13 พ.ย. นี้กฎหมายใหม่คุมเข้มชิ้ปปิ้ง-สินค้าผ่านแดน

 

          นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากรเปิดเผยว่า ร่างพ.ร.บ.กรมศุลกากรฉบับใหม่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งจะทำให้การเก็บภาษีของกรมศุลกากรมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยกรมศุลกากรอยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลูกระเบียบต่างๆ เป็นอิเล็กทรอนิกส์รองรับนโยบายรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0


          กฎหมายใหม่ทำให้กรมศุลกากรต้องปรับกระบวนการทำงานและควบคุมกำกับดูแล เช่น ตัวแทนผู้นำเข้าส่งออกหรือชิปปิ้งจากเดิมที่ไม่อยู่ในกฎหมายของกรมศุลกากร แต่กฎหมายฉบับใหม่ได้ดึงชิปปิ้งมาอยู่ในการกำกับดูแล โดยกรมศุลกากรมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตกับชิปปิ้งที่ดำเนินการไม่ถูกต้องหรือจงใจสำแดงเท็จเพื่อเลี่ยงภาษี โดยสมาคมชิปปิ้งจะประสานให้ชิปปิ้งต้องมาขึ้นทะเบียนกับกรมศุลกากร

          ไม่เพียงเท่านี้ กฎหมายใหม่ยังระบุเรื่องสินค้าผ่านแดนที่แต่เดิมไม่มีกำหนดต้องขนสินค้าออก แต่กฎหมายใหม่ได้กำหนดชัดเจนว่าต้องนำออกจากประเทศภายใน 1 เดือน ถ้าเกินเวลาไม่นำออกต้องขายและเสียภาษีในประเทศหากไม่ดำเนินการกรมศุลกากรก็จะยึดสินค้าเพื่อขายทอดตลาดทันที

         ส่วนเรื่องรางวัลสินบนนำจับก็ได้มีการปรับลดลงมากตามข้อเรียกร้องของเอกชน จากเดิมที่กำหนดไว้ 55% ของราคาสินค้าที่จับกุม และไม่จำกัดเพดาน เป็นเหลือ 20% ของราคาของกลางที่ขายได้ และกำหนดเพดานไม่เกิน 5 ล้านบาท โดยห้ามแยกใบขนเพื่อดำเนินคดีเพื่อที่หวังจะได้รางวัลสินบนนำจับเพิ่มมากขึ้น


          นอกจากนี้ยังมีการแก้ไขการตรวจสอบเอกสารผู้นำเข้าส่งออก จากเดิมไม่กำหนดเวลาการตรวจสอบ เป็นต้องตรวจสอบภายใน 3 ปี และอธิบดีกรมศุลกากรขยายเวลาได้อีก 2 ปี หากมีความจำเป็น เพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น


          สำหรับกฎหมายกรมศุลกากรเน้นเรื่องการอำนวยความสะดวกการค้าของประเทศให้มีมากขึ้น ในเรื่องของการพิจารณาอุทธรณ์ภาษีจากเดิมที่ใช้เวลานาน บางกรณีกินเวลากว่า 10 ปี สร้างต้นทุนการดำเนินงานให้กับผู้ประกอบการในกฎหมายใหม่จึงให้มีการตั้งคณะกรรมการอุทธรณ์ได้หลายคณะ และต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 180 วัน หากไม่เสร็จผู้ประกอบการสามารถนำเรื่องไปต่อสู้ในชั้นศาลได้เลย และโทษการปรับในชั้นศาล จากเดิมหากผู้ประกอบการแพ้ต้องถูกปรับ 4 เท่าของราคาสินค้ารวมกับภาษี เป็น 0-4 เท่า ตามดุลพินิจของศาล ทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการในการต่อสู้คดีมากขึ้น

      
 www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2