สูตรลับกลยุทธ์ธุรกิจให้คมสร้างคนในทีมให้เจ๋ง ด้วย Design Thinking x Winning Zone

TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ

Main Idea

  • สูตรลับทำให้กลยุทธ์ธุรกิจมีความคม พัฒนาทีมงานให้คิดเชิงวิเคราะห์มากขึ้น ด้วยการใช้กระบวนการ Design Thinking ร่วมกับ Winning Zone

 

  • กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง และนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ สายมาสร้างไอเดีย แนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กร

 

 

     ช่วงปีที่ผ่านมาผมเผชิญความท้าทายในการพัฒนาทีมงานให้คิดเชิงวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ได้ดียิ่งขึ้น คิดกลยุทธ์ให้คมขึ้น จึงได้มีการจัด Workshop เรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคของทีมงานว่าติดขัดตรงไหน มีปัญหาอย่างไรในการคิดกลยุทธ์ให้คมยิ่งขึ้น จึงสรุปความคิด นำไปใช้กับลูกค้าแล้วนำมาแชร์ให้ทุกท่านเรียนรู้ไปพร้อมกันครับ

     ความคมของกลยุทธ์นั้นมิได้ลอยมาจากฝากฟ้า หากแต่เกิดจากการลับคมกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งกลยุทธ์นั้นคิดได้มาจากการวิเคราะห์หลายแหล่งข้อมูล ทั้ง SWOT, Ansoff Matrix, Winning Zone, Competitor Landscape, Consumer Insight เป็นต้น แต่กระบวนการพัฒนาลับคมนั้นใช้ข้อมูลข้างต้นประกอบกับกระบวนการ Design Thinking

     กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) คือ กระบวนการคิดเพื่อแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ให้ถูกจุด ตลอดจนพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือโจทย์ที่ตั้งไว้ เพื่อที่จะหาวิถีทางที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุด การแก้ปัญหาบนพื้นฐานกระบวนการนี้จะเน้นยึดไปที่หลักของผู้ใช้/ผู้บริโภค (User-centered) เป็นหลัก โดยมีเจตนาในการสร้างผลลัพธ์ในอนาคตที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ตลอดจนแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย

     การคิดเชิงออกแบบนั้นต่างจาก “ความคิดสร้างสรรค์” (creativity) คือ Design Thinking จะคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 อย่างประกอบกัน คือ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และ “คน” การคิดเชิงออกแบบจึงมีอีกชื่อคือ Human centered design ที่คนเป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหา โดยเน้นทำความเข้าใจว่าคนต้องการอะไร แทนที่วิธีการแบบเดิมที่มักเริ่มต้นจาก “ปัญหา” หรืออีกนัยยะหนึ่ง Design Thinking คือ “กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ สายมา สร้างไอเดีย แนวทางการแก้ไข และนำเอาแนวทางต่างๆ นั้นมาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆ ” ใช้งานร่วมกับ Winning Zone ซึ่ง Focus ในคนเช่นกัน กับการเข้าใจลูกค้าและนำข้อมูลมาใช้ไม่หลอกตัวเอง ทำให้กลยุทธ์ของเรานั้นมีความคมมากขึ้น

     โดยสิ่งสำคัญการเพิ่มความคมของกลยุทธ์ Design Thinking x Winning Zone จากประสบการณ์ของผม มีดังนี้ครับ:

⁃ ทำซ้ำๆ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรนำความคิดแรกไปใช้เลย

⁃ มองในสิ่งที่ลูกค้าต้องการเป็นหลัก เรามีและคู่แข่งไม่มี เป็น Checklist การคัดกรองกลยุทธ์

⁃ จุดอ่อนที่พบบ่อย คือ หลงไปกับความคิดตัวเองว่าดี ไม่ได้เทียบเคียงกับมาตราฐานของตลาด

⁃ ปิงปองไอเดียกับคนมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจที่เท่ากัน เพื่อลับคม กลบจุดอ่อน พัฒนาจุดแข็งของกลยุทธ์

⁃ ทดสอบให้มาก เรียนรู้จากการลงมือทำ นำข้อมูลมาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

⁃ มีวินัยสม่ำเสมอกับการดำเนินการ

     สุดท้ายแนะนำว่าการวางกลยุทธ์ต้องไม่ยึดติดจนเกินไป ต้องพริ้วไหวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่เสมอ พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและแก้เกมส์สิ่งที่คิดว่าดีแล้วให้ดียิ่งๆขึ้นไป เพราะ ธุรกิจ เป็นสิ่งที่เป็น Dynamic ไม่หยุดนิ่ง แตกต่างจากแผนกลยุทธ์ที่เป็นแผน ณ จุดเวลานั้นๆ ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จกับกลยุทธ์ธุรกิจครับ

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MANAGEMENT

นายจ๋ารู้ยัง? ทำไมพนักงานถึงเปลี่ยนงานกันบ่อย!

สังเกตกันไหม ทำไมช่วงเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา เราถึงได้ยินข่าวการลาออก หรือการเปลี่ยนงานของพนักงานกันบ่อยมากขึ้น ยกตัวอย่างในปี 2021 มีสถิติรายงานว่าประชากรในสหรัฐอเมริการาว 47.4 ล้านคน (จากประชากรทั้งหมด 159 ล้านคน) ตัดสินใจลาออกจากงาน

DNA หรือ สภาพแวดล้อม อะไรมีผลต่อความสำเร็จทางธุรกิจมากกว่ากัน

ประเด็นถกเถียงเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จในชีวิตของบุคคลนั้นเป็นหัวข้อที่น่าสนใจมาช้านาน ในขณะที่บางคนเชื่อว่าความสำเร็จขึ้นอยู่กับพันธุกรรมหรือลักษณะทางพันธุกรรม (DNA) ที่ติดตัวมาแต่กำเนิด อีกกลุ่มกลับมีความเห็นว่าสภาพแวดล้อมต่างหาก