วัดผลการทำออนไลน์มาร์เกตติ้งอย่างไร

 



เรื่อง นเรศ เหล่าพรรณราย
    
    ปัจจุบัน การแข่งขันในการสร้างคอนเทนท์ออนไลน์มีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจที่ซบเซา ภาคธุรกิจไม่มีงบในการลงโฆษณาในสื่อกระแสหลัก ทำให้งบส่วนใหญ่เทมาอยู่ที่สื่อออนไลน์ซึ่งมีข้อดีคือสามารถวัดจำนวนผู้ที่เข้าถึงคอนเทนท์ได้ชัดเจน นำไปสู่ความคาดหวังว่างบประมาณที่ลงไปในการสร้างคอนเทนท์จะตอบแทนกลับในรูปของผลตอบรับจากผู้ชมในจำนวนเท่าไร


    ทั่วไปแล้วเรามักจะวัดผลการทำการตลาดออนไลน์บนแฟนเพจจากจำนวนของผู้ที่เข้าถึง (Reach) หรือจำนวนผู้ที่เข้ามากด Like ในโพสต์หรือแฟนเพจเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการวัดผลที่เกิดจากการสร้างคอนเทนท์ออนไลน์มีรูปแบบที่ซับซ้อนยิ่งกว่านั้นซึ่งเป็นมากกว่าการวิเคราะห์ที่ตัวเลข 


    อย่าลืมว่า จำนวนผู้ที่ Reach คอนเทนท์ในแฟนเพจไม่ได้แสดงว่าคนๆนั้นให้ความสนใจและความสำคัญกับคอนเทนท์ของเราแต่อย่างไร เพราะแฟนเพจจะนับว่าได้เข้าถึงจากการที่คนๆนั้นมองผ่านเพียงแค่สามวินาทีเท่านั้น อาจจะไม่ได้สนใจสิ่งที่เรานำเสนอก็เป็นได้ เราจึงต้องใช้วิธีการวัดผลในหลากหลายรูปแบบอย่างเช่น
 

    ข้อแรก..วัดผลจากจำนวนการแชร์ เป็นวิธีการวัดความน่าสนใจของคอนเทนท์ขั้นต้นได้ ลองมองย้อนกลับไปหากเราเป็นผู้รับคอนเทนท์ หากสิ่งที่นำเสนอนั้นมัน “โดน” ก็จะนำไปสู่การแชร์ให้คนอื่นได้เห็นด้วยเช่นกัน ซึ่งอาการที่เรียกว่าโดนนั้นอาจจะเป็นเพียงแค่การพาดหัวเรื่องที่ดีก็สามารถทำให้เกิดการแชร์ได้แล้ว การที่โพสต์ถูกแชร์ออกไปจำนวนมากมีโอกาสที่จะทำให้มีกลุ่มผู้ติดตามรายใหม่เกิดขึ้นได้ด้วย


    ข้อสอง..จำนวนคอมเมนท์และเนื้อหาที่ถูกเขียนลงไป แม้โลกออนไลน์จะเป็นพื้นที่เปิดกว้างสำหรับการแสดงความคิดเห็น แต่คนส่วนมากกลับเลือกที่จะเป็นผู้อ่านมากกว่าผู้เขียนคอมเมนท์ (ยกเว้นผู้ที่เป็นเกรียนคีย์บอร์ด) การที่โพสต์ใดๆมีผู้มาเขียนคอมเมนท์จำนวนมากจะแสดงถึงความสนใจที่มีต่อคอนเทนท์นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นฟีดแบคทางบวกหรือลบก็ตาม (บางครั้งความเห็นเชิงลบอาจแสดงถึงความสนใจมากกว่าด้วยซ้ำ) 



    ข้อสาม..ใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อวิเคราะห์ ผู้ที่เป็นเจ้าของแฟนเพจสามารถวิเคราะห์ผลตอบรับจากการชมคอนเทนท์ได้โดยใช้ข้อมูลเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ที่คลิกเข้าไปดูวีดีโอ ระยะเวลาที่ใช้ดูจนจบกี่นาทีกี่วินาที มีอัตราการดูวีดีโอจนจบกี่เปอร์เซนต์ โดยตัวเลขที่สำคัญที่สุดคือจำนวนเปอร์เซนต์ของผู้ที่ดูวีดีโอจนจบจะนำไปสู่การวิเคราะห์ว่ามีคนให้ความสนใจกับคอนเทนท์ของเราเพียงใด หากไฮไลท์สำคัญของคอนเทนท์ที่เราต้องการจะนำเสนอไปอยู่ในช่วงท้ายของคลิปและอัตราการดูคลิปจนจบอยู่ในระดับที่ต่ำแสดงว่าแมสเสจที่เราต้องการจะสื่ออาจไปไม่ถึงกลุ่มเป้าหมาย ทั่วไปแล้วอัตราการชมคลิปจนจบที่ได้ประสิทธิภาพควรจะอยู่ที่ระดับ 70% 



    ข้อสี่..Search โดย Google ว่าแมสเสจที่เราได้สื่อออกไปหรือชื่อแบรนด์ของเรามีคนรู้จักมากขึ้นไหม แม้ว่าเราจะผลิตคอนเทนท์เพื่อออกทางโซเชียลมีเดียอย่างแฟนเพจ แต่ชื่อของสินค้าเราหรือแบรนด์ของเราอาจจะไปปรากฎอยู่บนสื่ออื่นๆบนโลกออนไลน์ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเวบไซท์ เวบบอร์ด ฯลฯ วิธีการเช็คที่ง่ายที่สุดคือลองค้นคำใน Google ว่าคอนเทนท์ที่เราได้เสนอไปมีผู้ให้ความสนใจและมีความเห็นอย่างไร 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024