สิ่งที่เรามักทำผิดพลาดในโลกโซเชียลมีเดีย







เรื่อง เจษฎา ปุรินทวรกุล

    ณ เวลานี้ คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักโซเชียลมีเดีย ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ใช้พลังของโซเชียลมีเดียเป็นใบเบิกทาง เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอย่างต่อเนื่อง แต่รู้หรือไม่ว่า ผู้ประกอบการบางคนใช้โซเชียลมีเดียผิดพลาดจนแบรนด์ได้รับคำบ่นมากกว่าคำชม หรือได้รับความเสียหายมากกว่าการเจริญเติบโตทางธุรกิจ ทั้งหมดนี้ล้วนสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจโดยไม่รู้ตัว และนี่คือความผิดพลาดที่เราทุกคนอาจทำจนเป็นเรื่องเคยชิน


    1. โพสเนื้อหาแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า

    ปกติเราโพสอะไรลงไปบ้าง โพสแต่เนื้อหาแบบเดิมๆ หรือเปล่า เช่น ขายของ ขายของ และขายของ หรือโฆษณาสินค้ากับบริการของตัวเองซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งการเล่าเรื่องแบบเดิมๆ ตลอดเวลามักทำให้คนที่อ่านเนื้อหาเกิดความเบื่อ และเลิกสนใจเราในที่สุด ไม่ใช่ว่าห้ามโพสการโฆษณา ขายของ หรือโปรโมชั่น โพสได้แต่ไม่ควรมากเกินไป และควรมีรายละเอียดต่างๆ ที่น่าสนใจด้วย ดังนั้น ต้องสร้างความหลากหลายในการโพส ไม่ว่าจะเป็นการแชร์บทความที่มีประโยชน์ เกมส์ร่วมสนุก ขายของบ้าง ไปเจอสิ่งแปลกๆ แล้วนำมาแชร์บ้าง เป็นต้น  
  

    2. ไม่ใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียเพื่อต่อยอดไปยังช่องทางอื่นที่มีอยู่

    ความหมายก็คือ ในเมื่อเราสามารถมีผู้ติดตามทางโซเชียลมีเดีย หรือมีลูกค้าเข้ามาสอบถามและซื้อสินค้ากับเราแล้ว ควรขออีเมล์จากกลุ่มเป้าหมายมาด้วย เพราะอีเมล์เป็นช่องทางต่อยอดการตลาดและเป็นช่องทางการติดต่อกับลูกค้าได้อีกช่องทางหนึ่ง รวมถึงยังช่วยรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาวได้ด้วย หากไม่รู้จะเริ่มยังไง ลองเสนอบัตรของขวัญส่วนลด ของสมนาคุณ หรืออะไรก็ตามที่ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า เพื่อแลกกับอีเมล์ของเขาดู


    3. ไม่สนใจคอมเมนท์หรือคำถาม

    การโพส การทวีต หรือการพิน เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น หากเราต้องการให้การสื่อสารระหว่างเรากับลูกค้าสมบูรณ์แบบ ต้องพยายามมีส่วนร่วมด้วยการตอบคำถามและคอมเมนท์ต่างๆ จากลูกค้า


    4. บุคลิกไม่น่าไว้วางใจ

    คุณอาจคิดว่าคุณควรเป็นอย่างไรในโลกโซเชียลมีเดีย อยากเป็นแบบนั้น แบบนี้ แต่ในความจริงแล้วนั่นไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับกลยุทธ์ในระยะยาว การสร้าง Character ให้กับตัวเองเป็นสิ่งสำคัญซึ่งจะช่วยบ่งชี้ว่าเรามีบุคลิกอย่างไร ดังนั้น พยายามเป็นตัวของตัวเองไว้ แบ่งปันและแสดงความคิดที่เป็นตัวเราในโลกออนไลน์ จะช่วยให้เราโดดเด่นขึ้นมาได้ดีกว่าสร้างตัวตนแบบปลอมๆ ขึ้นมา

 





    5. ไม่ได้คิดก่อนโพส

    บางทีเราอยากโพสอะไรก็โพส โดยไม่ทันคิดเชื่อมโยงเรื่องแผนการตลาดหรือเรื่องอื่นๆ ดังนั้น ลองหยุดแล้วคิดซักนิดว่า “กลุ่มเป้าหมายของเราต้องการอะไร” การโพสของเราจะมอบอะไรให้กับเขา เช่น ความรู้ ประสบการณ์ ความสุข หรือการโพสของเราจะช่วยตอบโจทย์อะไรให้กับกลุ่มลูกค้าได้บ้าง เป็นต้น


    6. คาดหวังผลตอบรับที่ดีในเวลาอันสั้น

    โซเชียลมีเดีย เป็นสื่อที่ใช้สร้างความสัมพันธ์และการตลาดระยะยาว บางคนพอมาใช้ได้ซักเดือนสองเดือนแล้วเห็นว่ามียอดไลค์ หรือยอดผู้ติดตามน้อย ก็คิดว่าไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งในความจริงแล้วเราต้องค่อยๆ สะสมความสำเร็จไปทีละนิด อย่าคาดหวังผลสำเร็จในระยะเวลาที่สั้น

    7. ไม่มีการสร้างความสัมพันธ์

    “บางครั้งคนเราก็ไม่ได้สนใจหรอกว่าเรามีความรู้แค่ไหน จนกว่าเขาจะรู้ว่าเราห่วงใยเขาจริงๆ” เรื่องนี้เกี่ยวโยงกับ โซเชียลมีเดีย คือ ต่อให้เราแชร์เรื่องดีๆ มีประโยชน์ มีความรู้มากซักเท่าไร แต่กลุ่มเป้าหมายไม่สนใจ เพราะเขาอาจไม่ได้สนใจนักหรอกว่าคุณมีความรู้อะไร เอาสิ่งดีๆ มาแชร์มากมายก็เท่านั้น สิ่งที่จะทำให้เขาสนใจได้คือข้อความที่ทำให้เขารู้สึกว่าเราห่วงใยเขา ค่อยๆ สร้างขึ้นมาจนกลายเป็นความสัมพันธ์ระยะยาว 

    หากคุณไม่ได้ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกลุ่มเป้าหมายอยู่ คงต้องบอกว่าคุณกำลังพลาดสิ่งที่สำคัญที่สุดของโซเชียลมีเดียแล้วละ

    8. โพสเยอะมากเกินไป

    หนึ่งในเหตุผลหลักที่คนเลิกติดตามแบรนด์นั้นๆ ในโซเชียลมีเดียก็คือ มีปริมาณการโพสที่มากจนเกินไปเช่น พอเข้าเฟซบุ๊คมาก็พบแต่ฟีดข่าวของแบรนด์นั้นๆ เต็มไปหมด เจอเขาทุกวันเป็นใครก็คงเบื่อ ซึ่งในทางทฤษฎีคงไม่มีใครระบุได้ว่าไม่ควรโพสเกินวันละกี่ครั้ง ต้องขึ้นอยู่กับเนื้อหา และความเหมาะสม

    ลองนำทุกอย่างมาผสมเข้าด้วยกันและนำไปปรับใช้ น่าจะทำให้การสร้างแบรนด์ในโลกโซเชียลมีเดียเกิดความผิดพลาดน้อยลง       


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ SME (เอสเอ็มอี)

    


RECCOMMEND: MARKETING

โพสต์ให้ปังด้วยพลัง AI! 6 เทคนิคสร้างคอนเทนต์ที่ขายของได้จริง

ไม่ว่าคุณจะเป็นแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของแบรนด์ ทีมการตลาด หรือครีเอเตอร์มือใหม่ AI ก็สามารถช่วยคุณสร้างสรรค์คอนเทนต์ปังที่จะช่วยในการเจาะตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น

ไทยเที่ยวไทยปี 68 'เมืองรอง' คือขุมทรัพย์ใหม่ เมื่อคนไทยเที่ยวถี่ขึ้น เน้นไป-กลับ

เจาะลึก "เทรนด์ไทยเที่ยวไทย ปี 2568" ว่าทำไมตลาดไม่ถอยเสียทีเดียว แต่เปลี่ยนเกม และคุณต้องเปลี่ยนตามให้ไว ก่อนจะตามไม่ทัน

ส่งออกหลักล้านไม่ใช่เรื่องไกลตัว เปิดสูตรลับ 2 แบรนด์ไทยบุกอาเซียน ด้วย Shopee International Platform

ความท้าทายในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย เพราะช่องทางออนไลน์เป็นโอกาสที่เปิดกว้างขึ้น วันนี้จะพาไปรู้จัก Shopee International Platform (SIP) โปรแกรมที่เป็นมากกว่าช่องทางขายสินค้าออนไลน์ต่างประเทศ