อย่าปล่อยให้ออฟฟิศเฉา สูตรปรับองค์กรให้น่าอยู่ กระตุ้นให้พนักงานอยากทำงาน

              


        ทำงาน Work From Home กันมานาน จนพนักงานหลายคนคุ้นเคยกับการทำงานที่บ้านเพราะรู้สึกว่าสามารถบริหารจัดการเวลาและดูแล Work Life Balance ได้มากกว่า แต่ผู้ประกอบการหลายคนก็รู้สึกว่าถ้ากลับมาทำงานที่ออฟฟิศเต็มรูปแบบคงจะดีกว่า แบบนี้แล้วลองมาเจอกันครึ่งทาง สร้างออฟฟิศให้น่าอยู่ สร้างองค์กรที่พนักงานจะสามารถทำงานได้โดยที่มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดีกันดีกว่า
               

         การพัฒนาสุขภาพที่ดีในบริษัทมีมากกว่าการจัดคอร์สโยคะ หรือเลี้ยงอาหารพนักงาน สุขภาพจะต้องถูกรวมเข้ากับรากฐานของธุรกิจ การสร้างวัฒนธรรมแห่งสุขภาพที่ดีจะนำไปสู่ความยั่งยืนสำหรับองค์กรได้ด้วย



               

         และนี่คือ 7 วิธีที่จะสร้างความอยู่ดีมีสุขให้เกิดขึ้น
 

  1. ทบทวนนโยบายด้านสุขภาพ การสร้างนโยบายจะบอกพนักงานได้ว่าเจ้านายใส่ใจเกี่ยวกับสุขภาพกาย สุขภาพจิต และความเป็นอยู่ของพวกเขา ลองทบทวนนโยบายโดยพิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์ เช่น เวลาที่ยืดหยุ่น ให้ลางานเพื่อเลี้ยงดูบุตร หรือการสนับสนุนด้านสุขภาพใจ

 

  1. สร้างพื้นที่เพื่อสุขภาพ การผสมผสานพื้นที่สีเขียวเข้ากับส่วนต่างๆ ในออฟฟิศสามารถส่งเสริมสุขภาพจิตได้ อาจจะหมายถึงการซื้อต้นไม้ในร่มสัก 2-3 ต้น และมีโต๊ะสำหรับยืนคุย สนับสนุนให้พนักงานเดินเพื่อไปพบปะหรือประชุมกัน ถ้าเป็นไปได้อาจจะมียิมเล็กๆ ที่ให้พนักงานออกกำลังกายในช่วงพักได้โดยไม่ต้องออกจากอาคาร หรือมีช่วงพักเบรกสั้นๆ เพื่อสุขภาพด้วย



 

  1. จัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ไว้ในครัวที่ออฟฟิศ ให้ตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพเพื่อเติมพลังงานให้กับคนในบริษัท จะช่วยให้เขามีสุขภาพดีเพราะได้กินอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหาร วิธีนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายยังช่วยให้คนทำงานตื่นตัวมากขึ้น

 

  1. สร้างแรงบันดาลใจด้านสุขภาพ คนมักไม่กระตือรือร้นที่จะออกกำลังกายเท่าไรถ้าถูกบังคับ ลองสำรวจนิสัยและไลฟ์สไตล์ของคนในออฟฟิศดูเพื่อหาวิธีกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือหาผู้นำสักคนที่ชอบการออกกำลังกายและใส่ใจสุขภาพ ขอให้เขาสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ เมื่อพนักงานเห็นคนที่มีความสุข สุขภาพแข็งแรง และสามารถดูแลสุขภาพในวันทำงานได้ ก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นลุกขึ้นมาทำเหมือนกัน



 

  1. จัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์และกระตือรือร้น เสนอทางเลือกที่สนุกสนานและกระฉับกระเฉง เช่น มีชั้นเรียนทำอาหาร เรียนเต้นรำ หรือการวิ่งกันเป็นหมู่คณะ วิธีเหล่านี้สร้างความสนุกสนานได้โดยที่แฝงเรื่องสุขภาพเอาไว้ด้วย แถมยังช่วยให้พนักงานผูกพันกันมากขึ้น

 

  1. สร้างความท้าทายด้านสุขภาพ ดึงจิตวิญญาณความเป็นนักแข่งของคนออกมา กระตุ้นให้พวกเขาออกกำลัง มีตัวอย่างพนักงานของ Cisco ประมาณ 1,300 คน พบว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานที่เข้าร่วมการแข่งขันที่บริษัทสนับสนุน หลังจากจบการแข่งพวกเขาก็ยังออกกำลังกายกันต่อไป

 




  1. ตั้งทีมกีฬาของบริษัท การรวมพนักงานเข้าเป็นทีมไม่เพียงแต่ทำให้พวกเขาเคลื่อนไหวหรือออกกำลงกายมากขึ้น แต่ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานเป็นทีมด้วย

 

           การจะทำให้เกิดวัฒนธรรมการอยู่ดีมีสุขในองค์กรนี้ลึกซึ้งกว่าการจัดคลาสออกกำลังกายแค่ครั้งคราว เรื่องพวกนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เชื่อเถอะว่ามันดีต่อธุรกิจในระยะยาวจริงๆ
 
 
           ที่มา : www.forbes.com
 
 



www.smethailanclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ล้มแล้วลุก สำเร็จได้ แค่คำปลอบใจหรือทำได้จริง?

ในปัจจุบันเรามักได้ยินนักสร้างแรงบันดาลใจพูดถึง ความล้มเหลว ความผิดหวังว่าเป็นเหมือนบันไดไต่สู่ความสำเร็จ แต่ทำไมหลายคนจึงล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า แท้จริงแล้วมันแค่คำปลอบใจไปวันๆ หรือว่ามันทำได้จริง เรียนรู้ 2 วิธีการเอาชนะความล้มเหลวอย่างชาญฉลาดกัน

ปัญหาสุขภาพจิต ความท้าทายครั้งใหญ่ในโลกธุรกิจ องค์กรระดับโลกเริ่มมีมาตรการป้องกัน

หลากหลายปัญหาที่รุมเร้าตลอดสองสามปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เรื่องสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่ท้าทายในการทำธุรกิจ แม้แต่ CEO ของ Starbucks ยังเอ่ยปากว่า สุขภาพจิตและอารมณ์ของพนักงานเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลังเกิดโรคระบาด