จับตา Future Food 4 ธุรกิจอาหารแห่งอนาคตโตไม่หยุด โอกาสทำเงินของเอสเอ็มอี

TEXT : กองบรรณาธิการ    

 

     โลกของเราทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างเร็ว ทำให้อะไรหลายๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไป วิถีชีวิตของคนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน นั้นทำให้เกิดเทรนด์ต่างๆ ขึ้นมากมาย เช่น เรื่องอาหาร หรือไลฟ์สไตล์ เป็นต้น และทุกคนอยากรู้ไหมว่าในอนาคตข้างหน้าอาหารจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เราจะพาทุกคนนั่งไทม์แมชชีนไปอนาคตข้างหน้ากัน พร้อมหรือยัง ถ้าพร้อมไปกันเลย  

       สำหรับภาพรวมของตลาด Future Food ของไทยซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 9.1 หมื่นล้านบาท มีการเติบโตเป็นไปทิศทางเดียวกับเทรนด์โลก

    Future Food หรือ อาหารแห่งอนาคต เป็นเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารที่กำลังเป็นที่จับตามองอย่างมาก ซึ่งจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงด้านอาหาร (food security) ยังเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคอีกด้วย และ Future Food แบ่งออกได้ตามนี้

1. อาหารเสริมสุขภาพหรืออาหารฟังก์ชั่น (Functional Food)

       เป็นนวัตกรรมอาหารเสริมสุขภาพที่แปรรูปไปเพื่อให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกเหนือจากประโยชน์ที่ได้รับจากสารอาหารหลักที่กินกัน ในชีวิตประจำวัน โดยเพิ่มเติมส่วนผสมใหม่หรือส่วนผสมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเพิ่มความสามารถของกลไกในร่างกาย ในการดูแลสุขภาพหรือป้องกันโรค

       มูลค่าตลาดในไทย : 6.4 หมื่นล้านบาท การเติบโตทรงตัวจากปีก่อน

2. อาหารทางการแพทย์ (Medical Food)

       เป็นนวัตกรรมอาหารเพื่อตอบสนองด้านการแพทย์ โดยใช้เป็นโภชนาบำบัด ผลิตเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มทดแทน หรือเสริมอาหาร ซึ่งใช้รับประทานหรือดื่มแทนอาหารหลัก หรือดื่มเพื่อเสริมอาหารบางมื้อ

     มูลค่าตลาดในไทย: 2,850 ล้านบาท การเติบโตทรงตัว

3. อาหารอินทรีย์ (Organic Food)

      ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ผลิตหรือแปรรูป โดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลงที่สังเคราะห์ทางเคมี ไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยที่มาจากกากของระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนผลิตภัณฑ์อินทรีย์จากสัตว์ หมายถึง เนื้อ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม ต้องมาจากสัตว์ที่เลี้ยงกลางแจ้งแบบเปิด และกินอาหารที่เป็นอาหารอินทรีย์ ไม่มีการใช้ฮอร์โมน หรือ ยาปฏิชีวนะกับสัตว์

    มูลค่าตลาดในไทย : 560 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 10%

4. อาหารที่ผลิตขึ้นมาใหม่ทางวัตกรรม (Novel Food)

       กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศ ฉบับที่ 376 เรื่อง อาหารใหม่ โดยกล่าวว่า ในปัจจุบันนี้มีการนำวัตถุที่ไม่เคยบริโภคเป็นอาหารมาใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบอาหาร อีกทั้งมีการพัฒนากระบวนการผลิตอาหารโดยใช้เทคโนโลยีที่ไม่เคยใช้มาก่อน จึงสมควรมีมาตรการการประเมินความปลอดภัยรองรับเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้ความหมายของอาหารใหม่ไว้ 3 ข้อ ดังนี้

1.อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ปรากฏหลักฐานทางวิชาการ ว่ามีประวัติการบริโภคเป็นอาหารน้อยกว่า 15 ปี

2.อาหารใหม่ หมายถึง อาหารหรือส่วนประกอบของอาหาร ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่มิใช่กระบวนการผลิตโดยทั่วไปของอาหารนั้นๆ ที่ทำให้ส่วนประกอบ โครงสร้างของอาหาร รูปแบบของอาหารนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลต่อคุณค่าทางโภชนาการ กระบวนการทางเคมีภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต หรือระดับของสารที่ไม่พึงประสงค์

3. อาหารใหม่ หมายถึง ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีวัตถุตามข้อ 1) และ ข้อ 2) เป็นส่วนประกอบ

       อธิบายแบบให้เข้าใจง่ายๆ Novel Food อาหารกลุ่มนี้หมายถึงอาหารรูปแบบใหม่ที่มีความเป็นนวัตกรรมสูงมาก ซึ่งทางแถบยุโรป จะให้คำจำกัดความว่าเป็นอาหารพวกที่ใช้ขั้นตอนการผลิตแบบใหม่ ไม่เคยมีการผลิตมาก่อน หรือเป็นอาหารที่ได้จากพืชหรือสัตว์ที่ไม่ได้ใช้เทคนิคการผลิตแบบดั้งเดิม หรือเป็นอาหารที่มีการปรับแต่งโดยกระบวนการผลิตแบบใหม่ เช่น การใช้นาโนเทคโนโลยี หรือพวก Nano Food ก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน อย่างพวกน้ำพริกกะปิผง รวมถึงแหล่งอาหารใหม่ คือ แมลง สาหร่าย และยีสต์ เป็นต้น

       มูลค่าตลาดในไทย: 2.4 หมื่นล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 20%

มูลค่าตลาดโลกของธุรกิจ Future food

      การระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อธุรกิจ Future food โดยกลุ่มที่ได้รับประโยชน์ ได้แก่ กลุ่มอาหารเสริมสุขภาพ กลุ่มอาหารอินทรีย์ อาหารจากพืช และกลุ่มอาหารจากแมลง ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ ได้แก่ กลุ่มอาหารทางการแพทย์ ส่งผลให้มูลค่าตลาด Future Food โลกมีการขยับตัว

  • กลุ่มอาหารเสริมสุขภาพ มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 1,092 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 6%
  • กลุ่มอาหารอินทรีย์ มูลค่าตลาดอยู่ที่ 182 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 14 %
  • กลุ่มอาหารทางการแพทย์ มีมูลค่าตลาด 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯตลาดจึงขยายตัวต่ำเพียง 5%
  • กลุ่มอาหารใหม่ มีมูลค่าตลาด 38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 12%

      

    อ่านถึงตรงนี้แล้วคุณก็รู้ว่าทิศทางของตลาดอาหาร Future food เป็นอย่างไร กลุ่มไหนที่เติบโตมากหรือน้อย และนี่จะเป็นโอกาสสำหรับทำธุรกิจอาหารแห่งอนาตทั้งหลาย

 

ที่มา : http://fic.nfi.or.th/futurefood/index.php

https://warning.acfs.go.th/th/articles-and-research/view/?page=8

https://www.bangkokbanksme.com/en/future-food

https://www.thansettakij.com/business/510908

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน