เคล็ดไม่ลับ

 

 

 
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการด้านไอซีทีขนาดกลางและเล็ก (SMEs) มากกว่า 45,000 ราย แบ่งเป็นขนาดกลางกว่า 6,000 ราย ขนาดเล็ก 39,000 ราย แต่ส่วนใหญ่มีปัญหาเหมือนกันคือการหาแหล่งเงินทุนเพื่อขยายกิจการ เนื่องจากเป็นธุรกิจ ที่มี "ปัญญาเป็นสินทรัพย์" ที่ไม่สามารถจับต้องหรือตีราคาค่างวดได้ยากเย็น
 
อย่างไรก็ตาม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เตรียมจัดตั้งกองทุนสำหรับสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้ SMEs ด้านไอซีทีแล้ว แต่กว่าจะเสร็จเรียบร้อยคงต้องใช้เวลาอีกเป็นปีจึงจะเป็นรูปเป็นร่างระหว่างนี้เอสเอ็มอี "ไอซีที" จะหาแหล่งเงินทุนจากไหนได้บ้าง ? 
 
"อัจฉริยา อักษรอินทร์" ที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการไอซีทีขนาดกลางและย่อย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า การจัดตั้งกองทุนสนับสนุน SMEs ด้านไอซีทีไทยคาดว่าจะใช้เงินตั้งกองทุนไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท มีเป้าหมายเพื่อช่วยแก้ปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการได้ แต่การร่วมทุน (Venture Capital : VC) 
และ Private Equity หรือ PE ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้เช่นกัน
 
อย่างไรก็ตาม จากการจัดอันดับความน่าสนใจในการลงทุนรูปแบบ VC/PE ของนักลงทุนต่างชาติ พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 34 จากทั้งหมด 80 ประเทศ ลดลงจาก 6 ปีก่อนถึง 6 อันดับ 
 
แม้ไทยจะยังดีกว่าอินโดนีเซียที่อยู่ลำดับที่ 48 แต่น่าสนใจน้อยกว่าประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียที่อยู่ในอันดับที่ 4 และที่ 18 ตามลำดับ เนื่องจากประเทศไทยขาดการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมต่าง ๆ โดยมีสัดส่วนการใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาเพียง 0.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทั้งที่อุตสาหกรรมไอซีทีมีผลต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และทำให้ประเทศสามารถแข่งขันในระดับสากลได้
 
ด้าน "จริมจิต เกิดบ้านชัน" ผู้ช่วยคณบดีคณะบริหารธุรกิจ และหัวหน้าสาขาการจัดการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กล่าวว่า แนวทางจัดทำแผนธุรกิจเพื่อการระดมทุนมวลชน (Crowd Funding) จากทั่วโลกโดยอาศัยช่องทางเครือข่ายออนไลน์เป็นอีกช่องทางใหม่ที่ในต่างประเทศใช้กันมากและเหมาะกับธุรกิจไอซีที โดยในสหรัฐอเมริกาใช้การระดมทุนนี้กว่า 400 กรณี เพียงแต่ต้องระวังไม่ให้อาชญากรแฝงตัวเข้ามาในช่องทางนี้ด้วย
 
ฟากเจ้าของเงินทุน "ธวัชชัย ยงกิตติกุล"เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย ระบุว่า สถาบันการเงินมีการปล่อยสินเชื่อให้ SMEs อยู่แล้ว แต่จะได้รับอนุมัติหรือไม่ สำคัญที่ตัวผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการต้องรู้ว่าตนเองทำอะไร สินค้านี้มีตลาดรองรับหรือไม่ มีแผนธุรกิจชัดเจน จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักรู้วิธีการผลิตแต่ไม่รู้วิธีขายหรือรายละเอียดอื่น ๆ ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น คนผลิตแก้วกาแฟแต่กลับไม่เคยดื่มกาแฟ จึงไม่รู้ว่าแก้วที่ผลิตมาดื่มยาก เพราะถือจับลำบาก เป็นต้น
 
ขณะที่การแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเงินทุนในต่างประเทศทำได้ เนื่องจากมีกฎหมายสนับสนุน แต่ประเทศไทยการผลักดันร่างกฎหมายยังไม่สำเร็จ ทำให้ผู้ประกอบการที่มีแต่ทรัพย์สินทางปัญญาจึงยังมีอุปสรรคบ้างในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการไอซีทีบ้าง 
 
"ปฐม อินทโรดม" กรรมการผู้จัดการบมจ.เออาร์ไอพี (ARIP) กล่าวว่า เริ่มทำธุรกิจสิ่งพิมพ์โดยใช้เงินทุนจากญาติพี่น้องและสินเชื่อจากธนาคาร ต่อมามองว่าสิ่งพิมพ์ลดบทบาทลงจึงเปลี่ยนธุรกิจเป็นด้านออนไลน์แทน แต่การหาเงินทุนในประเทศไทยมาสนับสนุนเป็นเรื่องยากจึงต้องหาผู้ลงทุนจากต่างชาติแทน 
 
แต่จากประสบการณ์พบว่าไม่ยากเกินไป ขอเพียงแค่มีแผนธุรกิจชัดเจน และสามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน โดยเงินทุนที่ได้ทำให้การขยับขยายธุรกิจทำได้ดีขึ้น จนมาเริ่มจัดงานอีเวนต์ 
 
"คอมมาร์ต" ซึ่งในอดีตเป็นงานที่สามารถสร้างเงินได้ทุกตารางนิ้ว ไม่เว้นแม้แต่ห้องน้ำ แต่เวลาผ่านไปธุรกิจเริ่มคงตัว รายได้ไม่ดีเหมือนเดิมในฐานะผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ทันสถานการณ์อยู่เสมอ เช่น ปัจจุบันเริ่มขยายไปธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ โดยเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์สำหรับใช้บนแท็บเลตเด็กประถมสิ่งสำคัญคือธุรกิจไอซีทีไม่มีสูตรตายตัว ผู้ประกอบการมีหน้าที่ทำให้แหล่งทุน
 
จับต้องไอเดียธุรกิจให้ได้ กว่า 98% ของธุรกิจนี้สินค้าเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ อย่างเว็บไซต์วงใน "Wongnai" ใครจะคิดว่าจะหารายได้จากการทำรีวิวอาหารได้ และการพัฒนาก็ต้องตามใจแหล่งทุนบ้าง อย่าง "Ookbee : อุ๊คบี" ที่ทำ E-book ก็ทำสินค้าที่เอื้อต่อแหล่งทุนอย่างเอไอเอสให้มีรายได้จากโมบายอินเทอร์เน็ต รวมถึงคิดเผื่อเทรนด์ในอนาคตด้วย
 
"ธนชาติ นุ่นนนท์" นักวิชาการด้านไอซีทีกล่าวว่า อันที่จริงแล้วเงินทุนเป็นเรื่องรอง แต่ผู้ประกอบการไอซีทีควรมองว่าจะทำผลิตภัณฑ์อย่างไรให้ดีและตอบรับตลาดต่างประเทศด้วย หากทำได้ดีจะดึงดูดแหล่งเงินทุนได้ด้วย 
 
"การทำธุรกิจต้องมีล้มเหลวเพื่อเป็นประสบการณ์ อย่างเกมแองกรี้เบิร์ดกว่าจะประสบความสำเร็จล้มเหลวมากว่า 51 ครั้ง แต่ผู้ประกอบการไทยโดนฝังหัวว่าถ้าทำธุรกิจล้มไม่ควรทำอีก ซึ่งน่าเสียดายเพราะนักพัฒนารุ่นใหม่ ๆ มีแนวคิดแปลก แตกต่างจากเมื่อก่อนมาก"
 
ขอบคุณที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
 

RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน