ใครไม่ทิ้ง ‘โหนดทิ้ง’ แปลงร่างวัสดุเหลือใช้ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียวในโลก!

Text : พิมพ์ใจ พิมพิลา




Main Idea
 
  • จากกาบตาลโตนดที่ไม่มีใครเหลียวแลและเป็นแค่ของเหลือใช้ในพื้นที่ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกสร้างจากใยตาลที่มีการออกแบบได้อย่างสนใจที่มาพร้อมกับความเป็นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
 
  • อีกทั้งกระบวนการผลิตที่เรียกได้ว่าไม่ธรรมดาจนประกอบร่างของใยตาลใหม่ให้สวยสดงดงามและเป็นที่จับตามอง เรียกได้ว่าเป็นการสร้างใหม่ที่ไม่เพียงเพิ่มมูลค่าด้วยการออกแบบได้อย่างทันสมัยและโดเด่น หากแต่ยังเป็นการใช้สิ่งเหลืออยู่ไปให้เกิดประโยชน์ไปจนถึงการอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่อีกด้วย



     ใครไม่ทิ้ง “โหนดทิ้ง”!


      แค่ชื่อก็โดดเด่นเสียจนอยากรู้ถึงความเป็นมา อีกทั้งยังสะดุดตาสะดุดใจเพราะเป็นผลิตภัณฑ์จากใยตาลโตนดเมืองสงขลาที่มีรูปลักษณ์สวยสดงดงามอ่อนช้อยที่เห็นได้ถึงความตั้งใจในการออกแบบและตัดหยิบที่กว่าจะใด้กระเป๋าแต่ละใบพร้อมกับความเป็นเรียบหรูแบบพื้นบ้าน คูลๆ ชิคๆ แฟชั่นเบาเบาเมื่อได้ถือหรือสะพายกระเป๋าจาก “โหนดทิ้ง” จนหลายคนต้องหันกลับไปมอง เมื่อได้ยลโฉมผลิตภัณฑ์จากกาบใยตาลโตนดหรือโหนดที่คนภาคใต้ใช้เรียกกัน แต่ใครจะรู้ว่ากว่าเจ้าโหนดจะกลายร่างมาเป็นโหนดทิ้งแสนสวย ก็เกือบถูกทิ้งให้กลายเป็นปุ๋ยไปเสียแล้ว





      “เสริญศิริ หนูเพชร”
เจ้าของผลิตภัณฑ์ใยตาลแปรรูปได้เล่าให้ฟังถึงความเป็นมาของเจ้า “โหนด” หรือ “ตาลโตนด” ที่เรารู้จักกันดี ต้นสูงๆ ใบยาวเป็นวา โดยเธอเล่าว่าต้นโหนดนารีนั้นอยู่คู่มาตั้งแต่ก่อตั้งเมืองสทิงพระจนเรียกได้ว่าเป็นวิถีชีวิตของคนของคนในอำเภอกันเลยทีเดียว และด้วยความที่อยู่ด้วยกันมานาน จึงทำให้เธอมองเห็นว่าวัตถุดิบนั้นมีเหลือใช้เพราะมีต้นตาลโตนดนารีมากที่สุดในประเทศไทย


      ซึ่งกลายมาเป็นที่มาของคำว่า โหนดทิ้ง ที่อยู่อำเภอสทิงพระและมีต้นตาลโตนดนารี เธอเล่าว่ากลุ่มโหนดทิ้งได้นำกาบโหนดมาใช้ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด เพราะต้นนึงใช้แค่ 2-3 ทาง โดยเริ่มแรกได้มีการปรึกษากันว่าจะทำอะไรได้บ้างเหมือนเช่นรุ่นปู่ รุ่นย่าหรือบรรพบุรุษที่เอามาใช้เป็นเชือกล่ามวัว เชือกผูกเสาเพราะในสมัยนั้นไม่มีไนลอน ดังนั้นคุณสมบัติที่แข็งแรงและทนทาน แถมยังโดนน้ำแล้วไม่ขึ้นราของเส้นใยโหนดจึงได้ถูกนำมาใช้จนถึงรุ่นหลาน และเมื่อมาถึงมือรุ่นลูกรุ่นหลานแล้วจึงได้มีการหยิบมาลองมาทำเป็นผลิตภัณฑ์





       “เราเริ่มมาตั้งแต่ปี 2544 และได้การตอบรับที่ดีเพราะว่ามีหนึ่งเดียวในประเทศไทย โดยเริ่มแรกเป็นงานถักมือเป็นหมวกและกระเป๋า แล้วก็ได้รับการตอบรับที่ดีเพิ่มขึ้นก็เลยคิดว่าถ้าเรายังทำงานถักมือมันจะช้า เราจึงเลยคิดหาวิธีการให้มันเร็วขึ้นเพื่อรองรับกับตลาด ก็เลยคิดทำเครื่องทองขึ้นมา”
               




        “กระบวนการทำนั้นเริ่มตั้งแต่การนำกาบตาลสดมาทุบด้วยเครื่องตีใยตาลแล้วนำมาแยกเศษกาบตาลออกให้เหลือแต่เส้นใย จากนั้นก็นำมาขูดด้วยด้วยบล็อกตะปูเพื่อให้ได้เส้นใยที่สวยงาม เมื่อเสร็จแล้วก็นำใยไปทำความสะอาดย้อมสี แล้วนำมาทอด้วยเครื่องทอคล้ายกับการทอผ้าปกติแต่ต้องทำให้เส้นใยแน่นติดกันเพื่อที่จะได้ง่ายต่อการนำไปตัดตามแบบที่ได้ออกแบบไว้”
               

        อีกหนึ่งส่วนที่สำคัญคือโครงของกระเป๋าโดยมีให้เลือกใช้ได้ถึง 3 รูปแบบ คือ เริ่มที่โครงแรกที่ได้ไม้จากต้นตาลที่จะให้ความรู้สึกของความเป็นวิถีชีวิตที่มีการดีไซน์ได้อย่างสวยงามน่าใช้ที่ไม่ว่ารุ่นไหนก็สามารถพกพาได้ตามใจชอบ โครงที่สองคือจากโลหะที่มีความเรียบหรู มีราคา เหมาะกับการมอบให้เป็นของขวัญสำหรับผู้หลักผู้ใหญ่ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีไม่น้อย และสุดท้ายคือโครงด้วยหนังสีสันต่างๆ ที่มาพร้อมกับดีไซน์ที่ทันสมัยเหมาะกับวัยรุ่นให้ได้พกพากันอย่างน่ารักน่าชม





      และเมื่อเรานำทุกส่วนมาประกอบกันก็จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ทั้งหลากหลายรูปแบบและรูปทรงที่มีการออกแบบได้อย่างน่าสนใจและกลายร่างจากกาบโหนดที่อาจจะหล่นทิ้งในไม่กี่วันก็ได้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและสะท้อนวิถีชีวิตของชาวอำเภอสทิงพระได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นวิถีที่น่าชื่นชมของผู้ออกแบบที่มองเห็นวัตถุดิบที่เหลือใช้ให้มาเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ แถมยังเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชุมชนในการทอใยตาลให้ออกมาสวยงามและยังสามารถอนุรักษ์สิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ไม่ให้เลือนหายไปตามกาลเวลา




       เช่นเดียวกับการทำธุรกิจที่ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบแบบใดจะเหลือใช้หรือเป็นของที่ถูกทิ้งแล้ว ถ้าเรามองให้เห็นถึงคุณภาพของวัตถุดิบ ไม่แน่ว่าของในมือคุณก็อาจจะกลายเป็นสินค้าที่ต้องการในอนาคตก็เป็นได้ เพราะทุกวัตถุดิบล้วนมีคุณค่าเสมอเมื่ออยู่ในพื้นที่และถูกสร้างใหม่ได้อย่างเหมาะสม
 


 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 
 

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024