ตายตัว และไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ผู้นำจะสามารถปรับสไตล์การทำงานให้เข้ากับลูกทีมได้

4. ไว้วางใจลูกทีม

    บอสจะไม่ไว้ใจให้ใครดูแลงานที่ตัวเองทำ และไม่มอบหมายงานอะไรให้คนอื่นสักเท่าไหร่ เพราะคิดว่าไม่มีใครทำได้ดีเท่าตัวเอง แต่ผู้นำจะค่อยๆ สร้างความไว้วางใจกับลูกทีมด้วยการมอบหมายงานต่างๆ ให้ และคอยติดตามดูอยู่เป็นระยะ

5. ให้เครดิต และยอมรับคำตำหนิ

    สิ่งที่บอสชื่นชอบคือการรับคำชื่นชมจากผู้อื่น (แถมบางครั้งตัวเองไม่ได้ทำด้วย) และมักโยนความผิดพลาดไปให้ลูกน้อง แต่ผู้นำจะไม่ทำแบบนั้น พวกเขามักกล่าวว่าความสำเร็จมาจากความพยายามของลูกทีม และมักรับคำตำหนิจากผู้บริหารเพียงลำพัง จากนั้นจึงนำไปปรับปรุงการทำงานร่วมกับลูกทีม

6. กล้าที่จะยอมรับความเสี่ยง

    คนที่เป็นบอส จะพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทุกอย่าง เพราะเขากลัวความผิดพลาด จึงไม่ต่างอะไรกับการย่ำเท้าอยู่กับที่ แต่ผู้นำจะกล้าเดิมพันกับความเสี่ยง เพื่อลองสิ่งใหม่ๆ สิ่งนั้นอาจพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรือถ้าล้มเหลว ก็นับเป็นประสบการณ์ที่ดีที่ได้ทำ และเป็นการเรียนรู้จากความผิดพลาดด้วย


7. มีแรงกระตุ้น

    บอส จะมีแรงกระตุ้นจากความกลัว กลัวนั่น กลัวนี่ กลัวงานไม่เสร็จ กลัวถูกตำหนิ กลัวโดนว่า ฯลฯ ในทางตรงกันข้าม ผู้นำจะมีแรงกระตุ้นที่ดี มองหาสิ่งที่จะจุดประกายความคิดของลูกทีม เพื่อให้แต่ละคนทำงานได้เต็มศักยภาพ นอกจากนี้ผู้นำยังชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อลูกทีมประสบความสำเร็จด้วย

    เห็นความแตกต่างขนาดนี้แล้ว ทุกๆ คนอยากเป็นบอส หรือเป็นผู้นำมากกว่ากันเอ่ย ?

Create by smethailandclub.com
 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ปรับโหมดลูกน้อง “Fauxductivity” ขยันทำงานแบบการละคร สู่โหมดจริงจังและได้ผลงานจริง

รู้จัก “Fauxductivity” หลอกว่ายุ่ง แต่ใจไม่ได้มุ่งทำงาน แล้วผู้นำหรือหัวหน้าต้องทำอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาการทำงานแบบ Fauxductivity ได้อยู่หมัด

เหนื่อยยังไง...ให้ไปต่อได้ 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่คนทำธุรกิจยุคไม่แน่นอนต้องรู้

ถ้าเป้าหมายการทำธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ “อยู่รอด” แต่คือ “อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่า”ลองดู 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ในวันที่เหนื่อยแทบขาดใจ

ลงทุนในคน ยังไงไม่ให้คนเก่งหนี  บทเรียนจากองค์กรชั้นนำ ยุคที่คนเปลี่ยนงานไวกว่าเปลี่ยนมือถือ

หากองค์กรจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การพัฒนาคน” ทั้งในแง่ของทักษะ มุมมอง และการสร้างระบบที่หล่อเลี้ยงการเติบโตของคนกับองค์กรไปพร้อมกัน