รับมืออย่างไรกับลูกค้าที่มาพร้อมสัตว์เลี้ยง


 

 
เรื่อง วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์
 
เพิ่งมีดราม่ากันไปไม่นานกับกรณีลูกค้ารายหนึ่งนำสุนัขชิวาว่าเข้าไปเพ่นพ่านในร้านสะดวกซื้อ แถมยังจับเจ้าหมากระเป๋าไปถ่ายรูปตามมุมต่าง ๆ เช่น ชั้นวางขวดนม ในตู้แข่น้ำดื่ม และเกาะที่ถังผลิตน้ำแข็งเกล็ด เท่านั้นยังไม่พอ ยังพาเข้าร้านไอศกรีม ให้สุนัขเลียไอศกรีมจากช้อนที่ทางร้านเสิร์ฟให้ลูกค้าอีกด้วย ก็สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปทางลบในโลกโซเชี่ยลมีเดีย ล่าสุดก็ปรากฎภาพเจ้าของนำสุนัขโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ตัวใหญ่เข้าไปซื้อของในร้านสะดวกซื้อ แล้วสุนัขไปเลียสินค้า เช่น กล่องนมที่วางชั้นล่าง ๆ ทำให้กลายเป็นข่าวอีกระลอก
 
 
เชื่อเถอะว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นอีกเรื่อย ๆ ตราบที่ยังมีลูกค้าทำตามอำเภอใจโดยไม่ฉุกคิดว่าบางสถานที่ก็ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงเข้าไป เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ปิดและติดเครื่องปรับอากาศ เหตุผลก็ดังที่ทราบคือต่อให้สัตว์เหล่านั้น ส่วนใหญ่คือสุนัขและแมวจะได้รับการดูแลความสะอาดเป็นอย่างดี แต่เราไม่รู้หรอกว่ามันเอาลิ้นไปเลียสิ่งสกปรกอะไรมาบ้าง และถ้าปล่อยให้เลียสิ่งของต่าง ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ ยังไม่นับรวมขนที่หลุดลอยฟุ้งกระจายในอากาศ อาจไปตกในอาหาร และแย่ยิ่งกว่าคือคนที่แพ้ขนสูดเข้าไป คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เว้นเสียแต่ว่าสถานที่ต่าง ๆ เหล่านั้นจะยินดีต้อนรับสัตว์เลี้ยง อาทิ คาเฟ่สัตว์เลี้ยง หรือห้างบางแห่งที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปได้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
 
 
สำหรับผู้ประกอบการ จะมีวิธีรับมือกับลูกค้าที่นำสัตว์เลี้ยงมาด้วยอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากขึ้น ข้อแรก คือ การอบรมพนักงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ต้องทำความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับกฎของร้าน/สถานที่ และวิธีการปฏิบัติเมื่อเจอลูกค้านำสัตว์เลี้ยงเข้ามา ความสุภาพต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ชี้แจงด้วยเหตุผล อย่าสาดอารมณ์ใส่กัน ปฏิบัติต่อลูกค้าที่มาพร้อมสัตว์เลี้ยงอย่างเท่าเทียมเพื่อเป็นการรักษาบรรทัดฐาน ไม่ใช่เลือกปฏิบัติโดยดูจากฐานะหรือการแต่งกาย หากลูกค้ายังดึงดันที่จะละเมิดกฎ ทางร้านอาจต้องยอมสูญเสียลูกค้าที่เชื่อว่าเป็นกลุ่มน้อยกลุ่มนี้เพื่อรักษาลูกค้ากลุ่มใหญ่เอาไว้
 
 
ข้อสอง ติดป้ายให้ชัดเจนที่หน้าร้าน หรือประกาศเกี่ยวกับนโยบายทางร้านเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจ และถือเป็นข้อตกลงที่แจ้งให้ลูกค้าทราบเพื่อปฏิบัติตาม นอกจากหน้าร้าน ป้ายหรือประกาศนี้ควรถูกแปะไว้ที่เว็บไซต์หรือเว็บเพจของร้านด้วยเพื่อทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรใช้หรือไม่ใช้บริการดี พึงใช้ถ้อยคำที่สุภาพและหลีกเลี่ยงการสร้างความไม่พอใจแก่ลูกค้า การออกกฎที่ชัดเจนเช่นนี้จะช่วยลดปัญหาลงได้
 
 
ข้อสาม หากทางร้านยังแคร์กลุ่มลูกค้าที่มีสัตว์เลี้ยง และต้องการบริการกลุ่มนี้อยู่ ทางออกคือการแบ่งโซน คล้าย ๆ โซนปลอดบุหรี่กับโซนสูบบุหรี่ แต่นี่เป็นโซนปลอดสัตว์เลี้ยงกับโซนอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาได้ ยกตัวอย่าง หน้าร้านที่เป็นโอเพ่นแอร์ ยกให้เป็นโซนต้อนรับสัตว์เลี้ยง ส่วนในร้านที่ติดเครื่องปรับอากาศ ต้องไม่มีสัตว์เลี้ยงเพ่นพ่าน เป็นต้น หรืออาจจะทำห้องเฉพาะไว้รับรองเจ้าของที่พาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อไม่ปะปนกับลูกค้าอื่นเลยก็ได้ เผลอ ๆ อาจจะได้ลูกค้ากลุ่มรักสัตว์เพิ่มขึ้น
 
 
สืบเนื่องมาจากข้อสาม หากอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าร้าน สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมคือความสะอาด  โต๊ะ เก้าอี้ พื้นควรทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีระบบระบายอากาศที่ดี ที่สำคัญ พนักงานต้องเรียนรู้วิธีรับมือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น สัตว์เลี้ยงของลูกค้ากัดกัน สัตว์เลี้ยงหงุดหงิดสร้างความปั่นป่วนในร้าน หรือสุนัขของลูกค้าไปกัดลูกค้าอื่นวิธีการที่กล่าวมาทั้งหมดอาจแก้ปัญหาไม่ได้หมดร้อยเปอร์เซนต์ แต่อย่างน้อยก็ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดความวุ่นวายและความเสียหายทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 



เรื่อง วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

    เพิ่งมีดราม่ากันไปไม่นานกับกรณีลูกค้ารายหนึ่งนำสุนัขชิวาว่าเข้าไปเพ่นพ่านในร้านสะดวกซื้อ แถมยังจับเจ้าหมากระเป๋าไปถ่ายรูปตามมุมต่าง ๆ เช่น ชั้นวางขวดนม ในตู้แข่น้ำดื่ม และเกาะที่ถังผลิตน้ำแข็งเกล็ด เท่านั้นยังไม่พอ ยังพาเข้าร้านไอศกรีม ให้สุนัขเลียไอศกรีมจากช้อนที่ทางร้านเสิร์ฟให้ลูกค้าอีกด้วย ก็สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปทางลบในโลกโซเชี่ยลมีเดีย ล่าสุดก็ปรากฎภาพเจ้าของนำสุนัขโกลเด้นรีทรีฟเวอร์ตัวใหญ่เข้าไปซื้อของในร้านสะดวกซื้อ แล้วสุนัขไปเลียสินค้า เช่น กล่องนมที่วางชั้นล่าง ๆ ทำให้กลายเป็นข่าวอีกระลอก


    เชื่อเถอะว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นอีกเรื่อย ๆ ตราบที่ยังมีลูกค้าทำตามอำเภอใจโดยไม่ฉุกคิดว่าบางสถานที่ก็ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงเข้าไป เช่น ร้านค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ปิดและติดเครื่องปรับอากาศ เหตุผลก็ดังที่ทราบคือต่อให้สัตว์เหล่านั้น ส่วนใหญ่คือสุนัขและแมวจะได้รับการดูแลความสะอาดเป็นอย่างดี แต่เราไม่รู้หรอกว่ามันเอาลิ้นไปเลียสิ่งสกปรกอะไรมาบ้าง และถ้าปล่อยให้เลียสิ่งของต่าง ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ ยังไม่นับรวมขนที่หลุดลอยฟุ้งกระจายในอากาศ อาจไปตกในอาหาร และแย่ยิ่งกว่าคือคนที่แพ้ขนสูดเข้าไป คงไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก เว้นเสียแต่ว่าสถานที่ต่าง ๆ เหล่านั้นจะยินดีต้อนรับสัตว์เลี้ยง อาทิ คาเฟ่สัตว์เลี้ยง หรือห้างบางแห่งที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าไปได้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง


    สำหรับผู้ประกอบการ จะมีวิธีรับมือกับลูกค้าที่นำสัตว์เลี้ยงมาด้วยอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากขึ้น ข้อแรก คือ การอบรมพนักงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ต้องทำความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับกฎของร้าน/สถานที่ และวิธีการปฏิบัติเมื่อเจอลูกค้านำสัตว์เลี้ยงเข้ามา ความสุภาพต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ชี้แจงด้วยเหตุผล อย่าสาดอารมณ์ใส่กัน ปฏิบัติต่อลูกค้าที่มาพร้อมสัตว์เลี้ยงอย่างเท่าเทียมเพื่อเป็นการรักษาบรรทัดฐาน ไม่ใช่เลือกปฏิบัติโดยดูจากฐานะหรือการแต่งกาย หากลูกค้ายังดึงดันที่จะละเมิดกฎ ทางร้านอาจต้องยอมสูญเสียลูกค้าที่เชื่อว่าเป็นกลุ่มน้อยกลุ่มนี้เพื่อรักษาลูกค้ากลุ่มใหญ่เอาไว้


     ข้อสอง ติดป้ายให้ชัดเจนที่หน้าร้าน หรือประกาศเกี่ยวกับนโยบายทางร้านเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจ และถือเป็นข้อตกลงที่แจ้งให้ลูกค้าทราบเพื่อปฏิบัติตาม นอกจากหน้าร้าน ป้ายหรือประกาศนี้ควรถูกแปะไว้ที่เว็บไซต์หรือเว็บเพจของร้านด้วยเพื่อทำให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรใช้หรือไม่ใช้บริการดี พึงใช้ถ้อยคำที่สุภาพและหลีกเลี่ยงการสร้างความไม่พอใจแก่ลูกค้า การออกกฎที่ชัดเจนเช่นนี้จะช่วยลดปัญหาลงได้


    ข้อสาม หากทางร้านยังแคร์กลุ่มลูกค้าที่มีสัตว์เลี้ยง และต้องการบริการกลุ่มนี้อยู่ ทางออกคือการแบ่งโซน คล้าย ๆ โซนปลอดบุหรี่กับโซนสูบบุหรี่ แต่นี่เป็นโซนปลอดสัตว์เลี้ยงกับโซนอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาได้ ยกตัวอย่าง หน้าร้านที่เป็นโอเพ่นแอร์ ยกให้เป็นโซนต้อนรับสัตว์เลี้ยง ส่วนในร้านที่ติดเครื่องปรับอากาศ ต้องไม่มีสัตว์เลี้ยงเพ่นพ่าน เป็นต้น หรืออาจจะทำห้องเฉพาะไว้รับรองเจ้าของที่พาสัตว์เลี้ยงมาเพื่อไม่ปะปนกับลูกค้าอื่นเลยก็ได้ เผลอ ๆ อาจจะได้ลูกค้ากลุ่มรักสัตว์เพิ่มขึ้น


    สืบเนื่องมาจากข้อสาม หากอนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าร้าน สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมคือความสะอาด  โต๊ะ เก้าอี้ พื้นควรทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีระบบระบายอากาศที่ดี ที่สำคัญ พนักงานต้องเรียนรู้วิธีรับมือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น สัตว์เลี้ยงของลูกค้ากัดกัน สัตว์เลี้ยงหงุดหงิดสร้างความปั่นป่วนในร้าน หรือสุนัขของลูกค้าไปกัดลูกค้าอื่นวิธีการที่กล่าวมาทั้งหมดอาจแก้ปัญหาไม่ได้หมดร้อยเปอร์เซนต์ แต่อย่างน้อยก็ถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อลดความวุ่นวายและความเสียหายทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024