Why we shop? รู้ก่อนทำเงินก่อน



 
TEXT : กองบรรณาธิการ

     

    ทำธุรกิจออนไลน์ ไม่ใช่แค่การทำเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อเป็นแคตตาล็อกออนไลน์ และหวังว่าจะมีลูกค้าเข้ามาพบสินค้าของตนในอินเทอร์เน็ต แต่มีอะไรมากกว่านั้นอีกเยอะ และผู้ประกอบการหลายคนอาจยังไม่ทราบ...


     ข้อมูลส่วนหนึ่งจากงานสัมมนาพลิกธุรกิจก้าวกระโดดด้วยออนไลน์ โดยสุธีรพันธุ์ สักรวัตร ที่ปรึกษาด้านการตลาดดิจิทัล บอกไว้ว่า คนที่เข้ามาซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์ ไม่ได้ซื้อเพราะจำเป็น แต่ซื้อเพราะอารมณ์ นักการตลาดส่วนใหญ่มักจะใช้หลักในตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคด้วยคำว่า  Why we shop? ซึ่งจากคำว่า Why  we shop นี้เอง จึงมีการจำแนกช่วงเวลาที่ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าออนไลน์ออกเป็น 7 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
 

1. ซื้อเมื่อเบื่อ มีจำนวน 11 เปอร์เซ็นต์
2. ซื้อเมื่อมีความสุข จำนวน 13 เปอร์เซ็นต์
3. ซื้อในช่วงเวลาที่อยู่กับตัวเองแล้วไม่รู้จะทำอะไร แต่อยากหาอะไรมาสนองความต้องการ จำนวน 18 เปอร์เซ็นต์
4. ซื้อเพราะอยากเป็นผู้นำเทรนด์ เป็นกูรู เป็นคนแรก 24 เปอร์เซ็นต์
5. ซื้อโดยไม่รู้ตัว 4 เปอร์เซ็นต์
6. ซื้อเพราะต้องการสินค้าราคาพิเศษ สินค้ามีโปรโมชั่น 11 เปอร์เซ็นต์
7. ซื้อเพื่อแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญ 19 เปอร์เซ็นต์
  
             
     เมื่อนำช่วงเวลาในการตัดสินใจทั้งหมดมารวมกันจะพบว่า 66 เปอร์เซ็นต์ ตัดสินใจซื้อเพราะอารมณ์ นั่นคือสิ่งที่ผู้บริโภคยุคนี้เป็น ซึ่งผู้ประกอบการควรรู้ไว้


    อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้เช่นกัน นั่นคือ  ช่องทางการซื้อปัจจุบัน คนนิยมซื้อของจากบนมือถือมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องรู้จักการทำให้ตัวเองเป็นที่น่าสนใจอยู่บนมือถือ หนึ่งในวิธีที่ใช้ได้ผลที่สุดคือ การทำการตลาดคอนเท็นต์ (Content Marketing) ซึ่งคอนเท็นต์ที่ได้ผลที่สุดจากพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือของผู้บริโภคในเวลานี้คือ “วีดีโอ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำวีดีโอแบบสั้นๆ


    แต่ก่อนที่จะทำคอนเท็นต์ต่างๆ บนโลกออนไลน์ ผู้ประกอบการควรตระหนักว่า "คุณมีตัวตนบนโลกออนไลน์หรือยัง" หลักการง่ายๆ ผู้ประกอบการต้องสร้างตัวตนให้เกิดการรับรู้เป็นที่รู้จัก ต่อด้วยการดึงดูดให้ลูกค้าเกิดความสนใจว่านี่คือทางเลือกของเขา เป็นสิ่งที่ตอบโจทย์เขาได้ จากนั้นค่อยไปที่ช่องทางว่าลูกค้าจะติดต่อเราได้อย่างไร และปิดท้ายด้วยการกระตุ้นให้ลูกค้ากลายเป็นแฟนพันธุ์แท้ของแบรนด์สินค้าเรา เพื่อบอกต่อไปยังลูกค้าคนต่อไป
               

    สุธีรพันธุ์ บอกด้วยว่ามี 3 หลักการง่ายๆ ในทำให้ผู้บริโภคที่ไม่เคยรู้จักเรามาก่อน กลายมาเป็นลูกค้าเข้ามาในร้าน และกลายเป็นผู้ซื้อในที่สุด
               

     1.สุขภาวะ ตามสัญชาติญาณมนุษย์ ทุกคนต้องการความปลอดภัยและการอยู่รอด เราต้องกระตุ้นให้คนรู้สึกว่า หากเขาเลือกทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เขาจะได้รับผลที่ดีกลับมา เช่น รณรงค์ออกกำลังกาย โดยบอกว่าทำแล้วจะมีรูปร่างดี
              

     2. ทำให้ติดเป็นนิสัย เช่น กระตุ้นให้คนทำอะไรบางอย่าง โดยบอกว่า ทำแล้วเขาจะได้สิทธิประโยชน์ใดๆ บ้างเป็นการตอบแทน เช่น เครื่องดื่มที่คนกินแล้วมีโอกาสได้ลุ้นโชครางวัลเป็นทองคำ หรือ รถยนต์
               
    3. การนำเป้าหมายมาล่อใจ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก