6 เคล็ดลับเปลี่ยนความชอบให้กลายเป็นธุรกิจ







    หากวันนี้เราก้าวออกจากบ้านไปทำงานด้วยความรู้ที่เดิมๆ จำเจ ไม่มีอะไรใหม่ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราเริ่มเบื่องานประจำแล้ว ซึ่งความรู้สึกนี้สามารถเกิดกับใครก็ได้ที่อยากมีอิสระ หรือทำงานไปนานๆ แล้วเริ่มสัมผัสได้ว่างานที่ตัวเองทำอยู่นั้น ไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองชื่นชอบ ถ้าใครกำลังมีความรู้สึกนี้ หรืออยากเปลี่ยนความชอบให้กลายเป็นอาชีพ และกลายเป็นธุรกิจ เรามีเคล็ดลับดีๆ มาแนะนำ โดยเริ่มจาก


    1. ค้นหาความชอบให้พบจริงๆ

    ความชื่นชอบ ควรเป็นอะไรที่เราทำแล้วมีความสุข สนุกสนาน ซึ่งความชอบกับงานอดิเรกจะแตกต่างกัน ดังนั้น ควรหาความชื่นชอบให้พบและมั่นใจว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่คุณชื่นชอบก่อนลาออกจากงาน ยกตัวอย่างเช่น งานอดิเรกของคุณคือการวาดภาพ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณควรสร้างอาชีพด้วยการวาดภาพ เพราะถ้าคุณมีฝีมือด้านการออกแบบกราฟิก อาจผสมผสานความสามารถของศิลปะและกราฟิกดีไซน์เข้าด้วยกันแทน ดังนั้น ลองเปิดใจให้กว้างเพื่อสำรวจตัวเอง และค้นหาความชอบที่แท้จริงให้พบ


    2. ตรวจสอบความต้องการของตลาด

    หลังจากค้นพบความชื่นชอบของตัวเองแล้ว ลำดับต่อไปลองตรวจสอบความต้องการของตลาดในพื้นที่ที่เราจะสร้างธุรกิจดู เพราะมันจะกลายเป็นความเสี่ยงอย่าสาหัส หากเราประกอบธุรกิจการออกแบบกราฟิกในพื้นที่ที่มีความต้องการน้อย หรือมีจำนวนคู่แข่งจำนวนมหาศาลอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบและวิเคราะห์คู่แข่ง ว่ามีความสามารถประมาณไหน เพราะถ้าเรามีทักษะที่สูงกว่าคู่แข่ง ก็สามารถทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมายเพื่อแข่งขันได้


    3. ทำการวิจัยเพิ่มเติม

    ลองค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมดูว่าอาชีพของเรา ต้องใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์เฉพาะทางหรือไม่ ต้องมีวุฒิบัตร เอกสารรับรองด้านการศึกษาหรือการฝึกอบรมจากที่ใดบ้าง อาจหาเวลาไปพูดคุย ปรึกษา หรือขอคำแนะนำจากคนที่ทำธุรกิจเดียวกับที่เรากำลังจะทำ เพื่อดูว่ามีปัญหาหรือแนวทางในการทำธุรกิจอย่างไรบ้าง จะได้เตรียมรับมือถูก

    4. เขียนแผน

    ระบุรายละเอียดและขั้นตอนดำเนินการดูว่ามีโอกาสประสบความสำเร็จมากน้อยขนาดไหน หรือถ้าเป็นไปได้อาจเขียนเป็นแผนธุรกิจขึ้นมา ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมชัดเจนขึ้น ตั้งแต่กลุ่มเป้าหมาย รายละเอียดที่ต้องทำ ภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน และที่พลาดไม่ได้เลยก็คือ แผนสำรอง หากดำเนินธุรกิจไปแล้วไม่เป็นไปตามที่คิด เราจะทำอย่างไร เป็นต้น


    5.สร้างความน่าเชื่อถือและประสบการณ์    

    การทำธุรกิจให้มีความน่าเชื่อถือ เราต้องแสดงความเป็นมืออาชีพ ซึ่งการมีทักษะพิเศษ อาจไม่เพียงพอให้ลูกค้าเห็นว่าเรามีความชำนาญ แต่ถ้ามีเอกสารรับรองการอบรมจากหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ ก็จะช่วยให้ธุรกิจของเรามีความน่าสนใจและสร้างความต้องการทางตลาดได้สูงขึ้น ทั้งนี้ อาจใช้เวลาตอนกลางคืน หรือช่วงวันหยุดในระหว่างที่ยังทำงานประจำอยู่ เพื่อเพิ่มประสบการณ์ด้วยการเข้ารับการอบรมจากสถานที่ต่างๆ   


       6. มีความยืดหยุ่น

    ถนนสายธุรกิจนั้นไม่ได้ราบเรียบตลอดไป อาจสะดวกสบายในช่วงแรก แต่จะอย่างไรก็ต้องพบเจออุปสรรค ดังนั้น ต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง รับฟังข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ น้อบรับคำแนะนำและคำวิจารณ์จากลูกค้า เพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ อยู่เสมอ และจำไว้เสมอว่าไม่มีใครประสบความสำเร็จได้โดยลำพัง หากมีโอกาสพบที่ปรึกษาทางธุรกิจ ร่วมงานเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เข้าร่วมคลัสเตอร์ ตลอดจนงานอบรมต่างๆ ก็ไม่ควรพลาด เพราะสิ่งที่เราจะได้รับนั้นมีทั้งประสบการณ์และคอนเนคชั่น

www.smethailandclubl.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


    

RECCOMMEND: MARKETING

ส่งออกหลักล้านไม่ใช่เรื่องไกลตัว เปิดสูตรลับ 2 แบรนด์ไทยบุกอาเซียน ด้วย Shopee International Platform

ความท้าทายในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย เพราะช่องทางออนไลน์เป็นโอกาสที่เปิดกว้างขึ้น วันนี้จะพาไปรู้จัก Shopee International Platform (SIP) โปรแกรมที่เป็นมากกว่าช่องทางขายสินค้าออนไลน์ต่างประเทศ

ยิ่งให้ ยิ่งโต 3 กลยุทธ์ธุรกิจแห่งอนาคตที่ได้ใจผู้บริโภครุ่นใหม่

เพราะธุรกิจที่เติบโตอย่างแข็งแรงในวันนี้ ไม่ใช่แค่แบรนด์ที่ “ขายของดี” แต่คือแบรนด์ที่ “มีความหมายให้ลูกค้าอยากจ่าย”มาดู 3 กลยุทธ์จากแบรนด์ระดับโลกที่กล้าให้…และเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยหัวใจ

5 เทคนิคสร้าง “กระแสแบบไม่เปลืองงบ” ทำให้ลูกค้าอยากพูดถึงแบรนด์คุณ…แบบปากต่อปาก!

มีสินค้าดี บริการเด่น แต่ไม่มีใครพูดถึง นี่คือสิ่งที่เจ้าของธุรกิจหลายคนเจอ โดยเฉพาะเมื่อไม่อยากทุ่มงบโฆษณา วันนี้จะพาคุณไปรู้จักเทคนิคสร้าง Buzz สำหรับคนทำธุรกิจ ที่งบน้อยแต่กระบวนท่าไม่ธรรมดา