​ไขข้อข้องใจ 5 เหตุผล ทำไมร้านค้าออนไลน์ไม่บอกราคา






 
     เมื่อ ”ราคา” กลายเป็นข้อมูล “ความลับ” ของร้านค้าออนไลน์จำนวนไม่น้อย ต่อให้สอบถามในคอมเมนต์ก็บอกให้ Inbox คล้ายว่ามีอะไรปิดบังลูกค้าอย่างเราอยู่ ดูขาดความจริงใจ เป็นสิ่งที่สวนทางกับการทำตลาดที่ผู้คนกำลังมองหาความชัดเจนจากแบรนด์ ที่สำคัญในตอนนี้มีกฎหมายออกมา ถ้าหากไม่ยอมบอกราคามีสิทธิ์โดนปรับสูงสุด 1,000 บาท เราจึงตามล่าหาคำตอบเพื่อคลายความสงสัย ไขข้อข้องใจว่า ทำไมร้านค้าออนไลน์จึงต้องให้ Inbox ไปถามราคา ไม่ยอมบอกหมดในแคปชั่นทีเดียว
 




     1.วัตถุดิบหรือค่าเงินที่ผันผวน

   
     
การไม่ติดราคาอาจมีเหตุผลอย่างหนึ่งว่า ราคาอาจจะขึ้นลงตามวัตถุดิบหรือค่าเงินบาทหากเป็นสินค้านำเข้า ทำให้เขาไม่อยากบอกราคาชัดเจนลงไปในแคปชั่นการขาย กลัวว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนราคา จึงเน้นการบอกราคากับลูกค้าเป็นคนๆ ไปมากกว่า แต่ลูกค้าหลายคนก็ไม่เข้าใจในจุดนี้


     วิธีแก้: ทางที่ดีร้านค้าควรบอกเงื่อนไขในการเปลี่ยนแปลงราคาให้ชัดเจนและจริงใจไปเลยว่าจะมีการปรับขึ้นลงตามวัตถุดิบหรือค่าเงินบาท ถ้าคุณจริงใจกับลูกค้า ลูกค้าก็จะเชื่อใจคุณกลับมาเช่นกัน
 

     2.สินค้าราคาสูงจึงกลัวลูกค้าหนีหมด


     
บางร้านค้าอาจขายสินค้าที่ราคาสูงหรือตั้งราคาไว้ค่อนข้างแรง จึงไม่อยากลงราคาเอาไว้ในแคปชั่นเพราะกลัวลูกค้าจะหนีหายหมด หากลูกค้า Inbox มาถามก็จะได้มีการมอบโปรโมชั่นส่วนลดหรือโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น


     ข้อควรระวัง: หากร้านทำอย่างนี้ บางทีลูกค้าที่ Inbox มาถามแค่อยากรู้ราคา แต่ไม่ได้อยากจะซื้ออาจจะไม่ใช่ลูกค้าตัวจริงก็ได้ แต่ถ้าคุณบอกราคาชัดเจน แสดงว่าคนที่ Inbox เข้ามาถามคือคนที่ต้องการจะซื้อสินค้าจริงๆ เป็นการช่วยกรองลูกค้าไปในตัวด้วย
 




     3.อยากให้ลูกค้า Inbox


     
ถ้าหากสินค้าของคุณน่าสนใจมากพอและยังหาที่อื่นไม่ได้ การไม่ติดราคาก็อาจจะทำให้ลูกค้า Inbox มาหาคุณด้วยความเต็มใจ


     ข้อควรระวัง: ถ้าสินค้าคุณเป็นสินค้าทั่วไปแถมยังไม่มีราคาที่ชัดเจน ต้องระวังลูกค้าจะเลื่อนผ่านไปง่ายๆ เพื่อไปหาร้านที่มีความชัดเจนมากกว่า





     4.กลัวร้านคู่แข่งมาส่องแล้วเอาไปตัดราคา


     
มีร้านค้าจำนวนไม่น้อยที่ขายสินค้าแบบเดียวกัน ประเภทเดียวกัน ขายของคล้ายๆ กัน สิ่งที่พวกเขาเหล่านี้กลัวที่สุดคือการกลัวร้านคู่แข่งมาส่องราคาขายแล้วนำไปลดราคาให้ถูกกว่า เรียกได้ว่ากลัวการตัดราคานั่นเอง


     วิธีแก้: หากว่าร้านค้าของคุณบอกราคาหมดแล้วเน้นใช้กลยุทธ์อื่นในการทำตลาดก็อาจจะไม่ต้องกลัวว่าจะโดนแย่งลูกค้าก็ได้ เช่น การทำคอนเทนต์ให้มีประโยชน์เพื่อดึงลูกค้าเข้ามาหาคุณ ทำคลิปวีดีโอการใช้งานสินค้าให้ดูน่าใช้ เป็นต้น
 




     5.หลบเลี่ยงภาษี


     
อีกหนึ่งเหตุผลของร้านค้าหลายร้านที่ไม่บอกราคาสินค้าให้ชัดเจนก็คือการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษี อาจจะจ่ายไม่ครบ จ่ายไม่ตรง ถ้าบอกราคาไปโต้งๆ ก็อาจจะโดนตรวจสอบได้ง่ายแต่ถ้าบอกราคาใน Inbox ก็จะสามารถเลี่ยงมากกว่า ซึ่งในตอนนี้ทางภาครัฐก็ได้ออกมาตรฐานเก็บภาษีจากร้านอย่างจริงจัง ดังนั้นใครที่กำลังหลบเลี่ยงเรื่องนี้จึงต้องปรับตัวใหม่และยื่นจ่ายให้ตรงกับความเป็นจริง ขอบอกเลยว่าถ้าโดนย้อนหลังพร้อมค่าปรับ ไม่คุ้มแน่นอน
 




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2