2 เทคนิคพาธุรกิจรอด แก้ปัญหาจากต้นตอ ให้ธุรกิจไปต่อแบบมั่นคง

TEXT : ภัทร เถื่อนศิริ

 

     พูดง่ายแต่ทำไม่ง่ายเลยครับ กับหัวข้อนี้

     เนื่องจากในภาวะวิกฤต เราเจอปัจจัยภายนอกกระทบอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เราถูกบังคับให้ปรับเปลี่ยน

     เมื่อต้องการปรับเปลี่ยน สิ่งสำคัญสิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการเลย คือ “ความคิด Mindset” เพราะถ้าความคิดไม่เปลี่ยน การกระทำก็ไม่เปลี่ยนอย่างแน่นอน

     ดังนั้นกระบวนการปรับเปลี่ยนความคิด ต้องการเวลาในการ “ทบทวนตัวเอง” ได้พูดคุยกับตัวเอง ได้ใช้เวลากับตัวเองว่า ซึ่งในเวลาที่ทุกอย่างดีเราอาจจะไม่เคยทำเลยด้วยซ้ำ แต่ในภาวะวิกฤตไม่มีใครตอบได้ว่าเราต้องการอะไรมีแต่ตัวเราเองเท่านั้น เราต้องทบทวนตัวเองว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแล้ว สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คืออะไร บางคนอาจสรุปว่าต้องการไปต่อแบบเติบโตมากๆ รูปแบบของกลยุทธ์ก็จะเป็นแบบนึง บางคนอาจจะขอโตแบบพอดีๆ มั่นคงรูปแบบกลยุทธ์ก็จะเป็นอีกแบบนึง

แล้วเราจะเข้าใจตนเองได้อย่างไร?

     ผมขอแนะนำให้ศึกษาและประยุกต์ใช้กับ IKIGAI และ Brand Model ของ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล

     Ikigai อิคิไก หมายถึง คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ที่แท้จริง มาจากคำว่า อิกิ (iki) ที่แปลว่า การมีชีวิต และ ไก (gai) ที่แปลว่า คุณค่า ถ้าพูดง่ายๆ ก็คือ จุดประสงค์ของการมีชีวิตอยู่

     หลักการของอิคิไก ikigai คือการตอบคำถาม 4 ข้อพื้นฐาน เพื่อตอบคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ในแต่ละวัน มีดังต่อไปนี้

     1. อะไรคือสิ่งที่เรารัก (What you love)

     คือ สิ่งใดที่ทำแล้วทำให้เกิดความสุข อยากทำสิ่งนั้น เพื่อจะได้พัฒนาศักยภาพในตัวเราให้ดียิ่งขึ้น และยังทำให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ก่อนสมัครงานเราสามารถพิจารณาถึง สิ่งที่เรารักและอยากจะทำก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อนำไปสู่การเลือกงานที่เหมาะสมกับตัวเราจริงๆ และจะทำให้สามารถอยู่ในองค์กรนั้นได้นาน และใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่

     2. อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดี (What you are good at)

     คือ สิ่งใดที่เรามีความสามารถทำได้ดีกว่าสิ่งอื่น หรือจะเรียกว่า Hard skill ทักษะความรู้ความสามารถที่ใช้ในการทำงาน เกิดจากการฝีกฝนจนชำนาญ จนกลายเป็นความเชี่ยวชาญ เช่น ความสามารถที่เป็นทักษะเฉพาะตัวต่าง ๆ ที่เราสามารถนำเสนอต่อผู้สัมภาษณ์งานเพื่อให้ได้งานนั้น โดยบางครั้งทักษะที่เรามีความสามารถไม่จำเป็นต้องตรงกับสาขาวิชาที่เรียนมาโดยตรง อาจเกิดจากการฝึกฝนของตนเอง จนเกิดความชำนาญ ถ้าเราค้นพบว่าเรามีความสามารถในเรื่องใด เราก็จะพบ อิคิไก ikigai ของชีวิตเราง่ายขี้น

     3. สิ่งที่ทำให้เกิดรายได้ (What you can be paid for)

     คือ สิ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้เรา สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น การหางานที่เราชอบและถนัดจะนำไปสู่รายได้ ทั้งงานประจำ และงานนอกเวลาอื่น ๆ จากวิชาหรือสาขาที่เรียนจบมาทำให้เรารู้ถึงความชอบ ความถนัดของตนเองแล้ว ก็จะนำไปสู่การสมัครงานที่เหมาะสมกับคุณสมบัติของเรา เพื่อก่อให้เกิดรายได้ในรูปแบบงานประจำ เป็นต้น

     4. สิ่งที่สังคมต้องการ(What the world needs)

     คือ สิ่งที่โลกหรือสังคมต้องการและเป็นประโยชน์ต่อโลก สังคม ตลอดจนบริษัทที่ทำงานอยู่ เช่นทักษะของการทำงานที่เรามีอยู่ สามารถช่วยเหลือสังคมในอนาคตได้หรือไม่ เมื่อมองเห็นงานหรือทักษะที่เป็นที่ต้องการขององค์กรแล้ว แสดงว่าเราค้นพบ อิคิไก ikigai ของตนเองในข้อหนึ่ง

     อิคิไก Ikigai ของคนเราก็คือจุดตรงกลางที่มีส่วนของวงกลมทั้ง 4 ซ้อนกัน เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า ชีวิตของเรามีความหมาย และงานนั้นคือกุญแจสู่ชีวิตที่มีความสุขและความยั่งยืน

Brand Model คือ การรู้จักตัวตน (Brand DNA) มี 5 ขั้นตอน

     1. Business Description ต้องตอบให้ได้ว่าวันนี้เราอยู่ในธุรกิจอะไร อยู่ในเวทีไหนของการแข่งขัน เพราะการทำแบรนด์มี 4 เรื่อง แบรนด์องค์กร, สินค้าและบริการ, ร้านค้า (Retail Branding) และแบรนด์บุคคล (Personal Branding) ซึ่งการสร้างประสบการณ์แบรนด์แต่ละประเภทไม่เหมือนกัน จึงต้องชัดเจนว่าธุรกิจอยู่ในตลาดไหน เช่น ร้านอาหาร กับ อาหาร การสร้างแบรนด์ก็จะแตกต่างกัน

     2. Brand Purpose เป้าหมายอยากเห็นหรืออยากได้อะไรจากการทำแบรนด์ ชื่อเสียงที่อยากได้ในมิติไหน และจุดยืนเป็นอย่างไร หากมีแบรนด์มีเป้าหมายที่เข้มแข็ง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เล็กแค่ไหน ก็มีโอกาสขึ้นมาเป็นแรงบันดาลใจได้ โลกจะวิ่งเข้ามาหาแบรนด์ที่สร้างคุณค่าให้สังคม เกื้อกูลผู้คน

     3. Brand Positioning ต้องมีจุดยืนหรือรากต้องแข็งแรง เป็นชื่อเสียงที่ส่งต่อรุ่นต่อรุ่น วิธีการหา Brand Positioning ก็ต้องเริ่มจากการดูว่าอะไรคือสิ่งที่ตลาดต้องการทั้งสินค้าและบริการ จากนั้นกลับมาดูว่า อะไรคือสิ่งที่เรามีไม่เหมือนใครและตลาดก็ให้ค่าคือ คนพร้อมที่จะจ่ายเงิน วิเคราะห์ว่าเรื่องไหนสำคัญที่สุด ที่คิดว่าเราทำได้ดี ไม่เหมือนใครและสามารถเป็นจุดยืนได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง การมีจุดยืนของแบรนด์จะช่วยในการบริหารจัดการประสบการณ์ชัดเจน

    “สิ่งที่เป็น Brand Positioning จะทำให้แบรนด์มีจุดยืนและมีค่า ชื่อและโลโก้ บรรจุภัณฑ์ การตลาด การขาย สินค้า ต้องสะท้อนจุดยืนทั้งหมด เมื่อทำได้แบบนี้ต่อให้ใครมาบริหารก็ยังคงจุดยืนไว้ได้”

     4. Brand Attributesแบรนด์มีคุณสมบัติอะไรบ้าง เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคสามารถเห็นได้จากรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์และบริการ โดยต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันทั้งหมด

     5. Brand Promise เป็นคำมั่นสัญญาของแบรนด์ที่ให้ไว้กับผู้บริโภค ถึงสิ่งที่แบรนด์จะส่งมอบให้ ทั้งประสบการณ์ ประโยชน์ และคุณค่า เป็นสิ่งที่ต้องทำต่อเนื่องในกระบวนการสร้างแบรนด์

     (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก https://porlaewdeethecreator.com )

     เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้ว เราจะรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เราต้องการ เราจะตัดในสิ่งที่เราไม่ต้องการออก และดำเนินธุรกิจต่อไปในแบบพอดีในความเป็นเรา ซึ่งจะมีความสุขมากขึ้นอย่างแน่นอนส่งผลถึงโอกาสที่จะฟันฝ่าปัญหาไปได้ก็จะเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://www.brandbuffet.in.th/2020/08/how-to-build-brand-model-in-5-steps/

https://th.hrnote.asia/tips/210730-ikigai/

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024