ตามไปดูไอเดียแบรนด์ใหญ่ สร้างประสบการณ์ใหม่ในการช้อป เอาใจลูกค้ายุคสมาร์ทโฟน







     เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมากับร้านต้นแบบแห่งใหม่ของไนกี้ในนิวยอร์กที่จะสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างในการช้อปให้กับลูกค้า ก่อนหน้านั้นไนกี้เคยมีร้านต้นแบบบนถนนฟิฟธ์เอเวนิวในนิวยอร์กเช่นกัน แต่ปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2017 ด้วยเหตุผลบางประการ หลังจากซุ่มเงียบไปนานก็ได้เวลาเปิดตัวร้านใหม่ที่ไฉไลกว่าเดิมบนพื้นที่ 68,000 ตารางฟุตรวมทั้งหมด 6 ชั้น
               

     ภายใต้คอนเซปต์ "House of Innovation 000" ร้านไนกี้ที่มี 6 ชั้นตั้งอยู่ในแมนฮัตตันแห่งนี้ จะผนวกรวมการช้อปปิ้งแบบดั้งเดิมเข้ากับแอพพลิเคชั่นของร้าน เพียงลูกค้าสแกน QR code บนสินค้าและเสื้อผ้าก็จะทราบในทันทีว่าขนาดและสีที่ต้องการมีในสต็อกหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียเวลารอพนักงานเช็คให้ และหากต้องการลองสินค้า ก็แค่คลิกสั่งไปหย่อนที่ห้องลอง ชุดที่ต้องการลองจะไปแขวนรอที่ห้องลองให้ ไม่ต้องหอบหิ้วพะรุงพะรัง

               

Cr.Nike   


     นอกจากนั้น ร้านไนกี้แห่งใหม่ยังเป็นระบบไร้เงินสด ไม่มีแคชเชียร์ มีเพียงจุดเช็คเอ้าท์ให้ลูกค้าสแกนสินค้าที่ต้องการซื้อเพื่อหักผ่านแอพ และที่ล้ำไปกว่านั้น ทางร้านยังนำระบบ customization มาใช้ กล่าวคือลูกค้าสามารถออกแบบรองเท้าสนีกเกอร์ตามแบบฉบับตัวเองได้เองที่ Sneaker Bar หรือถ้าต้องการคำแนะนำ ในร้านก็มีบริการ  concierge services ที่พนักงานจะช่วยเลือกชุดและรองเท้าที่เหมาะสมและพอดีให้ รวมไปถึงการแก้ไข ปรับ เปลี่ยนทรงเสื้อผ้าด้วย  สำหรับคนที่รักและสะสมสนีกเกอร์ บนชั้น  5 ของร้านไนกี้แห่งใหม่เปรียบดังพิพิธภัณฑ์หรือโชว์รูมที่รวบรวมรองเท้าไนกี้จากทั่วทุกมุมโลกมาแสดง

                
     ช่วงปี 2016 ที่มีการเปิดร้านไนกี้ผสานความไฮเทคในย่านโซโหของนิวยอร์ก และบนถนนเมลโรส ย่านช้อปปิ้งในแอลเอ ไนกี้พยายามออกแบบให้ทุกมิติของการช้อปปิ้งมีระบบดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยทำให้สมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชั่นไนกี้ได้ใช้ประโยชน์มากที่สุดอยู่แล้ว สิ่งที่วางไว้กลายเป็นจริงที่  “House of Innovation 000" ไม่ว่าจะเป็นเช็คเอ้าท์อัตโนมัติ ที่ลูกค้าหยิบสินค้า สแกนผ่านแอพเพื่อชำระผ่านบัตรเครดิต แอปเปิลเพย์ หรือ PayPal 


Cr.Nike               


     หรือการสแกน QR code บนสินค้าที่สนใจ ข้อมูลจะขึ้นให้ดูว่ามีสีหรือขนาดใดบ้าง และหากกดปุ่มลองเสื้อผ้า ชุดที่ต้องการลองจะส่งไปรอที่ห้องลอง โดยลูกค้าได้รับการแจ้งเตือนผ่านมือถือว่าให้ไปลองได้ที่ห้องใด หน้าห้องจะมีชื่อลูกค้าติดไว้ให้เห็น อีกบริการหนึ่งที่มีในร้านไนกี้คือลูกค้าสามารถออกแบบรองเท้าได้เอง โดยมีดีไซเนอร์ของแบรนด์คอยแนะนำ หลังจากออกแบบแล้ว ไนกี้จะทำการผลิต และลูกค้าจะได้รับสินค้าใน 2-7 วัน ที่ร้านไนกี้ต้นแบบในนิวยอร์กยังเป็นจุดที่ลูกค้าที่สั่งสินค้าออนไลน์สามารถแวะมารับสินค้าที่ร้านได้ โดยสินค้าจะถูกจัดเก็บในล็อคเกอร์อย่างปลอดภัย  
               

     ในช่วงเวลาที่ดูเหมือน physical store กำลังอยู่ในขาลงเนื่องจากการค้าปลีกแบบดั้งเดิมชะลอตัว ไนกี้กลับมองว่า “House of Innovation 000" ไม่ใช่การ เปิดหน้าร้านทั่วไป แต่เป็นมอบประสบการณ์ที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกเพลิดเพลินไปกับการช้อปปิ้งไม่ว่าลูกค้าจะอยู่ในร้านแค่ 5 นาทีหรืออ้อยอิ่งนานนับชั่วโมง
ผลพวงที่ตามมาจากนั้นอาจเป็นความประทับใจ และความผูกพันที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์
 

อ้างอิง
www.cnbc.com/2018/11/15/nike-opens-new-flagship-store-in-nyc-with-customized-sneakers.html
www.engadget.com/2018/11/15/nike-house-of-innovation-000-new-york-city/


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก