เมื่อ Facebook เปลี่ยนไป…จ่ายตังค์แลกกดไลค์

 



เรื่อง : นเรศ เหล่าพรรณราย

    นักการตลาดต้องเริ่มทำใจแล้วว่าของฟรีบนโลกออนไลน์ไม่ได้หาง่ายอีกต่อไป ล่าสุดเจ้าพ่อโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือการตลาดสำหรับการโปรโมทสินค้าหรือแม้แต่ภาพลักษณ์บุคคลผ่านแฟนเพจ (Fan Page) กำลังวางแผนที่จะให้ผู้ใช้งานแฟนเพจต้องควักกระเป๋าซื้อ Ads เพื่อที่จะให้ผู้ใช้งาน Facebook มองเห็นเพจมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของวงการมาร์เกตติ้งออนไลน์ที่มีความเชื่อว่าสามารถทำการตลาดฟรีบนอินเทอร์เนตได้

    ไม่นานมานี้เกิดกระแสข่าวว่า Facebook ได้ปรับระบบอัลกอริธึ่มใหม่ส่งผลให้ยอด Organic Reach บนเพจต่างๆลดลงประมาณ 1-2%  (พูดง่ายๆคือเราจะมองเห็น Feed ของแฟนเพจที่เราเข้าไปกด Like เพื่อติดตามน้อยลง) ซึ่งลดลงจากเมื่อสองปีที่แล้วที่ผู้ใช้งาน Facebook จะสามารถมองเห็น Feed ที่เกิดขึ้นจากแฟนเพจต่างๆถึง 16%

    มีการวิเคราะห์สาเหตุที่ Facebook  ปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวเนื่องจากหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ Facebook จำเป็นที่จะต้องสร้างรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากการขายโฆษณาทำให้ต้องหันมามองการจัดเก็บรายได้จากการส่งเสริมการขายแฟนเพจซึ่งแบรนด์สินค้าต่างๆนิยมใช้เป็นเครื่องมือการตลาดมากขึ้น

    ผลจากการปรับนโยบายใหม่ของเฟซบุ๊คทำให้ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายเล็กต้องปรับความคิดใหม่ในการใช้แฟนเพจในการทำตลาด ไม่ว่าจะเป็นลดความเชื่อว่าการทำตลาดบน Facebook คือขอฟรี 100% ในอนาคตอาจจะต้องแบ่งงบการตลาดมายังการใช้งานโซเชียลมีเดียมากขึ้น

    อย่างไรก็ตามใช่ว่าจะมีแต่อุปสรรคแต่ Facebook พยายามที่จะปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อสนับสนุนผู้ใช้งานแฟนเพจเชิงธุรกิจด้วยเช่นกัน โดยได้ปรับเปลี่ยนหน้า Timeline ของแฟนเพจต่างๆให้มีหน้าตาที่คล้ายกับผู้ใช้งานทั่วไป โดยสิ่งที่ต่างไปจากเดิมคือเพิ่มคอลัมน์ทางด้านซ้ายเพื่อแสดงข้อมูลสำคัญต่างๆของเพจ ทำให้เจ้าของเพจสามารถมองเห็นข้อมูลโฆษณาที่กำลังรันอยู่ได้ง่าย รวมถึงสามารถมองเห็นจำนวนการโพสต์และการเข้าถึง (Engagement) ของคนที่เข้ามากดไลค์แฟนเพจได้สะดวกขึ้น

    แม้ว่า Facebook กำลังปรับรูปแบบการทำธุรกิจให้ผู้ใช้งานเชิงธุรกิจต้องมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตามในแง่จำนวนผู้ใช้งานและอัตราการเติบโต Facebook ยังคงเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งมีจำนวนผู้ใช้งาน26 ล้านคน ใหญ่เป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย โดยมีสัดส่วนเพศหญิงและชายในระดับใกล้เคียงกัน

    ข้อมูลที่น่าสนใจของ Facebook ในรอบปีที่ผ่านมาจากเวบไซท์ Zocial Inc  คนใช้งานส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯด้วยจำนวน 14.4 ล้านคน รองลงมาคือเชียงใหม่และชลบุรี มีผู้ใช้งานแอคทีพกว่า 85.6%  ช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลมากที่สุดคือช่วง 14.00  17.00 และ 10.00  เนื้อหาที่มีผู้สนใจมากที่สุดคือเรื่องรถยนต์และการเมือง

    หากติดตามความเคลื่อนไหวของ Facebook ในช่วงที่ผ่านมาจะพบว่ามีการเข้าซื้อกิจการธุรกิจไอทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Instagram หรือ Whatsapp  แม้จะยังไม่เห็นธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้นหลังการซื้อกิจการ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นชัดเจนแล้วคือเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานของ Facebook  ให้สูงขึ้น เพราะทั้งสองกิจการต่างเป็นผู้ในโซเชียลมีเดียที่เน้นรูปภาพและแชทออนไลน์  มั่นใจได้ว่าจำนวนผู้ใช้งาน Facebook จะยังมีการเติบโตแน่นอน

    สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต้องมีการปรับกลยุทธ์ในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อทำการตลาด เพราะไม่รู้ว่าในอนาคต Facebook จะปรับนโยบายให้บริการที่บังคับให้ลูกค้าต้องควักกระเป๋ามากขึ้นอีกหรือไม่ แต่ถ้าต้องแลกกับการเข้าถึงลูกค้าที่กว้างและมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า







 

RECCOMMEND: MARKETING

โพสต์ให้ปังด้วยพลัง AI! 6 เทคนิคสร้างคอนเทนต์ที่ขายของได้จริง

ไม่ว่าคุณจะเป็นแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของแบรนด์ ทีมการตลาด หรือครีเอเตอร์มือใหม่ AI ก็สามารถช่วยคุณสร้างสรรค์คอนเทนต์ปังที่จะช่วยในการเจาะตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น

ไทยเที่ยวไทยปี 68 'เมืองรอง' คือขุมทรัพย์ใหม่ เมื่อคนไทยเที่ยวถี่ขึ้น เน้นไป-กลับ

เจาะลึก "เทรนด์ไทยเที่ยวไทย ปี 2568" ว่าทำไมตลาดไม่ถอยเสียทีเดียว แต่เปลี่ยนเกม และคุณต้องเปลี่ยนตามให้ไว ก่อนจะตามไม่ทัน

ส่งออกหลักล้านไม่ใช่เรื่องไกลตัว เปิดสูตรลับ 2 แบรนด์ไทยบุกอาเซียน ด้วย Shopee International Platform

ความท้าทายในการขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้ประกอบการไทย เพราะช่องทางออนไลน์เป็นโอกาสที่เปิดกว้างขึ้น วันนี้จะพาไปรู้จัก Shopee International Platform (SIP) โปรแกรมที่เป็นมากกว่าช่องทางขายสินค้าออนไลน์ต่างประเทศ