เพราะโลกนี้มีมากว่าผู้หญิงกับผู้ชาย รวมแบรนด์ดังระดับโลก สนับสนุนความเท่าเทียมของ LGBTQ+

 

 

      นอกจากในเดือนมิถุนายนของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น เดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ หรือ Pride Month ผู้คนและองค์กรต่างๆ ทั่วโลกยังได้จัดกิจกรรมหรือแคมเปญต่างๆ เพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางเพศ

      แม้แต่ประเทศไทยเองก็ได้ร่วมจัดงาน  Pride Month เพื่อความหลากหลายทางเพศ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน

      นอกจากการจัดงานดังกล่าวแล้วด้วยแนวโน้มทางสังคมและการเมืองโลกเปลี่ยนไป ทำให้เกิดยอมรับและเคารพในความแตกต่างกันมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันชาว LGBTQ กล้าออกมาเปิดเผยรสนิยมทางเพศและมีบทบาทในตลาดกว่าที่เคย โดยเฉพาะแวดวงการท่องเที่ยวที่กลายเป็นตลาดทรงพลัง ข้อมูลล่าสุดปี 2019 ของ LGBT-Capital.com เปิดเผยว่า จำนวนประชากรกลุ่ม LGBT ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559  มีอยู่ 483 ล้านคนทั่วโลกจากประชากร 7.4 พันล้านคนทั่วโลก

       ในทางด้านของจีดีพี (GDP) หรือมูลค่าตลาดในด้านของสินค้าและบริการของกลุ่ม LGBT ปี 2559 มีมูลค่ารวมกว่า 5.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯหรือประมาณ 189 ล้านล้านบาทไทย ถ้าคิดเป็นจีดีพี (GDP) ต่อคนจะอยู่ที่ประมาณคนละ 391,300 บาทต่อคนต่อปี  จึงทำให้กลุ่ม LGBT เป็นตลาดเฉพาะกลุ่มใหม่ที่กำลังเติบโตและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก

       แบรนด์ดังหลายแบรนด์จึงให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้ วันนี้ทาง SME THAILAND ONLINE ได้รวบรวมแบรนด์ดังระดับโลกที่สนับสนุนความเท่าเทียมกันของ LGBTQ+ มาดูว่าจะมีแบรนด์อะไรบ้าง

       แต่ก่อนอื่นต้องไปรู้ก่อนว่า LGBTQ+ คืออะไร และอักษรแต่ละตัวหมายความว่าอย่างไร

        LGBTQ คือ กลุ่มเพศทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล ทรานเจนเดอร์ เควียร์ ที่ไม่ใช่กลุ่มเพศตามเพศสภาพ และแต่ละตัวอักษรจะมีคามหมายดังนี้

  • Lesbian เลสเบี้ยนหรือผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน
  • Gay เกย์คือผู้ชายที่ชอบผู้ชาย แต่บางครั้งก็กล่าวรวมถึงคนที่ชอบเพศเดียวกัน 
  • Bisexual คนที่ชอบทั้งผู้ชายและผู้หญิง
  • Transgender คนข้ามเพศคือผู้หญิงที่มีจิตใจเป็นผู้ชาย ผู้ชายที่มีจิตใจเป็นผู้หญิง
  • Questioning/Queer หมายถึง กลุ่มคนที่ไม่ได้มีเพศตามขนบสังคมทั่วไป ไม่จำกัดกรอบ

 

Apple & Nike

      การรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (HRC) ได้ทำการทดสอบความเท่าเทียมกันในองค์กร และได้เปิดเผยรายชื่อธุรกิจที่มีความเท่าเทียมกันของ LGBTQ+ มากที่สุดในปี 2022 ที่ผ่านการทดสอบว่าตลอด 20 ปี ที่ผ่านมามีความเท่าเทียมกันในองค์กร 100% ซึ่งหนึ่งในนั้นมี Apple และ Nike รวมอยู่ด้วย

Google

      เปิดตัวธีมเบราว์เซอร์ Chrome ที่ออกแบบโดยศิลปิน LGBTQ+ 5 คน สร้างธีมทีสามารถเลือกเพื่อปรับแต่งเบราว์เซอร์ Chrome และ Chromebook  พร้อมให้ใช้งานทั่วโลก ซึ่งธีมเหล่านี้สะท้อนถึงมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ของศิลปินแต่ละคนอีกด้วย  และ Nick Kim Sexton ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Chrome ได้กล่าวว่า ที่จัดทำธีมคอลเล็กชันนี้ ก็เพราะว่าเพื่อเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความความหลากหลายของ LGBTQ+

IKEA

      ธุรกิจของตกแต่งบ้านอย่าง IKEA ได้เฉลิมฉลอง LGBTQ+ ด้วยการออกแบบโซฟาที่รวบรวม 10 Pride Flags เพื่อสนับสนุนความเท่าเทียมกันทั่วโลก และทาง IKEA ยังบอกอีกว่า “เราทุกคนมีพลังที่จะช่วยผลักดันให้ LGBTQ+ ทุกคนรู้สึกเป็นที่ต้อนรับและเป็นที่เคารพ ไม่ว่าจะที่บ้าน ที่ทำงาน”

Skittles

      ให้ศิลปิน LGBTQ+ ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสนับสนุนการยอมรับ LGBTQ+ ในปี 2022 ที่วางขายในเดือนมิถุนายน ซึ่งสำหรับการซื้อ Skittles รุ่นพิเศษแต่ละครั้ง Skittles จะบริจาคเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐหรือสูงถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนงานของ GLAAD ในการยุติการเลือกปฏิบัติ LGBTQ+

Oreo

      แบรนด์ขนมที่เราคุ้นเคยอย่างโอริโอ้ ได้ให้การสนับสนุนชุมชน LGBTQ+ อีกครั้ง ด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่มีข้อความแสดงถึงการไม่แบ่งแยก ซึ่งการทำบรรจุภัณฑ์นี้ ทางโอริโอ้ได้ร่วมมือกับ PFLAG National ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรแห่งแรกสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ อีกด้วย

      นี่อาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งของแบรนด์ระดับโลกที่ให้ความสนับสนุน LGBTQ+ ยิ่งเมื่อโลกเกิดยอมรับมากขึ้น LGBTQ กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นกำลังซื้อที่สำคัญของธุรกิจที่จะต้องใส่ใจ

 

 ที่มา : https://thesmst.com/blog/2020/06/07

https://www.ikea.com/ca/en/campaigns/idahot-2021-progress-is-made-right-here-with-you-pub6bd0dca0

www.prnewswire.com

https://www.hrc.org

https://www.oreo.com/pride?utm_source

http://www.lgbt-capital.com/
https://www.businessdestinations.com/
https://www.lonelyplanet.com/

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2