ไม่อยากให้องค์กรพัง 5 สิ่งที่ผู้นำต้องหยุดทำเดี๋ยวนี้!

TEXT : อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา

Main Idea

  • หลายครั้งที่องค์กรต้องพังไม่เป็นท่า ก็เพราะการกระทำของผู้นำหรือหัวหน้าที่ไม่เอื้อต่อการมัดใจลูกน้องไว้ได้

 

  • ต่อไปนี้ คือ 5 สิ่งที่ผู้นำควรหยุดทำ เพราะอาจทำให้คุณต้องเสียพนักงานดีๆ ไปก็ได้

 

     Peter Drucker บิดาแห่งการบริหารจัดการยุคใหม่ผู้ล่วงลับ เคยกล่าวไว้ว่า “พนักงานเข้าทำงานเพราะองค์กร แต่ลาออกเพราะหัวหน้า” เป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่าพฤติกรรมและการกระทำของหัวหน้า ส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกผูกพันที่ลูกน้องมีต่อองค์กร

     ตำราหลายเล่มมักสอนว่าผู้นำที่ดีความต้องวางตัวอย่างไร และประพฤติปฏิบัติตนเช่นไร จึงชนะใจพนักงาน ส่งผลให้ “คนสำราญและงานสำเร็จ” แต่มีตำราน้อยเล่มมากๆ ที่จะแนะนำว่าหัวหน้าที่ดีควรหยุดทำอะไร เพื่อช่วยให้ทีมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

     วันนี้ขอนำ 5 สิ่งที่ผู้นำต้องหยุดทำโดยด่วนมากฝาก หากอยากเห็นขวัญ กำลังใจ และผลงานของทีมดีขึ้น

     1. มองไม่เห็นความทุ่มเทของลูกน้อง - ไม่ว่าเป็นใครก็หมดกำลังใจ ถ้าทำงานหนักแทบตายแต่หัวหน้าไม่เคยพูดถึง ไม่เคยเอ่ยปาก ไม่เคยชมเชย สุดท้ายก็ไม่อยากทำ กลายเป็นคนหมดไฟ

     2. ไม่ตั้งใจฟัง - ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังมุมมองที่หลากหลายเพื่อตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ การฟังไม่ใช่แค่การได้ยิน การฟังเป็นความรู้สึกที่คนอื่นมีต่อเรา จริงอยู่แม้เราจะได้ยินทุกอย่างที่อีกฝ่ายหนึ่งพูด แต่ด้วยท่าทีและท่าทาง อีกฝ่ายอาจรู้สึกว่าเราไม่ได้ตั้งใจฟังเขาอย่างจริงจังก็ได้

     3. โทษคนอื่น - ผู้นำที่ขาดความรับผิดชอบคือหัวหน้าที่สอบตก ยิ่งถ้าโยนความผิดหรือปัดความรับผิดชอบไปให้ลูกน้องด้วยแล้ว ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ หน้าที่ของผู้นำคือปกป้องและสนับสนุนทีมงาน คำว่า “หัวหน้า” มาจากคำว่า หัว บวกกับคำว่า หน้า ดังนั้น หน้าที่ของหัวหน้าคือ ต้องใช้ “หัว” ช่วยคิดแก้ปัญหา และเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากฝีมือของตนเองหรือผลงานลูกน้อง ก็ต้องเอา “หน้า” เข้าไปรับ อย่างที่พูดกันติดหูว่า “ออกไปรับหน้า”

     4. ไม่ยืดหยุ่น - ไม่ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง ทำงานด้วยวิธีการเดิมๆ ทำตัวเหมือนเดิมไม่คิดจะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไร ทั้งๆ ที่องค์กรและสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปทุกวัน ผู้นำจำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

     5. ไม่พัฒนาทีม - ผู้นำหลายคนให้เสียงสะท้อนกลับ (Feedback) สำหรับการทำงานของลูกน้องแค่ช่วงเวลาปรับเงินเดือนประจำปีเท่านั้น ทั้งๆ ที่การฟีดแบคต้องทำอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ควรชมเชยเมื่อลูกน้องทำงานได้ดี และให้คำแนะนำเมื่อเห็นว่ามีตรงไหนที่ควรปรับปรุง การพัฒนาทีมที่ดีต้องทำให้เป็นวัฒนธรรมไม่ใช่แค่กิจกรรมที่ทำกันเป็นช่วงๆ เห่อกันเป็นพักๆ เท่านั้น

     ผู้นำแต่ละคนมีสไตล์ที่แตกต่างกัน มีหลายองค์ประกอบที่ทำให้ผู้นำไม่ประสบความสำเร็จ และ 5 ข้อนี้ก็เป็นสิ่งที่ชวนให้ทุกคนต้องระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นด้วย

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

ปรับโหมดลูกน้อง “Fauxductivity” ขยันทำงานแบบการละคร สู่โหมดจริงจังและได้ผลงานจริง

รู้จัก “Fauxductivity” หลอกว่ายุ่ง แต่ใจไม่ได้มุ่งทำงาน แล้วผู้นำหรือหัวหน้าต้องทำอย่างไร จึงจะแก้ปัญหาการทำงานแบบ Fauxductivity ได้อยู่หมัด

เหนื่อยยังไง...ให้ไปต่อได้ 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่คนทำธุรกิจยุคไม่แน่นอนต้องรู้

ถ้าเป้าหมายการทำธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ “อยู่รอด” แต่คือ “อยู่ให้ได้อย่างยั่งยืนและมีคุณค่า”ลองดู 4 หลักคิดญี่ปุ่น ที่ช่วยให้ธุรกิจไปต่อได้ในวันที่เหนื่อยแทบขาดใจ

ลงทุนในคน ยังไงไม่ให้คนเก่งหนี  บทเรียนจากองค์กรชั้นนำ ยุคที่คนเปลี่ยนงานไวกว่าเปลี่ยนมือถือ

หากองค์กรจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การพัฒนาคน” ทั้งในแง่ของทักษะ มุมมอง และการสร้างระบบที่หล่อเลี้ยงการเติบโตของคนกับองค์กรไปพร้อมกัน