เบื้องหลังการตลาดแบบ she - conomy





เรื่อง วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

    วันก่อนขับรถเข้าที่จอดรถของอาคารแห่งหนึ่งแถวทาวน์อินทาวน์ รปภ.ยื่นบัตรจอดรถพร้อมโบชัวร์อะไรบางอย่าง เมื่อเปิดอ่านดูจึงรู้ว่าเป็นโฆษณาสถานออกกำลังกายแห่งใหม่ที่กำลังจะเปิดให้บริการในเร็ว ๆ นี้ ที่สะดุดตาเป็นพิเศษคือเป็นยิมที่รับเฉพาะสมาชิกผู้หญิงเท่านั้น ยิมดังกล่าวเป็นแฟรนไชส์จากอเมริกา มีสาขากว่าหมื่นแห่งใน 85 ประเทศทั่วโลก อ่านจากโบรชัวร์เห็นว่าที่ญี่ปุ่นได้รับความนิยมมาก เฉพาะแดนอาทิตย์อุทัย ยิมแบรนด์นี้เปิดบริการกว่า 1,600 แห่ง มีสาว ๆ แห่เป็นสมาชิก 7 แสนกว่าคน


    โอ้ว! ไม่ธรรมดา มันทำให้ดิฉันเปลี่ยนความคิดไปเลย จากที่เคยมองว่าการเจาะลูกค้าผู้หญิงนั้นเป็น niche market ไปไหมเฉพาะกลุ่มเกินไปหรือเปล่าตลาดต้องแคบแน่ ๆ เลย  แต่เมื่อนึกย้อนดู ต้องมีอะไรบางอย่างที่ทำให้ธุรกิจและบริการเล็งเห็นความสำคัญของลูกค้ากลุ่มนี้ เช่น  ห้างสรรพสินค้าบางแห่งกันพื้นที่จอดรถทั้งชั้นให้เป็น Lady Parking อนุญาตให้เจ้าของรถสตรีเข้าจอดเท่านั้น ขณะที่ครั้งหนึ่ง องค์การขนส่งมวลชนบ้านเราก็เคยให้บริการรถเมล์ที่รับเฉพาะผู้โดยสารหญิงหรือบริการรถไฟที่มีตู้สำหรับผู้หญิง ยังไม่นับรวมเกสต์เฮ้าส์หลายแห่งที่รับแขกเข้าพักเป็นผู้หญิง และบริการนวด& สปาบางที่จำกัดการให้บริการเฉพาะลูกค้าสตรี เป็นต้น 


    การให้บริการเฉพาะผู้หญิงส่วนหนึ่งเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัยหรือความเป็นส่วนตัว แต่สำหรับนักการตลาด นี่คือกลยุทธ์ที่เรียกว่า She-conomy หรือการโฟกัสที่ความสำคัญของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นสตรี เป็นกลยุทธ์ที่มีมานานและไม่เคยล้าสมัย นักการตลาดคนหนึ่งในฝั่งตะวันตก (ขออภัยจำที่มาไม่ได้) แจกแจงว่า 3 ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้ไม่ควรถูกมองข้ามคือ


    She is large เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ 

    สถิติเมื่อหลายปีก่อนระบุจากจำนวนประชากรโลกทั้งหมด ตัวเลข 3,400+ล้านคนเป็นเพศหญิง และมีแนวโน้มปริมาณผู้หญิงจะแซงหน้าผู้ชายในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่สำคัญ จำนวนผู้หญิงเหล่านี้เป็นแรงงานหลักในสังคม เป็นผู้หญิงทำงาน ส่วนน้อยเท่านั้นที่ไม่ได้มีรายได้เป็นของตัวเอง


    She is powerful 

    ผู้หญิงเป็นกลุ่มที่ทรงอิทธิพลต่อการซื้อสินค้า แม้สินค้านั้นจะเป็นของผู้ชาย แต่ผู้หญิงก็มักจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ว่ากันว่า 85% ของการซื้อสินค้าตั้งแต่ไม้จิ้มฟันไปถึงเรือรบ ผู้หญิงล้วนแต่เข้าไปเกี่ยวข้องทั้งสิ้น 


    She hasspending power 

    ผู้หญิงโดยเฉพาะที่ยังโสด การศึกษาดีเป็น working women และรายได้ดีจะมีกำลังซื้อสูง ลูกค้ากลุ่มนี้ยอมจับจ่ายไม่อั้นเพื่อความสุขของตัวเองและครอบครัว ในบางประเทศ อย่างสหรัฐฯ มีการคาดการณ์ปี 2028 หรืออีก 12 ปีข้างหน้า ผู้หญิงจะมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าผู้ชาย  


    นอกจาก 3 ปัจจัยหลักที่กล่าวมา เราทราบกันดีว่าผู้หญิง (ส่วนใหญ่) กับการช้อปปิ้งเป็นของคู่กัน มีการเก็บข้อมูลและพบว่าผู้หญิงใช้เวลาเตร็ดเตร่ในห้างสรรพสินค้านานกว่าผู้ชาย  เบื้องหลังการช้อปจะเพื่อคลายเครียดหรืออะไรก็แล้วแต่ ที่แน่ ๆ ล้วนดีต่อธุรกิจ มาถึงยุคของ “การค้าบนฝ่ามือ” ไม่ต้องเยื้องกายออกจากบ้าน ยังจิ้มนิ้วช้อปกระจายผ่านอินเตอร์เน็ต และแน่นอน ผู้หญิงอีกเช่นกันที่ใช้อินเตอร์เน็ตโดยเฉลี่ยยาวนานกว่าผู้ชาย ในเมื่อช่องทางการเข้าถึงสินค้านั้นเปิดกว้าง ลูกค้าสตรีจึงเป็นผู้บริโภคที่สำคัญและมีศักยภาพเป็นลำดับต้น ๆ แล้วอย่างนี้ นักการตลาดจะเมิน she-conomy ได้อย่างไร
    
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก