กรีนกว่านี้ไม่มีแล้ว! หน้ากากรักษ์โลกจากแบคทีเรีย ป้องกันเทียบชั้น N95

TEXT : ยุวดี ศรีภุมมา
 

 
 
Main Idea
 
  • เดี๋ยวนี้กว่าจะออกจากบ้านแต่ละที ต้องไม่ลืมหยิบหน้ากากอนามัยติดตัวไปด้วย เพราะว่าหน้ากากกลายเป็นของจำเป็นในยุคโควิดระบาดไปซะแล้ว 
 
  • แต่สายกรีนอย่างเราก็ต้องมองหาหน้ากากอนามัยรักษ์โลกกันหน่อย อย่าง Bacterial Cellulose Mask หน้ากากอนามัยจากแบคทีเรีย ไอเดียสุดเจ๋งของ Bio-Designers ที่นำเอาแบคทีเรียมาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นเส้นใยสุดเหนียวนุ่มจากธรรมชาติ ย่อยสลายได้ง่ายไม่ทำร้ายโลก 

___________________________________________________________________________________________
 
 

     เพราะหน้ากากอนามัยกำลังกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตในยุคโควิด เดี๋ยวนี้ถ้าปราศจากหน้ากากอนามัย คุณคงไม่สามารถเข้าร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้าหรือแม้แต่ใช้บริการขนส่งสาธารณะได้และวิถีชีวิตที่ผูกติดกับหน้ากากอนามัยคงจะอยู่กับเราไปอีกนานแสนนานเลยทีเดียว  

 
     ก่อนหน้านี้ที่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ได้ขาดตลาด ทำให้เราได้เห็นโซลูชันใหม่ๆ ของการทำหน้ากากอนามัยแบบ DIY ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากผ้าสีสันสดใส หน้ากากจากเส้นใยกันน้ำหรือจะเป็น Face Shield สุดแฟชั่น แต่คงไม่มีอะไรแปลกไปกว่าหน้ากากอนามัยจากแบคทีเรียแล้วหล่ะ! 




     ใครจะไปคิดว่าแบคทีเรียจะกลายเป็นหน้ากากอนามัยได้แถมยังมีความสามารถในการป้องกันสูงมากด้วย ไอเดียดังกล่าวมาจากสองสาวสุดกรีนอย่าง Elizabeth Bridges และ Garrett Benisch จาก Sum Studio ด้วยความที่เป็น Bio-Designers หรือนักออกแบบที่ผสมผสานศาสตร์ทางด้านชีวภาพเข้าไว้ด้วยกัน ทำให้เธอหยิบเอา Bacterial Cellulose หรือว่าพลาสติกชีวภาพที่มีลักษณะคล้ายแผ่นฟิล์มที่เกิดจากกระบวนการหมักมาทำให้กลายเป็นหน้ากากอนามัยที่รักษ์โลกสุดๆ! 


     ตามปกติแล้วการผลิตหน้ากาก N95 จะมีการใช้ Non-woven Plastic Fabric หรือเส้นใยพลาสติกแบบไม่ทอมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการกรองฝุ่นและเชื้อโรคต่างๆ แม้ว่าจะดีต่อการกรองเชื้อไวรัสหรือแม้แต่ PM2.5 แต่ต้องแลกมาด้วยกระบวนการผลิตที่ค่อนข้างนาน ต้องใช้แรงงาน ใช้เครื่องจักรแถมยังย่อยสลายยากอีกด้วย 




     Elizabeth และ Garrett จึงมุ่งเน้นไปที่วัสดุธรรมชาติในการสร้างหน้ากากอนามัย ซึ่งพวกเธอคิดค้นจากในครัวช่วงกักตัวจนได้ออกมาเป็น Bacterial Cellulose Face Mask โดยตัวตั้งต้นของ Bacterial Cellulose นั้นมาจากแบคทีเรียที่ชื่อ Xylinum Acetobacter ซึ่งจะอยู่บนพื้นผิวน้ำที่พวกมันอาศัย แบคทีเรียเหล่านี้จะสามารถเติบโตได้น้ำ น้ำตาลและชา ค่อยๆ ป้อนวัตถุดิบเหล่านี้ลงไปให้แบคทีเรีย จากนั้นก็ปล่อยให้มันเจริญเติบโตขึ้น เมื่อถึงจุดหนึ่ง มันจะค่อยๆ ถักทอเส้นใย Cellulose ให้กลายเป็นพื้นผิวเดียวกัน พอได้ลักษณะเป็นแผ่นแล้วก็สามารถเก็บขึ้นมา นำไปตากให้แห้ง หลังจากนั้นก็สามารถนำไปเย็บขึ้นรูปเป็นหน้ากากอนามัยเพื่อสวมใส่ได้เลย 




     จุดเด่นของหน้ากากอนามัยจากแบคทีเรียนี้ก็คือมีลักษณะที่โปร่งแสง แข็งแรงแต่ยืดหยุ่นอีกทั้งยังมีความนุ่มที่สำคัญยังสามารถกันน้ำได้ด้วยหล่ะ แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากตัวหน้ากากอนามัยดังกล่าวสามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติและทางด้านกระบวนการผลิตก็เรียบง่าย สามารถทำได้จากในครัว ไม่ต้องใช้แรงงานหรือเครื่องจักรขนาดใหญ่  นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการผลิตเพียงแค่ 2 สัปดาห์เท่านั้นเอง


     นึกไม่ถึงเลยว่าแบคทีเรียที่หลายคนมองว่าเป็นสิ่งมีชีวิตไร้ค่าจะสามารถกลายเป็นหน้ากากอนามัยสุดกรีนได้เพียงนี้! หากผู้ประกอบการคนไหนมองเห็นไอเดียแล้วทดลองทำให้เกิดขึ้นจริงได้ในบ้านเรา อาจจะกลายเป็นโอกาสธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคสายกรีนได้ถล่มทลายในช่วงโควิดระบาดแบบนี้แน่นอน! 
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก