จับตาพฤติกรรมนักช้อปไทยปี ‘64 สุขน้อย ใช้สอยประหยัด รัดเข็มขัดเป็นนิสัย




      การกลับมาของโควิดรอบนี้ ถึงแม้จะไม่ถึงขั้นล็อกดาวน์เหมือนปีที่แล้ว แต่ส่งผลอย่างชัดเจนต่อทั้งสุขภาพทางการเงินและสุขภาพจิตใจของผู้บริโภคชาวไทยอย่างเห็นได้ชัดเพราะสภาพความไม่แน่นอนและสภาพเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงขาลงอย่างต่อเนื่อง
 

3 เหตุผลที่ทำให้ความสุขลดลง
 

     มีผลการศึกษาของ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ที่ได้สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวไทยในเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา มีความน่าสนใจ คือ คนไทยมีความสุขน้อยลง เห็นได้จากการให้คะแนนความสุขในปัจจุบันอยู่ที่ 64 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ลดลงจากผลสำรวจในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่จะเกิดการระบาดของโควิดระลอกใหม่


      ด้วยเหตุผลที่ว่าข่าวการติดเชื้อก่อนวันหยุดปีใหม่ ส่งผลให้อารมณ์รื่นเริงของคนไทยในช่วงต้นเดือนธันวาคมกลายเป็นความเงียบเหงาในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่จากการห้ามเฉลิมฉลองในที่สาธารณะ และคนไทยส่วนใหญ่ยกเลิกการเดินทางในประเทศ รวมถึงกระแสความร้อนแรงทางการเมืองด้วย
 

รัดเข็มขัด มุ่งใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น
 

      ด้านแนวโน้มระมัดระวังการใช้จ่ายไปจนกว่าสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศจะดีขึ้น ความต้องการใช้จ่ายของคนไทยอยู่ที่ 54 คะแนน ลดลงจาก 57 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อน เป็นเพราะมีรายได้ลดลง และกังวลเรื่องการเงินของครอบครัว หรือกำลังว่างงาน


      จากประสบการณ์การระบาดรอบแรกตั้งแต่ปี 2563 ทำให้ในปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ทำให้คนไทยระวังตัว กักตุนสินค้ามากขึ้นและมุ่งใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น โดยสินค้าหรือบริการที่ผู้บริโภคอยากซื้อมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อาหาร ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน โทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน เสื้อผ้า และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งสินค้าเหล่านี้ล้วนตอบสนองต่อการดำรงชีวิตและการทำงานแทบทั้งสิ้น


      ส่วนความต้องการซื้อสินค้าอื่นๆ มักตอบสนองหลากหลายจุดประสงค์การใช้งานที่เป็นที่ต้องการอย่างเห็นได้ชัด ไม่ใช่แค่อำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต แต่ตอบสนองความต้องการอื่นๆ ในชีวิต เช่น ซื้อรถยนต์สำหรับการพักผ่อนและกรทำงาน หรือของตกแต่งบ้าน เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม มีผู้ที่ให้คะแนนความต้องการใช้จ่ายสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยมีเหตุผลคือ ต้องการกักตุนสินค้าจะได้ไม่ต้องออกนอกบ้านบ่อยๆ ใช้บริการส่งอาหารมากขึ้น ซื้อของขวัญให้ตัวเองหรือคนรอบตัว


      จากการสำรวจนี้พบว่าแนวความต้องการใช้จ่ายลดลงเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีเพียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการย้ายถิ่นฐานจากกรุงเทพฯ กลับภูมิลำเนา 


      ฉะนั้นแล้ว ช่วงนี้อาจจะเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการต้องทำการบ้านหนักในแง่การตลาด ว่าจะดึงเงินออกจากกระเป๋าผู้บริโภคได้อย่างไร






 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2