ชุดชั้นในจากเครื่องหรือจากไปรษณีย์

 

 

 

ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นสินค้าหลายๆ อย่างขายผ่านเครื่องขายสินค้าอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นขนมปัง อาหารทะเล หรือหนังสือ และเราก็เคยเห็นธุรกิจชุดชั้นในแบบสมัครเป็นสมาชิกผ่านเว็บไซต์ ล่าสุด MeUndies รวมวิธีการขายสองอย่างเข้าด้วยกัน ขายชุดชั้นในชายและหญิงผ่านเว็บไซต์และผ่านเครื่องขายอัตโนมัติ เริ่มต้นด้วยการให้ลูกค้าตอบแบบสอบถามผ่านอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับสไตล์ ขนาดและสีของชุดชั้นในที่ชอบ จากนั้น MeUndies ก็จะไปหาสินค้าจากสต๊อกที่มีสำหรับหญิงและชายให้เหมาะกับลูกค้านั้นๆ  

 

 

สมาชิกของร้านสามารถเข้าไปดู “ลิ้นชักเสมือน” ที่จะมีสินค้าแนะนำจากทางร้าน จากนั้นให้เลือกว่าต้องการจะบอกรับชิ้นใด โดยทางร้านจะส่งให้เดือนละชิ้นที่ราคา 16 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 500 บาท) ซึ่งราคานี้รวมค่าขนส่งเฉพาะในประเทศสหรัฐฯ  สมาชิกจะเลือกเว้นบางเดือนหรือหยุดบอกรับชั่วคราวก็ได้  นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มสินค้าได้ที่ราคา 16 ดอลลาร์ฯ ต่อชิ้นเช่นกัน 

 

 

หากไม่ต้องการบอกรับอยากได้เร็วๆ ทางร้านก็มีเครื่องขายชุดชั้นในไว้บริการเช่นกันที่ Confederacy Boutique ในเมือง Los Angeles  ขณะนี้ทางร้านมีแผนที่จะขยายเครื่องขายชุดชั้นในนี้ไปยังโรงแรม ฟิตเนส และสนามบินต่างๆ  ราคาสินค้าจะเป็นราคาตามหน้าเว็บไซต์   

 

 

MeUndies แห่งนี้ก่อตั้งโดย JONATHAN SHOKRIAN และ BARAK DISKIN ซึ่งกล่าวว่า “ชุดชั้นในแบรนด์ดังทั้งหลายขายด้วยราคาสูงกว่าต้นทุนถึงสิบเท่า พวกเขาจึงอยากเปิดบริษัทที่ขายสินค้าคุณภาพในราคาที่เหมาะสม”

 

  SME ยุคใหม่ต้องรู้จักตัดขั้นตอนการค้าผ่านนายหน้า จะได้ลดต้นทุน เพราะใครๆ ก็อยากซื้อของดีราคาถูกไม่ใช่หรือ 

   www.meundies.com

RECCOMMEND: MARKETING

โพสต์ให้ปังด้วยพลัง AI! 6 เทคนิคสร้างคอนเทนต์ที่ขายของได้จริง

ไม่ว่าคุณจะเป็นแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของแบรนด์ ทีมการตลาด หรือครีเอเตอร์มือใหม่ AI ก็สามารถช่วยคุณสร้างสรรค์คอนเทนต์ปังที่จะช่วยในการเจาะตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น

ไทยเที่ยวไทยปี 68 'เมืองรอง' คือขุมทรัพย์ใหม่ เมื่อคนไทยเที่ยวถี่ขึ้น เน้นไป-กลับ

เจาะลึก "เทรนด์ไทยเที่ยวไทย ปี 2568" ว่าทำไมตลาดไม่ถอยเสียทีเดียว แต่เปลี่ยนเกม และคุณต้องเปลี่ยนตามให้ไว ก่อนจะตามไม่ทัน

ส่งออกหลักล้านไม่ใช่เรื่องไกลตัว เปิดสูตรลับ 2 แบรนด์ไทยบุกอาเซียน ด้วย Shopee International Platform

ความท้าทายในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย เพราะช่องทางออนไลน์เป็นโอกาสที่เปิดกว้างขึ้น วันนี้จะพาไปรู้จัก Shopee International Platform (SIP) โปรแกรมที่เป็นมากกว่าช่องทางขายสินค้าออนไลน์ต่างประเทศ