ให้ลูกน้องเป็นเจ้าของ คีย์เวิร์ดพลิกธุรกิจ จากงานแย่เป็นงานเยี่ยม

 

     ไม่แปลกที่พนักงานจะขยันหรือทุ่มเทไม่เท่ากับเจ้าของกิจการ แต่อาจไม่ดีแน่ถ้าพนักงานไม่ใส่ใจหรือทำงานแบบขอไปที เพราะนอกจากจะได้ผลงานที่แย่แล้วอาจทำให้มีค่าใช้จ่ายต้นทุนเพิ่มอีกด้วย

     การจะทำให้พนักงานใส่ใจหรือขยันให้ได้สักครึ่งของเจ้าของกิจการคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะการบริหารคนถือเป็นงานหิน บางคนลองใช้วิธีทั้งบุ๋นทั้งบู๊แต่ก็ยังไม่สามารถซื้อใจพนักงานได้ เหมือนกัน ดร.บี-ดร.พรรณนิภา โอฬารธัมมะกิตติ์ ประธานบริหารบริษัท เพาเวอร์โอฬาร จำกัด ผู้ผลิตและนำเข้าสินค้าอุปโภคที่จัดจำหน่ายตามร้าน 20 บาท ที่ลองทำหลายวิธีไม่เป็นผล จึงเกิดไอเดียให้ลูกน้องเป็นเจ้าของ ซึ่งช่วยพลิกธุรกิจทำให้งานเดินขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ต้นตอปัญหา

     ก่อนที่ดร.บี จะค้นพบวิธีนี้ก็ต้องประสบกับปัญหาในการบริหารลูกน้องมาก่อน แม้จะลองหลายๆ วิธีให้ทั้งใจ ให้ทั้งรางวัล แต่ก็ยังไม่สามารถซื้อใจลูกน้องบางคนได้ นอกจากซื้อใจไม่ได้แล้วยังสร้างปัญหาให้อีก อาทิ พนักงานที่จ้างมาขับรถส่งของ ซึ่งบริษัทจะมีรถให้พร้อมกับเด็กยกของ และให้พนักงานมีหน้าที่ขับรถไปส่งของให้ลูกค้า ปรากฏว่าพนักงานขับรถส่วนใหญ่จะอยากวิ่งส่งของเพียงเที่ยวเดียวแล้วกลับบ้าน เท่านั้นยังไม่พอ การขับรถก็ไม่มีความระมัดระวัง ไม่มีการดูแล ทำความสะอาดรถ ทำให้บริษัทต้องมีค่า maintenance ในแต่ละเดือนสูงมาก เธอจึงเปลี่ยนวิธีคิดให้พนักงานได้เป็นเจ้าของรถไปเลย

     “เงื่อนไข คือ จะตัดค่างวดรถเดือนละหมื่นขอตัดวีคที่ 4 ให้ค่าวิ่ง่ต่อเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่มีงานรถต้องจอดเฉยๆ ก็จะการันตีมีค่าจ้างให้ แต่ข้อแม้พนักงานคนนั้นต้องไปหาเด็กยกของเอง ต้องรับผิดชอบดูแลรถเอง ปรากฏว่าทุกคนขยันวิ่งรถ แถมไม่ค่อยเสียแล้วรถยังดูสะอาด”

     หรืออีกหนึ่งกรณีของ Sellsuki (เซลสุกิ) บริษัทอีคอมเมิร์ซก็มีแนวคิด Ownership ให้พนักงานทุกคนมีความรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของธุรกิจมากที่สุด วิธีการคือ จะให้แต่ละแผนกได้มีอิสระในการบริหารแผนกให้เติบโตด้วยตัวเอง โดยหน้าที่ผู้บริหารคือ จัดการให้แต่ละแผนกแต่ละบ้านจัดการบ้านตัวเองได้ดี ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การจัดการตรงนี้มีประสิทธิภาพได้ต้องมีข้อมูลที่เปิดเผยให้แต่ละแผนกได้เห็นข้อมูลทั้งเรื่องการเงิน เรื่อง Human resource ในแผนกของตัวเอง หรือแม้แต่เทคโนโลยีที่จำเป็นที่จะช่วยให้การทำงานดีขึ้น

วิธีทำให้พนักงานรู้สึกมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท

     อย่างไรก็ตามในการที่จะทำให้พนักงานทุกคนมีความรู้สึกเป็น Ownership นั้นคงไม่เรื่องง่าย เพราะแต่ละคนมาจากแต่ละที่ ต่างความคิด บางคนมีความคิดเป็น Entrepreneur ในขณะที่บางคนอาจประสบการณ์ยังไม่พอ

     ในฐานะผู้บริหารต้องมองว่าแต่ละคนเหมาะกับอะไร สิ่งสำคัญคือ ต้องเปิดโอกาสให้เขาเติบโต พร้อมที่จะซัพพอร์ตทุกคนที่มีความพร้อม มีความสามารถ มีความรับผิดชอบ

     สิ่งที่ผู้บริหารเซลสุกิต้องทำเพื่อซัพพอร์ตตรงนี้ก็คือ ต้องพยายามทำทุกอย่างออกมาให้เป็นข้อมูลอย่างรวดเร็วที่สุด พยายามทำทุกอย่างให้เป็นดิจิทัล เช่น การออกออกใบเสนอราคา, Dashboard ข้อมูลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยธุรกิจ เพื่อที่จะให้แต่ละแผนกมองเห็นต้นทุนและรายได้ ทำทุกอย่างให้โปร่งใส่ตรวจสอบย้อนกลับถึงปัญหาได้

     “การใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งจะเกิดจากผู้บริหารมอบหมายอำนาจให้แต่ละทีม จากนั้นแต่ละทีมก็จะนำข้อมูลไปบริหาร เอาข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ เพื่อผลประโยชน์ของทีมตัวเอง” ภัทร เถื่อนศิริ Ceo & Co-Founder กล่าว

     วันนี้คุณบริหารลูกน้องแบบไหน

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

 

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ป้องกันแรงงานขาดลาออกไปเลี้ยงลูก SME สหรัฐ ผุดไอเดียยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เปิดที่เลี้ยงเด็กคู่กับธุรกิจเดิม

เพราะค่าใช้จ่ายการเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งทุกวันนี้ ไม่ถูกเลย หลายบริษัท ร้านค้าต้องเสียพนักงานดีๆ ไป ก็เพราะด้วยเหตุผลว่า “ต้องออกไปดูแลลูก ไม่มีคนเลี้ยงลูกให้”

Quiet Quitting เวอร์ชั่นใหม่จากจีน! ประท้วงแบบใหม่ แบบสับ แห่แต่งชุดไม่เหมาะสมไปทำงาน เรียกร้องสวัสดิภาพที่ดี

“Quiet Quitting” หรือ “การลาออกเงียบ” เทรนด์การทำงานของคนยุคนี้ที่มีการพูดถึงกันมากเมื่อช่วง 2 ปีก่อน ล่าสุดคนรุ่นใหม่ หรือ คน Gen Z ต่างหันมาแต่งตัวไปทำงานด้วยชุดที่ไม่เหมาะสม เช่น การสวมชุดที่ดูคล้ายชุดนอนมาทำงาน, การแต่งกายด้วยชุดเวอร์วัง อย่างเสื้อคลุมขนสัตว์ที่ดูรุ่มร่าม เป็นต้น โดยมองว่าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร แค่อยากแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์เฉยๆ

ไม่อยากเจ๊งต้องอ่าน รวมทางออกให้ธุรกิจไปต่อ ยามเจอวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้าย

ความท้าทายไม่เคยขาดหายไปสำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกปัญหาล้วนมีทางออกเสมอสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และยืนหยัดด้วยปรัชญาที่ถูกต้อง