5 วิธีดูแลใจพนักงานในช่วงวิกฤต เจ้าของธุรกิจ ทำแล้วได้ใจลูกน้อง



         เจ้าของธุรกิจไม่ได้มีความรับผิดชอบแค่เรื่องการทำให้บริษัทมีกำไรเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นผู้นำที่ดูแลทีมงานโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตที่ยากลำบากและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแบบนี้ พนักงานในบริษัทต้องการการสนับสนุนเพื่อให้พวกเขาไม่เพียงแค่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังต้องรับมือกับความเครียดและความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นจากโควิด-19 ด้วย


        จากผลสำรวจของ Qualtrics และ SAP พบว่าการที่ต้องทำงานติดบ้านนานเป็นปี ไม่ค่อยได้คุยเล่นกับเพื่อนร่วมงาน หรือออกไปกินไปเที่ยวแบบแต่ก่อนนั้น ส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญ
 

         • 75% รู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวเพิ่มมากขึ้น


         • 67% รู้สึกเครียดกับเนื้องานและปัญหาจากงานที่ต้องหาทางแก้ไขด้วยตัวเอง


        • 57% รู้สึกกังวลกับภาระที่เพิ่มขึ้น เช่น รายได้ลดลง มีหนี้สิน หรือต้องจัดเวลามาดูแลคนในครอบครัวพร้อมกับทำงานไปด้วย



 
               
         นี่คือ 5 ประเด็นที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสำคัญ เพื่อดูแลชุบชูจิตใจพนักงานในช่วงโควิด
 

  1. ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน

 

           ไม่ว่าจะมีพนักงานกี่คนที่ยังคงเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศ หรืออีกกี่คนที่ต้องทำงานที่บ้าน สิ่งสำคัญคือต้องช่วยรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของพวกเขา


          เริ่มจากการช่วยป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส เช่น ตรวจสุขภาพทุกวัน มีมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมและสวมหน้ากาก ไปจนถึงปรับปรุงระบบระบายอากาศในอาคาร นอกจากนี้ควรสำรวจการลาป่วยด้วยความยืดหยุ่นมากขึ้น และเตรียมแผนฉุกเฉินหากมีพนักงานป่วยขึ้นมา


          อย่าลืมแนะนำให้พนักงานเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพราะจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความเครียด และเพิ่มพลังงาน ให้พวกเขาออกไปเดินเล่น ขี่จักรยาน ออกกำลังกายที่บ้าน กินอาหารที่มีประโยชน์และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ


          ที่สำคัญ อย่ามองข้ามสุขภาพจิตของพวกเขา นอกเหนือจากความเหงา โดดเดี่ยวที่หลายคนรู้สึกเมื่อต้องทำงานคนเดียว โรคระบาดยังส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพใจ ดังนั้น ควรตรวจสอบสมาชิกในทีมอยู่บ่อยๆ ว่าพวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง รับฟังข้อกังวลใจ และไถ่ถามเกี่ยวกับภาระงานที่พวกเขามีอยู่ อาจจะต้องลดปริมาณงานลงเพื่อให้มีเวลามากขึ้นในการดูแลตนเอง


         สุดท้ายแล้ว พยายามสร้างขวัญกำลังใจด้วยการจัดกิจกรรมสร้างทีมเสมือนจริง หรือแสดงความขอบคุณที่ทำงานหนัก อาจจะทำให้พนักงานรู้สึกดีและซาบซึ้งต่อกันมากขึ้น



 

  1. เพิ่มการสื่อสารในองค์กรมากขึ้น

 

          ในช่วงวิกฤตการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ หนึ่งในตัวอย่างที่ทำเรื่องนี้ได้ดีคือบริษัท Visiblility Therapeutics ที่ซีอีโออย่าง Tim Walbert ส่งข้อความถึงพนักงานเป็นรายสัปดาห์ มีช่วงถามตอบ มีการประชุมรวม มีสภากาแฟ นอกากนี้ยังมีการสัมมนาผ่านเว็บไซต์ทุกสัปดาห์ เพื่อพูดคุยกับระดับผู้จัดการ แชร์ข้อมูลต่างๆ ทั้งเรื่องงานและเรื่องสุขภาพกาย สุขภาพใจของคนในทีมด้วย



 

  1. ผ่อนคลายเดดไลน์ และกำหนดเวลาการทำงานที่แน่นอน

 

           โควิดได้เปลี่ยนแปลวิธีทำงานและการดำเนินธุรกิจไปอย่างมาก แม้ว่าการกำหนดเวลาที่แน่นอนจะเป็นเรื่องจำเป็น แต่การปรับเส้นตายของงานไม่ให้กระชั้นมากนักเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน ในทำนองเดียวกัน การให้ชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น อาจจะมีพนักงานบางคนที่ทำงานในเวลาที่ต่างไปจากเดิม เช่น พนักงานที่มีลูกและลูกต้องเรียนออนไลน์ตั้งแต่เวลา 8.00 -11.00 น. อาจจะคาดหวังให้พวกเขาทำงานหรือเข้าร่วมการประชุมในช่วงเวลานั้นได้ยาก


           การอนุญาตให้พนักงานมีตารางเวลาที่ยืดหยุ่นมากขึ้นจะทำให้พวกเขามีความสุขและมีสุขภาพที่ดี ขาดงานน้อยลงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น



 

  1. ส่งเสริมการเติบโตและการพัฒนาตนเอง



         อย่างที่รู้กันดีว่างานที่ทำให้พนักงานได้พัฒนาตนเองและเติบโตนั้นจะมีอัตราการลาออกที่ต่ำกว่า สามารถเพิ่มยอดขาย เพิ่มการผลิต และสร้างความภักดีได้ดีกว่า นอกจากนี้การได้เรียนรู้จะทำให้พนักงานยินดีที่จะปรับตัว และเป็นวิธีการรับมือกับความเบื่อหน่ายที่บางคนกำลังประสบเมื่อต้องทำงานอยู่ที่บ้าน


          แล้วผู้ประกอบการจะสนับสนุนให้พนักงานเรียนรู้และเติบโตในช่วงโควิดได้อย่างไรล่ะ?


         ทุกวันนี้มีแพลตฟอร์มการเรียนรู้เช่น LinkedIn Learning หรือการสัมมนาผ่านเว็บไซต์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถแนะนำหนังสือ พอดคาสต์ TED Talk หรือการฝึกอบรมข้ามสายงานก็ได้เช่นกัน



 

  1. ช่วยเหลือด้านการเงิน

 
               
        เจ้าของธุรกิจสามารถแสดงความใส่ใจผ่านเงินสดก้อนโตก็ได้ ยกตัวอย่าง Workday ที่เสนอโบนัสเงินสดให้กับพนักงาน โดยให้เป็นเงินเท่ากับค่าจ้างประมาณ 2 สัปดาห์สำหรับช่วยเหลือค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเพราะโควิด
               

         แต่จะทำอย่างไรถ้าบริษัทก็ไม่ได้มีเงินถุงเงินถังให้พนักงานได้ขนาดนั้น มีตัวเลือกที่ถูกกว่า อาจจะใช้วิธีจัดส่งอาหารถึงบ้าน จ่ายค่าอุปกรณ์ทำงานที่บ้าน หรือให้บัตรของขวัญเพื่อให้พนักงานไปซื้อของใช้ที่พวกเขาต้องการ
 
               
         คำแนะนำสุดท้าย นอกจากจะดูแลพนักงานในองค์กรแล้ว เจ้าของธุรกิจก็ไม่ควรละเลยตัวเองด้วย คุณเองก็กำลังประสบกับความเครียดและวิตกกังวล ใช้เวลาดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเอง และถอดปลั๊กหยุดพักเรื่องงานเอาไว้เป็นครั้งคราว ท้ายที่สุดแล้ว ทุกคนก็จะผ่านวิกฤตไปด้วยกันได้
 

         ที่มา : https://www.forbes.com/sites/johnhall/2020/07/17/5-ways-to-take-care-of-your-team-during-covid-19/?sh=727743ec59ce
 
 
 

 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

Quiet Quitting เวอร์ชั่นใหม่จากจีน! ประท้วงแบบใหม่ แบบสับ แห่แต่งชุดไม่เหมาะสมไปทำงาน เรียกร้องสวัสดิภาพที่ดี

“Quiet Quitting” หรือ “การลาออกเงียบ” เทรนด์การทำงานของคนยุคนี้ที่มีการพูดถึงกันมากเมื่อช่วง 2 ปีก่อน ล่าสุดคนรุ่นใหม่ หรือ คน Gen Z ต่างหันมาแต่งตัวไปทำงานด้วยชุดที่ไม่เหมาะสม เช่น การสวมชุดที่ดูคล้ายชุดนอนมาทำงาน, การแต่งกายด้วยชุดเวอร์วัง อย่างเสื้อคลุมขนสัตว์ที่ดูรุ่มร่าม เป็นต้น โดยมองว่าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร แค่อยากแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์เฉยๆ

ไม่อยากเจ๊งต้องอ่าน รวมทางออกให้ธุรกิจไปต่อ ยามเจอวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้าย

ความท้าทายไม่เคยขาดหายไปสำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกปัญหาล้วนมีทางออกเสมอสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และยืนหยัดด้วยปรัชญาที่ถูกต้อง

5 หนังครอบครัวฟีลกู้ด ที่คนทำธุรกิจควรดู

เพราะครอบครัว คือ รากฐานสำคัญของทุกอย่าง หลายธุรกิจแจ้งเกิดเติบโตประสบความสำเร็จได้  เนื่องในวันครอบครัว 14 เมษายนนี้ เลยอยากชวนมาดู 5 หนังเรื่องราวธุรกิจที่มีความอบอุ่นของครอบครัวเป็นแรงผลักดันจนสำเร็จมาฝากกัน