คู่มือรับวิกฤตแรงงานครั้งใหม่ เมื่อแนวคิดคนทำงานเปลี่ยนไป ไม่หวังก้าวหน้า ไม่ทำเกินหน้าที่

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • แนวโน้มตลาดแรงงานกำลังเผชิญความผันผวนครั้งใหญ่อีกครั้ง เมื่อกำเนิด Satori Generation หรือคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดจะ "ไม่ทำงานเกินกว่าคำสั่ง" และ "ไม่ทำงานเกินความจำเป็น"

 

  • เหมือนคลื่นลูกเก่าทุ่มเททำงานแบบ 10 ปีที่แล้วอาจสูญหายไป

 

  • คลื่นลูกใหม่ๆ เข้ามาแทนที่ในองค์กร ธุรกิจจะรับมือกับแนวคิดนี้อย่างไร

 

  • นี่คือ คู่มือรับมือพนักงานยุคใหม่

 

Satori Generation คือใคร

     ความทรงจำในอดีตมักมีผลกับปัจจุบัน ทำให้กลุ่มคนที่เกิดมาในช่วงที่เติบมาในความเป็นจริงอันโหดร้ายของสังคม อาทิ ฟองสบู่แตก การเกิดแผ่นดินไหว การทำงานหนักจนมีข่าวการฆ่าตัวตาย ฯลฯ ทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่คนที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2547 ไม่อยากดิ้นรน เกิดคำศัพท์ในญี่ปุ่นที่เรียกคนกลุ่มนี้ว่า “Satori Generation”

พฤติกรรมของกลุ่ม Satori

     1. ไม่เน้นแบรนด์เนม

     เมื่อไม่ได้ทุ่มเทในหน้าที่การงานแล้ว คนรุ่น Satori จึงไม่มีความทะเยอทะยานอยากได้สินค้าแบรนด์เนมเหมือนกับคนยุคก่อน การใช้จ่ายเงินของคนกลุ่มนี้จะไม่เน้นไปสิ่งที่ดูไร้สาระ แต่ะเน้นไปที่การใช้งานได้จริง เลือกเสื้อผ้าที่คุ้มราคาแม้ว่าจะไม่มีแบรนด์ก็ตาม ลักษณะเฉพาะของการบริโภคในยุค Satori คือพวกเขามักจะตระหนักถึง ความคุ้มค่าโดยเน้นค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

     2. ดิจิทัลเนทีฟ

     ต้องยอมรับว่าคนในรุ่น Satori เกิดและเติบโตในยุคที่มีอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือแพร่หลาย สามารถเสพข้อมูลทุกอย่างผ่านอินเทอร์เน็ตตั้งแต่เด็ก ดังนั้นข้อดีอย่างหนึ่งของคนเจนนี้คือ "สามารถรับข้อมูลได้ทุกประเภท" และ "เหมาะสมกับสังคมโลกปัจจุบัน"

     3. เน้นความจริงที่จับต้องได้

     จากผลสำรวจของ Recruit พบว่าประมาณ 60% ของคนเจน Satori ตอบว่า "ฉันต้องการมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จ" และ "ฉันต้องการได้งานที่ทำให้ความฝันของฉันเป็นจริง"

     ในทางกลับกัน มีเพียง 40% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่ตอบว่าพวกเขาต้องการเข้าร่วมในบริษัทขนาดใหญ่หรือมีชื่อเสียงในอนาคต หรือพวกเขาต้องการเป็นใหญ่ในบริษัท ลักษณะเฉพาะของคนรุ่น Satori คือพวกเขาเลือกที่จะตั้งเป้าหมายชีวิตที่มั่นคงมากกว่ากังวลกับความฝันที่ไม่แน่นอน

     4. สไตล์การทำงานของคนเจน Satori

     ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นคนเจน Satori เป็นยุคที่เติบโตมากับอินเทอร์เน็ตที่สามารถหาข้อมูลได้มากมาย จึงไม่ถูกผูกมัดกับวิธีการทำงานแบบเดิมๆ

     5. รับผิดชอบเฉพาะงานตนเอง

     คุณลักษณะอย่างหนึ่งของรุ่น Satori คือพวกเขายอมรับคำแนะนำอย่างซื่อสัตย์และพยายามทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ ในทางกลับกันยังมีแนวโน้มที่จะ "ไม่เพิ่มงานเกินกว่าคำสั่ง" และ "อย่าทำงานเกินความจำเป็น "

     6. เน้นความเป็นส่วนตัว

     คนรุ่น Satori เป็นรุ่นที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว หลายคนแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างชีวิตส่วนรวมกับชีวิตส่วนตัว และพวกเขาไม่ชอบให้ชีวิตส่วนตัวถูกละเมิด ถึงเวลาส่วนตัวแล้วมักจะไม่มีเรื่องของงานมาเกี่ยวข้อง ยอมที่จะได้รับเงินน้อยลงแต่ได้ใช้เวลาส่วนตัวอย่างมีความสุข

     7. ความรู้สึกเป็นเจ้าของบริษัทน้อยลง

     บรรทัดฐานที่เคยอยากก้าวหน้าในการทำงานของคนกลุ่มนี้อาจเปลี่ยนไป เพราะคุณลักษณะอย่างหนึ่งของพวกเขามีความรู้สึกในการเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทน้อยมาก ดังนั้นความรู้สึกช่วยเหลือทีมหรือออฟฟิศเหมือนคนยุคสัก 10 ปีที่แล้วจะน้อยลง แทนที่พวกเขาจะทุ่มเททำงานให้กับบริษัท มีแนวโน้มสูงที่พวกเขาทำงานเพื่อพัฒนาทักษะและประสบการณ์ของตนเอง

วิธีทำงานร่วมกับคนเจน Satori

     1. พึงระลึกไว้เสมอว่าให้ “คำแนะนำ” แทน “คำสั่ง”

     อย่าต้องทำให้พวกเขารู้สึกว่าโดนบังคับทำ นั่นจะส่งผลแย่ทันที แต่จงใช้วิธีอธิบายว่า "เหตุใดพวกเขาจึงจำเป็นต้องทำงานนี้" และ "เหตุใดพวกเขาจึงต้องทำงานด้วยวิธีนี้"

     2. ดูที่กระบวนการมากกว่าผลลัพธ์

     ในการทำงานใช่ว่าจะทำให้ประสบความสำเร็จทุกครั้ง ดังนั้น แทนที่จะโฟกัสที่ผลลัพธ์ ให้ โฟกัสที่ "สิ่งที่พวกเขาได้ทุ่มเทและสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่พวกเขาทำได้ดีกว่าวันวาน และจงทำให้พวกเขารู้สึกว่าคุณได้เห็นความพยายามของพวกเขา และจะทำให้พวกเขานับถือคุณมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่แรงจูงใจและประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น

     3. ไม่ก้าวล้ำความเป็นส่วนตัว

     คนเจน Satori แบ่งเรื่องส่วนตัวกับการทำงานอย่างชัดเจน เคล็ดลับในการเข้ากันได้ดีกับคนกลุ่มนี้คือ การไม่ก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวของพวกเขา

     4. สื่อสารตรงประเด็น

     อย่าพยายามหว่านล้อมด้วยคำพูดที่ดูอ้อมไปอ้อมมา เมื่อต้องตักเตือนหรือแนะนำก็ให้พูดด้วยเหตุผลที่ตรงไปตรงมาพร้อมคำแนะนำที่ชัดเจน

Cr : https://www.kaonavi.jp/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

Quiet Quitting เวอร์ชั่นใหม่จากจีน! ประท้วงแบบใหม่ แบบสับ แห่แต่งชุดไม่เหมาะสมไปทำงาน เรียกร้องสวัสดิภาพที่ดี

“Quiet Quitting” หรือ “การลาออกเงียบ” เทรนด์การทำงานของคนยุคนี้ที่มีการพูดถึงกันมากเมื่อช่วง 2 ปีก่อน ล่าสุดคนรุ่นใหม่ หรือ คน Gen Z ต่างหันมาแต่งตัวไปทำงานด้วยชุดที่ไม่เหมาะสม เช่น การสวมชุดที่ดูคล้ายชุดนอนมาทำงาน, การแต่งกายด้วยชุดเวอร์วัง อย่างเสื้อคลุมขนสัตว์ที่ดูรุ่มร่าม เป็นต้น โดยมองว่าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร แค่อยากแสดงออกเชิงสัญญาลักษณ์เฉยๆ

ไม่อยากเจ๊งต้องอ่าน รวมทางออกให้ธุรกิจไปต่อ ยามเจอวิกฤตเศรษฐกิจเลวร้าย

ความท้าทายไม่เคยขาดหายไปสำหรับผู้ประกอบการ SME ในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกปัญหาล้วนมีทางออกเสมอสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และยืนหยัดด้วยปรัชญาที่ถูกต้อง

5 หนังครอบครัวฟีลกู้ด ที่คนทำธุรกิจควรดู

เพราะครอบครัว คือ รากฐานสำคัญของทุกอย่าง หลายธุรกิจแจ้งเกิดเติบโตประสบความสำเร็จได้  เนื่องในวันครอบครัว 14 เมษายนนี้ เลยอยากชวนมาดู 5 หนังเรื่องราวธุรกิจที่มีความอบอุ่นของครอบครัวเป็นแรงผลักดันจนสำเร็จมาฝากกัน