ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ปี 58 แนวโน้มดี

 


    ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ชี้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในปี 2558 มีแนวโน้มดีกว่าปี 2557 ทั้งการขยายตัวของสินเชื่อ และ รายได้ค่าธรรมเนียม เนื่องจากเสถียรภาพทางการเมืองและความพยายามของภาครัฐในการผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตผ่านการลงทุน รวมถึงรายได้จากธุรกรรมดิจิตอล และ Trade Finance

    ปัจจัยการเมืองที่มีความไม่แน่นอนสูงในปี 2557 มีส่วนสำคัญทำให้สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพียงร้อยละ 5 ซึ่งถือเป็นอัตราที่ชะลอตัวเอามากๆ จากที่สามารถขยายตัวในระดับเลขสองหลัก (ระหว่างร้อยละ 11-15) มาสี่ปีติดต่อกัน 

    ดังนั้น การเมืองที่นิ่งขึ้นในปีนี้ กอรปกับการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเดินหน้าได้ดีกว่าเดิม จะส่งผลให้ทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อรายย่อยมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ในปี 2558 จึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะเห็นอัตราการเติบโตของสินเชื่อรวมที่ระดับร้อยละ 7-8 คิดเป็นเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2557 ประมาณ 8 แสนล้านบาท 

    ส่วนการแข่งขันในตลาดเงินฝากยังไม่น่าจะมีความรุนแรงมากนัก เนื่องจากการระดมเงินฝากที่มากเกินการปล่อยสินเชื่อยังคงค้างมาจากปีที่แล้ว ทำให้การเติบโตของเงินฝากในปีนี้น่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 5 หรือเพิ่มขึ้น 6 แสนล้านบาท

    แม้การขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวมจะเป็นผลบวกต่อธุรกิจธนาคารพาณิขย์ แต่ภายใต้ภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยลดบทบาทลง และล่าสุดในการประชุมวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย ยังมีมติให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมาร้อยละ 0.25 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศยังไม่มีที่ท่าว่าจะกลับมาเป็นขาขึ้นได้ง่ายๆ รายได้ค่าธรรมเนียมจึงมีความสำคัญมากขึ้นต่อธนาคารพาณิชย์ 

    เมื่อพิจารณาข้อมูลในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยของไทยมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จะพบว่า สัดส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมต่อรายได้รวมของธนาคารพาณิชย์ค่อยๆ เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 15.8 ในปี 2555 เป็นร้อยละ 16.3 และ 17.0 ในปี 2556 และ 2557 ตามลำดับ และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก รับแรงหนุนจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทำให้ธนาคารสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการเสริมต่างๆ นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้บริโภคที่จะได้รับความสะดวกในการทำธุรกรรมไปในตัว โดยผลิตภัณฑ์ที่ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่าเริ่มมีความโดดเด่น ได้แก่

    • การให้บริการผ่านระบบดิจิตอล หรือ ดิจิตอลแบงค์กิ้ง มีโอกาสเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากปัจจุบัน อุปกรณ์ด้านไอทีสามารถเข้าถึงและเป็นที่ยอมรับลูกค้าทุกระดับรายได้และอายุ  จึงเป็นก้าวสำคัญสู่ยุคของธนาคารสมัยใหม่  ซึ่งหัวใจสำคัญของบริการทางดิจิตอล คือ ต้องสร้างระบบให้ง่ายต่อการใช้งานของลูกค้า รวมถึงความปลอดภัย แม่นยำ ในการทำธุรกรรมและการเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า

    • ธุรกรรม Trade Finance โดยเฉพาะกับตลาดลูกค้ากลุ่ม SME   เนื่องจากกิจการขนาดกลางและเล็กมีโอกาสทางธุรกรรมการค้าการลงทุนระหว่างกันในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น  การให้บริการการเงินเพื่อการค้าแบบครบวงจรนอกเหนือจากสินเชื่อ อาทิ การเปิด L/C การป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน การโอนเงินชำระเงิน เป็นต้น และ การแข่งขันก็จะมาจากประเทศเพื่อน

บ้านในอาเซียนด้วย เพราะ ธนาคารกลางประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ได้จัดทำหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลบริการทางการเงินสำหรับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ เพื่อใช้เปรียบเทียบในการตัดสินใจเลือกใช้บริการได้  จึงเป็นโอกาสและความท้าทายของธนาคารในการรักษาและขยายฐานลูกค้าทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียน

    นอกจากนี้ ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่า ธนาคารพาณิชย์จะดำเนินกลยุทธ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในสองแนวทางหลัก ได้แก่ 1) การสร้างเครือข่ายธนาคารในลักษณะพันธมิตร โดยเฉพาะพันธมิตรจากธนาคารในอาเซียน ญี่ปุ่นและจีน ซึ่งนักลงทุนจากกลุ่มประเทศเหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อการลงทุนโดยตรงในอาเซียน 

    ทั้งนี้ เพื่อรับกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน หรือ AEC ที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2558 เป็นต้นไป 2) การวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าในเชิงลึกยิ่งขึ้น เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด และเหมาะสมที่สุดกับลูกค้าแต่ละไลฟ์สไตล์ เช่น ผลิตภัณฑ์การลงทุนสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ประจำ หรือผลิตภัณฑ์ประกันสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้อิสระ ทั้งนี้ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์สามารถรับมือกับการแข่งขันที่กำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ด้วยแรงกดดันที่มาจากทั้งภายในและนอกประเทศ



RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน