รู้ทันกฎหมายลิขสิทธิใหม่กับโซเชียลมีเดีย

 



เรื่อง นเรศ เหล่าพรรณราย
    
    วันที่ 4 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา กฎหมายลิขสิทธิฉบับใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยมีผลโดยตรงต่อการใช้งานโซเชียลมีเดียต่างๆจะต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิทางปัญญาของผู้อื่น

   ผู้ประกอบการ SME ที่ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์จึงจำเป็นที่จะต้องรู้ข้อกฎหมายใหม่เพื่อรักษาผลประโยชน์ตัวเองและไม่ไปละเมิดลิขสิทธิของผู้อื่น โดยสามารถสรุปย่อใจความสำคัญได้ดังนี้คือ
    
    หนึ่ง..หากมีการนำข้อความ บทความ ภาพถ่าย คลิปวีดีโอ ที่ผลิตขึ้นโดยผู้อื่นนำมาใช้บนโซเชียลมีเดียของตัวเองโดยเฉพาะในเชิงพาณิชย์จะต้องมีการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิทุกครั้ง
    
    สอง..ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงหรือ Fact เช่น ราคาน้ำมัน ราคาหุ้น ราคาสินค้าต่างๆ สามารถนำมาเสนอได้ แต่ข้อความที่เป็นความคิดเห็นส่วนบุคคล เช่น บทความต่างๆ ต้องขออนุญาตก่อนหรืออ้างอิงที่มา
    
    สาม..หากเราเป็นเจ้าของผลงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นบทความ ภาพถ่าย วีดีโอ มีสิทธิที่จะฟ้องผู้อื่นที่นำผลงานไปใช้โดยเฉพาะในเชิงพาณิชย์ได้ และผู้ประทำยิ่งมีความผิดถ้ามีการตั้งใจบิดเบือน ตกแต่ง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นทราบว่านำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เช่น ลบลายน้ำในภาพถ่าย ตัดโลโกเจ้าของผลงานออก ตัดต่อคลิปวีดีโอ ฯลฯ

    สี่..หากนำบทความมารีไรท์ใหม่และให้เครดิตกับเจ้าของผลงานเดิมสามารถทำได้

    ห้า..ไม่สามารถดาว์นโหลดผลงานต่างๆ เช่น ภาพถ่าย คลิปวีดีโอ จากอินเทอร์เนต นำมาเผยแพร่ต่อโดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อของตัวเองเป็นเจ้าของผลงานได้

    โดยสรุปคือหลักการสำคัญของกฎหมายลิขสิทธิฉบับนี้ก็คือหากจะมีการนำคอนเทนท์ของผู้อื่นมาใช้จำเป็นต้องอ้างอิงที่มาที่ไปเสมอ

    นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานโซเชียลมีเดียแต่ละประเภทในการแชร์หรือนำคอนเทนท์ของผู้อื่นมาใช้ด้วยเช่นกัน 

    - เจ้าของแฟนเพจโดยเฉพาะเพจที่มุ่งเน้นด้านธุรกิจไม่สามารถแชร์คอนเทนท์ของแฟนเพจอื่นเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจได้

    - ไม่สามารถดาว์นโหลดคอนเทนท์บนแฟนเพจอื่น เช่น ภาพกราฟฟิค ภาพถ่าย คลิปวีดีโอ นำมาใช้กับแฟนเพจของเราเองได้เพราะเจ้าของผลงานมีสิทธิที่จะฟ้องได้

    - การนำลิงค์ยูทูปของผู้อื่นนำมาใช้บนเวบไซท์หรือโซเชียลมีเดียของเราเองถือว่ามีความผิด วิธีการหลีกเลี่ยงคือต้องทำลิงค์ให้ผู้ชมเข้าไปชมต้นฉบับด้วยตัวเอง นอกจากนี้การนำคลิปภาพจากยูทูปไปใช้งานต่อ นอกเหนือจากระบุว่ามาจากยูทูปแล้วยังต้องระบุชื่อแอคเคานท์ที่นำมาใช้ด้วย

    ภาพรวมของกฎหมายลิขสิทธิฉบับใหม่นี้จึงเป็นทั้งปัญหาของผู้ที่หยิบยืมหรือลักลอบนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกันยังเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยตัวเองสามารถใช้กฎหมายดังกล่าวในการปกป้องสิทธิของตัวเองได้ ผู้ประกอบการจึงควรหันมาพัฒนาคอนเทนท์ของตัวเองบนโลกออนไลน์เพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจของตัวเอง

SME Thailand : เพื่อนคู่คิด ธุรกิจเอสเอ็มอี
ติดตามข้อมูลดีๆ เพื่้อชาว SMEs ได้ที่ www.smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

เปิด 8 เคล็ดลับ ปั้นแคมเปญโฆษณาสุดเจ๋ง! โดนใจลูกค้า

การสร้างแคมเปญให้โดนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เกิดจากการวางแผนและกลยุทธ์ที่ชาญฉลาด เลยจะมาเผย 8 เคล็ดลับ ที่จะช่วยปั้นแคมเปญโฆษณาไทยให้ก้าวสู่ความสำเร็จ และสามารถนำเข้าไปอยู่ในใจคนได้จริง

หมีเนย VS หมูเด้ง 2 อินฟูลดังแห่งปี 2567

ถ้าพูดถึงผู้มีอิทธิพลที่ทั้งฮอต และดังสุดๆ บนโลกออนไลน์ปี 2567 คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก 2 อินฟลูเอนเซอร์ดัง “น้องหมีเนย” และ “หมูเด้ง” เราเลยขอสรุปเรื่องราวความฮอต ที่มาที่ไปตั้งแต่เริ่มเข้าวงการ จนความฮอตสุดๆ ให้ได้รู้กันอีกครั้งหนึ่ง

รวมสโลแกน แบรนด์ไทยที่ติดหู เทคนิคสร้างสโลแกนที่โดนใจลูกค้า

เมื่อสโลแกนช่วยสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ ช่วยเพิ่มการจดจำแบรนด์ มาดูกันว่าจะมีเทคนิคสร้างสโลแกนให้โดนใจลูกค้าได้อย่างไรบ้าง