7 ขั้นตอน สร้างธุรกิจขนาดเล็กให้โดดเด่นบน Google






เรื่อง เจษฎา ปุรินทวรกุล


    หนึ่งในปัญหาของผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กก็คือ ไม่สามารถสร้างเว็บไซต์ให้ติดอับดับต้นๆ ของการสืบค้นใน Google ได้ และยังไม่รู้ด้วยว่าจะเริ่มต้นอย่างไร บทความนี้จะช่วยไขปัญหาเรื่องการสร้างเว็บไซต์ให้ธุรกิจของคุณโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กเพื่อให้สืบค้นเจอได้ง่าย และมีจำนวนผู้เข้าชมสูงขึ้น โดยขั้นตอนต่างๆ มีดังนี้

    1. ใส่ความคิดเห็นและคะแนนให้กับผลิตภัณฑ์แต่ละรายการ

    การสร้างเว็บไซต์ให้ลูกค้าสามารถให้คะแนนและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการได้นั้นเป็นสิ่งดีที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ร่วมกันระหว่างเรากับลูกค้า และลูกค้าที่เคยใช้สินค้ากับลูกค้ากลุ่มใหม่ได้เป็นอย่างดี รวมถึงได้คำแนะนำไปปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้วย นอกจากนั้น Google ยังชอบให้เว็บไซต์ต่างๆ ใส่เนื้อหาประเภทนี้เข้าไปด้วย ซึ่งจะส่งผลต่ออันดับที่สูงขึ้นบน Google Search  

    2. ใส่ภาพประกอบหรือวิดีโอแนะนำในผลิตภัณฑ์แต่ละรายการ

    การใส่ภาพหรือวิดีโอประกอบเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีร่วมกับลูกค้า เป็นสิ่งที่จะทำให้อันดับในการสืบค้นพุ่งสูงขึ้น (ทั้งการค้นหาเว็บไซต์และการค้นหาภาพ) ซึ่งต้องไม่ลืมใส่คำบรรยายใต้ภาพ หรือหากเป็นสินค้าที่ใช้งานยาก มีข้อจำกัดในการใช้งานก็ควรระบุรายละเอียดและวิธีการใช้ลงไปให้ชัดเจนด้วย


    3. สร้างการเชื่อมโยงลิงค์กับเว็บอื่นๆ

    ยิ่งมีเว็บไซต์อื่นๆ ทำลิงค์มายังเว็บไซต์ของเรามากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลต่ออันดับในการสืบค้นของเรามากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นพยายามแลกลิงค์กับเว็บไซต์อื่นๆ โดยเฉพาะเว็บที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเรา

    4. บรรยายผลิตภัณฑ์ด้วยคีย์เวิร์ดที่เหมาะสม

    อย่าลืมบรรยายหรือให้รายละเอียดสินค้าและบริการของคุณบนเว็บไซต์ด้วย เช่น คุณสมบัติและคุณประโยชน์ของสินค้านั้นดีอย่างไร ทำไมถึงน่าสนใจ แตกต่างจากคู่แข่งบนท้องตลาดอย่างไร โดยในการให้รายละเอียดก็ต้องไม่ลืมใส่คีย์เวิร์ดที่เหมาะสมอย่างชื่อสินค้าหรือบริการ วัตถุดิบที่ใช้ ความโดดเด่น และสถานที่จำหน่าย ลงไปด้วย เพราะคีย์เวิร์ดที่ดีจะช่วยให้ลูกค้าค้นพบเว็บไซต์ได้ง่ายยิ่งขึ้น 


    5. เข้ารหัสเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย

    ความปลอดภัยบนโลกออนไลน์นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก ทั้งกับเรา ลูกค้า และ Google การสร้างเว็บไซต์ซึ่งเข้ารหัสเว็บไซต์ (HTTPS) หรือ SSL จะช่วยสร้างความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของคุณได้อีกมาก


    6. อย่าลืมใส่คีย์เวิร์ดเกี่ยวกับสถานที่ประกอบธุรกิจหรือขายสินค้า

    หากร้านค้าของคุณขายอุปกรณ์ก่อสร้าง คีย์เวิร์ดที่ควรใส่ก็ต้องมีมากกว่าอิฐ ปูน และจังหวัด ให้ใส่ภูมิภาค รหัสไปรษณีย์ ชื่อบริษัท เบอร์ติดต่อ ชื่อย่อ ความเป็นท้องถิ่น ถนนที่ผ่านหน้าร้านค้า และคำอื่นๆ อีกหลายคำที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่านี่คือร้านค้าท้องถิ่น ที่สำคัญการใส่ข้อมูลชื่อร้าน ที่อยู่ และเบอร์โทร บนเว็บไซต์ และโซเชียลมีเดีย ควรให้เหมือนกันในทุกช่องทาง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกค้าสับสน 


    7. ลงทะเบียนร้านค้าใน Google Business Page

      ขั้นตอนนี้มีความจำเป็นมากๆ และผู้ประกอบการหลายๆ คนไม่ทราบ นั่นก็คือการลงทะเบียนร้านค้าผ่านทาง Google Business Page (www.google.com/business) ซึ่งร้านค้าจะปรากฏบน Google Search, Google Map และ Google+
    
    การดำเนินการตามขั้นตอนทั้งหมด จะช่วยสร้างโอกาสให้อันดับการสืบค้นบน Google ดีขึ้น แต่ต้องอย่าลืมเรื่องการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเวลาเข้ามายังเว็บไซต์ของเราด้วย นั่นก็คือ ความสวยงาม เข้าใจง่าย เนื้อหาดี และมีโปรโมชั่น ซึ่งจะมีทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ และมีโอกาสเข้ามาชมเว็บไซต์ของเราอีกครั้ง 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อความสำเร็จของธุรกิจเอสเอ็มอี (SME)

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2