ล้มแล้วลุก สำเร็จได้ แค่คำปลอบใจหรือทำได้จริง?

TEXT : กองบรรณาธิการ

Mian Idea

  • ในปัจจุบันเรามักได้ยินนักสร้างแรงบันดาลใจพูดถึง ความล้มเหลว ความผิดหวังว่าเป็นเหมือนบันไดไต่สู่ความสำเร็จ

 

  • แต่ทำไมหลายคนจึงล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า แท้จริงแล้วมันแค่คำปลอบใจไปวันๆ หรือว่ามันทำได้จริง

 

  • เรียนรู้ 2 วิธีการเอาชนะความล้มเหลวอย่างชาญฉลาด อาจเป็นคำตอบที่ช่วยคลี่คลายปมได้

 

ความล้มเหลวทำให้ชัยชนะดูหอมหวานขึ้นไหม?

     ในทศวรรษที่ผ่านมา งานวิจัยทางจิตวิทยาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่พยายามหาวิธีจัดการกับความล้มเหลวอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งนักพูดสร้างแรงบันดาลใจทั้งหลายได้นำคำพูดของนักเขียนนวนิยายชื่อ ซามูเอล เบ็คเก็ตต์ ที่ว่า “ล้มเหลวอีกครั้ง ล้มเหลวดีกว่า” เป็นยากระตุ้นให้กับผู้ฟังอยู่บ่อยครั้ง

     แต่ความจริงก็คือ พวกเราส่วนใหญ่ยังล้มเหลวอีก (หลาย) ครั้งและยังล้มเหลวเหมือนเดิม จนทำให้หลายคนเริ่มถอดใจละทิ้งความฝันก่อนถึงเวลาอันสมควร

ความล้มเหลวเป็นยาพิษหรือยาชูกำลังกันแน่!!!!

     Hallgeir Sjåstad ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาและพร้อมด้วยเพื่อนร่วมงานจาก Norwegian School of Economics ที่ได้ทำงานวิจัยเพื่อพยายามที่จะเข้าใจว่าทำไมบางครั้งคนเราถึงยอมแพ้เร็วเกินไป ทั้งที่หากอดทนมากกว่านี้อีกสักหน่อยและเต็มใจที่จะลองอีกครั้งเราจะประสบความสำเร็จได้ ทั้งนี้พวกเขาจึงนำอาสากว่า 1,200 คนเพื่อทำการทดลองช่วยไขข้อสงสัย ได้คำตอบว่า มนุษย์จะมีปฏิกิริยาตอบโต้คอยปกป้องตัวเองจากความผิดหวัง หรือหาทางหลีกหนีไม่เจอกับสิ่งเหล่านี้

     ทั้งนี้ยังไปสอดคล้องกับข้อมูลของศาสตราจารย์ด้านปรัชญาของโคลัมเบีย จอน เอลสเตอร์ บอกว่า โดยธรรมชาติของผู้คนส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร และส่วนใหญ่มักปรับความต้องการของตนไปชอบในสิ่งที่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเมื่อเกิดความล้มเหลว วิธีหนึ่งในการปกป้องความรู้สึกของตนเอง คือการปฏิเสธหลีกเลี่ยงความผิดหวังหรือความล้มเหลวนั่นเอง

วิธีเอาชนะความล้มเหลวอย่างชาญฉลาด

     นับว่ายังโชคดีที่ในการวิจัยของ Fishbach ร่วมกับ Eskreis-Winkler ชี้ให้เห็นว่ามีกลยุทธ์บางอย่างที่จะเอาชนะอุปสรรคทางอารมณ์ในการเผชิญหน้ากับความล้มเหลว

     1. ใช้บุคคลที่สามมาช่วย คือกระบวนการที่เรียกว่า “self-distancing” เช่น แทนที่จะถามว่า “ทำไมฉันถึงล้มเหลว” อาจถามว่า “ทำไมนาย ก. ถึงล้มเหลว” เป็นต้น มีผลการศึกษาหลายชิ้นหนึ่งในนั้นคือนักจิตวิทยา Ethan Kross แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน แสดงให้เห็นว่า “self-distancing” ช่วยลดปฏิกิริยาทางอารมณ์ด้านลบของคนลงได้ ทำให้มองเหตุการณ์ได้อย่างเป็นกลางมากขึ้น และสามารถทำให้วิเคราะห์สาเหตุของความผิดหวังได้ดีขึ้น

     2. เป็นกูรูให้คำแนะนำแก่ผู้อื่นที่เผชิญกับความท้าทายที่คล้ายคลึงกัน เช่น ผู้ที่ประสบปัญหาในการลดน้ำหนักได้เขียนคำแนะนำจากความล้มเหลวของตนเองให้กับคนอื่นๆ ที่พยายามควบคุมอาหาร หลังจากนั้น พวกเขารู้สึกมีแรงบันดาลใจมากขึ้นในการทำตามเป้าหมายน้ำหนักของตนเองต่อไป

     อย่างไรก็ดี Sjåstad ชี้ให้เห็นว่าความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ “ถ้าคุณไม่เคยล้มเหลว แสดงว่าคุณตั้งเป้าต่ำเกินไป” เขากล่าว

     จงตั้งเป้าหมายในชีวิตหรือการทำธุรกิจให้สูงไว้และจงเรียนรู้ที่จะเผชิญหน้ากับความผิดหวังอย่างชาญฉลาด คุณอาจพบว่าถนนสู่ความสำเร็จอาจเป็นเส้นทางที่เรียบง่ายกว่าเดิม

ที่มา : https://www.bbc.com/worklife/article/20221019-the-smart-way-to-learn-from-failure

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

นายจ๋ารู้ยัง? ทำไมพนักงานถึงเปลี่ยนงานกันบ่อย!

สังเกตกันไหม ทำไมช่วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา เราถึงได้ยินข่าวการลาออก หรือการเปลี่ยนงานของพนักงานกันบ่อยมากขึ้น ยกตัวอย่างในปี 2021 มีสถิติรายงานว่าประชากรในสหรัฐอเมริการาว 47.4 ล้านคน (จากประชากรทั้งหมด 159 ล้านคน) ตัดสินใจลาออกจากงาน

DNA หรือ สภาพแวดล้อม อะไรมีผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจมากกว่ากัน

ประเด็นถกเถียงเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของบุคคลนั้นเป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาช้านาน ในขณะที่บางคนเชื่อว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับพันธุกรรมหรือลักษณะทางพันธุกรรม (DNA) ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด อีกกลุ่มกลับมีความเห็นว่าสภาพแวดล้อมต่างหาก