Big Data กับการทำการตลาดออนไลน์

 


เรื่อง นเรศ เหล่าพรรณราย

    ทุกวันนี้โลกถูกขับเคลื่อนด้วย “ข้อมูล” หรือ Data ปริมาณมหาศาล ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ ทำให้เกิดคำว่า Big Data ขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ของการทำธุรกิจในยุคนี้และอนาคต ใครที่สามารถครอบครองข้อมูลและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้คือผู้ที่จะสร้างความได้เปรียบ


    กล่าวโดยสรุปคือ Big Data เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาคัดกรอง วิเคราะห์และประมวลผล เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดแผนธุรกิจ แผนการประชาสัมพันธ์การตลาด ตลอดจนแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ Big Data จึงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายในองค์กรธุรกิจ ตั้งแต่ซีอีโอ ฝ่ายปฎิบัติการ ฝ่ายการผลิต ฝ่ายการตลาด ตลอดจนถึงฝ่ายการเงิน ฝ่ายบุคคล ฯลฯ ทำให้ฝ่ายไอทีขององค์กรเหมือนจะเป็นเจ้าภาพหลักของการทำ Big Data ไปโดยปริยาย 


    ในด้านการตลาด  Big Data ได้กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการกำหนดกลยุทธ์การตลาด โดยเฉพาะการทำ Online Marketing เนื่องจากการเกบรวบรวมข้อมูลผ่านระบบดิจิทัลสามารถทำได้ง่ายและสะดวกว่าแบบอนาล๊อกดั้งเดิม เช่นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆในการเก็บและรวบรวมข้อมูล 


    ทั่วไปแล้ว Big Data  ช่วยกำหนดกลยุทธ์การตลาดได้ดังนี้


    หนึ่ง..ช่วยให้รู้ว่าลูกค้าของเราคือใคร แม้ตอนที่ทำแผนธุรกิจใหม่ๆเราจะกำหนดกลุ่มลูกค้าของเราไว้อยู่แล้ว แต่หลายครั้งที่พอเริ่มต้นธุรกิจ ลูกค้าของเราอาจไม่ใช่คนที่เราคิดไว้ตั้งแต่แรกก็เป็นได้ เช่น เดิม

คาดว่าจะเป็นกลุ่มอายุ 20-30 ปี แต่กลับกลายเป็นลูกค้าหลักของเรามีอายุน้อยกว่านั้น ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบจะช่วยให้เรารู้จักลูกค้ามากขึ้น


    สอง..ช่วยให้รู้ว่าลูกค้าคิดอย่างไรกับเรา เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือ CRM แต่การมี Big Data  ช่วยให้การทำงานรวดเร็วและมีความละเอียดขึ้น เช่นจากเดิมเราต้องนั่งสแกนความคิดเห็นของลูกค้าในโซเชียลมีเพียเอง แต่หากมีระบบคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ จะสามารถรายงานความคิดเห็นของลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เช่น เข้าไปตอบข้อสงสัยชองลูกค้าก่อนที่จะเกิดดราม่าในโลกออนไลน์จนถูกส่งต่อในวงกว้างซึ่งจะนำไปสู่ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เสียหาย


    สาม..นำไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจ แม้ลูกค้าจะไม่ได้เป็นฝ่ายคอมเมนท์เกี่ยวกับสินค้าและบริการของเรามาโดยตรง แต่การวางระบบ Big Data อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เราวิเคราะห์ตลาดและความต้องการของลูกค้าได้ก่อนที่ลูกค้าจะเป็นคนบอกเราเสียอีก โดยส่วนมากจะประมวลผลในรูปแบบของข้อมูลเชิงปริมาณ เช่น ตรวจพบว่าลูกค้ากลุ่มหนึ่งมีพฤติกรรมการเข้ามาใช้บริการในช่วงเวลาเดียวกันต่อเนื่องทุกวันหรือมีการใช้จ่ายในจำนวนเงินเดียวกันต่อเนื่อง ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือออกโปรโมชั่นได้ 


    ไม่เพียงแต่องค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาเรื่องของ Big Data แต่เอสเอ็มอีก็ควรที่จะให้ความสำคัญด้วยเช่นกัน ปัจจุบันได้มีโปรแกรมการจัดการข้อมูลสำหรับธุรกิจขนาดเล็กให้ได้ใช้เช่นกัน และการจัดการข้อมูลที่เป็นระบบตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้การบริหารทำได้ง่ายหากองค์กรมีการเติบโตในอนาคต

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2