​เปลี่ยนออฟฟิศซอมบี้ ให้กลายเป็นองค์กร Creative สุดว้าว!





 

     หลายต่อหลายครั้งที่ได้ยินได้ฟังมา คนมักจะพูดถึงคำว่า Creative หรือ ความคิดสร้างสรรค์ ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจของเรานั้นสามารถแตกต่างจากคู่แข่งได้ หากดูเผินๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องยากอะไรที่จะทำให้เกิดขึ้นในองค์กร แต่หากมองลึกลงไปจริงๆ จะรู้เลยไมว่าไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน เคยสังเกตไหมว่า มีองค์กร SME จำนวนไม่น้อยที่พยายามจะให้พนักงานคิดสิ่งใหม่ๆ ใส่ความสร้างสรรค์ในการทำงาน แต่กลับกลายเป็นว่าไปไม่ถึงไหนสักที เพราะอะไร? นั่นคือสิ่งที่ผู้ประกอบการ เจ้าของธุรกิจ ต้องหาคำตอบ!
 

     ความล้มเหลวในการปลุกความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานให้ตื่นตัวตลอดเวลานั้น มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น ด้วยบทบาทหน้าที่ของพนักงานบางคน บางฝ่าย มองว่าไม่จำเป็นต้องคิดอะไรใหม่ๆ แค่เดินตามแนวทางเดิมๆ ก็ไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น เมื่อไม่ผิดพลาดก็เท่ากับความสำเร็จของงาน นั่นคือความปลอดภัยที่สุดในการทำงาน หรือบางกรณีที่เรามักจะได้ยินเสมอๆ  คือ แค่งานประจำที่ทำอยู่ก็มากมาย จนแทบไม่มีเวลาคิดอะไรใหม่ๆ แล้ว หรือท้ายที่สุดขึ้นอยู่กับตัวพนักงานเองที่ไม่เคยคิดขวนขวายที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ทั้งนี้ทั้งนั้น จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ นั่นคือ อุปสรรคต่อการจุดไฟสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในองค์กรทั้งสิ้น
 

     สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องคิดวางแผนในการแก้ไขปัญหา เพราะถือเป็นวาระเร่งด่วนในยุค 4.0 ที่ทุกคนต้องแข่งกันด้วยนวัตกรรม แต่เมื่อไม่สามารถเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ได้ นวัตกรรมย่อมไม่มีทางที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นในฐานะเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้นำองค์กร คุณคือคนสำคัญอย่างยิ่งในการทำหน้าที่ขับเคลื่อนและสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยให้กลับมาดูที่ความพร้อม ดูนโยบายขององค์กร ว่าพร้อมแค่ไหนที่จะกระตุ้นต่อมความ Creative ของพนักงาน
 

     อย่างแรกถ้าคิดจะเปลี่ยนออฟฟิศที่ทุกคนเคยชินกับการทำงานแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นองค์กรแห่งความคิดสร้างสรรค์ ผู้ประกอบการต้องเข้าใจคำนี้ก่อน “Ecosystem” ซึ่งหมายรวมถึงสภาพแวดล้อมของการทำงานทั้งหมด นับตั้งแต่สถานที่การทำงาน วิธีการทำงาน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการต้องดูว่า คุณได้สร้าง Ecosystem ที่ดีพอที่จะกระตุ้นให้เกิด Creative แล้วหรือยัง ยกตัวอย่าง เรื่องของคนทำงาน ถ้าจะให้เกิดความคิดแปลกใหม่ คุณต้องมีคนที่หลากหลายอยู่ด้วยกัน เพราะความแตกต่างของคนจะก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้ง่าย
 




     นอกเหนือจากเรื่องของคนแล้ว ก็มาถึงสถานที่ทำงาน หลายคนคิดว่าออฟฟิศ มีโต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงานที่จำเป็น ก็น่าจะเพียงพอต่อการทำงานแล้ว นั่นอาจจะใช่ในยุคหนึ่ง แต่วันนี้ถ้าคิดจะเปลี่ยนจากออฟฟิศซอมบี้ ให้กลายเป็นองค์กรสุดว้าว คุณอาจต้องมีสนามเด็กเล่นอยู่ในออฟฟิศ หรือมีพื้นที่สีเขียวให้พักผ่อน หรืออะไรก็ตามที่ไม่คาดคิดว่าออฟฟิศจะมี ก็อาจต้องมี! เพราะมีการวิจัยออกมาแล้วว่า การที่พนักงานต้องทำงานกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในพื้นที่เดิมๆ ทำให้เกิดอาการเบื่อหน่าย โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ชอบความอิสระ ดังนั้น ห้องสี่เหลี่ยม มีที่กั้น โต๊ะติดกันเป็นแถว ไม่มีที่ให้ Relax อาจไม่สามารถกระตุกต่อมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้
 

     สิ่งที่สำคัญสุดท้ายคือ นโยบายขององค์กร ผู้ประกอบการต้องวางนโยบายในเรื่องนี้ให้ชัดเจน อาจจะทำเป็นโครงการขึ้นมา มีการประกวดแข่งขันชิงรางวัลต่างๆ หรือแม้แต่กำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลงานประจำปี เช่น ในทุกๆ ปี พนักงานจะต้องมีการคิดโปรเจกต์สร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา อาจจะเป็นการคิดแก้ไข ปรับปรุงวิธีการทำงานของตัวเอง หรือคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่จะสามารถต่อยอดโอกาสให้กับธุรกิจได้ หากโปรเจกต์ไหนเข้าตากรรมการ ก็ให้มีรางวัลตอบแทน และเป็นส่วนหนึ่งในผลงานที่จะถูกประเมินปลายปีด้วย เชื่อว่าจะช่วยให้กระตุ้นให้พนักงานเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้ โดยตัวอย่างองค์กรที่ทำเรื่องนี้แล้วประสบความสำเร็จ นั่นคือ แบรนด์โชนัน ที่วันนี้สามารถมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ออกมาจากพนักงานของเขามากมายและสร้างประสิทธิภาพให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี
        

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี       

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2