กลยุทธ์รากไม้ สูตรปั้นแบรนด์ให้แกร่ง ไม่ให้ล้มง่ายของ Tanee Siam

TEXT: Momiin

PHOTO: Tanee Siam 

Main Idea

  • ถ้าอยากให้แบรนด์อยู่รอดในการแข่งขันที่รุนแรงในปัจจุบัน สิ่งสำคัญที่ธุรกิจต้องทำ คือ สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง และต้องยั่งยืนด้วย เหมือนกับรากของต้นไม้ที่ต้องมีทั้ง รากแก้ว, รากแขนง และรากพิเศษ

 

  • วันนี้เราถอดสูตรความสำเร็จ สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและยั่งยืนฉบับ “Tanee Siam” กระเป๋าจากกาบกล้วยมาให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รู้กัน

 

     Tanee Siam แบรนด์กระเป๋าหนังจากกาบกล้วยที่ต่อยอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาไทย สู่กระเป๋าแฟชั่นสุดชิคสายรักษ์โลก ที่เกิดขึ้นจากศรัทธาและความมุ่งมั่นของ ธนกร สดใส หรือ กอล์ฟ ช่างทำบายศรีสู่ขวัญจากจังหวัดราชบุรี

วิธีสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็ง และยั่งยืน เหมือนกับระบบรากของพืช

     วิธีการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและยั่งยืนของตานีสยาม คือการ “วางรากฐานให้แข็งแรง” ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ เพราะก่อนหน้าเกิดวิกฤตโควิดเคยมีนักธุรกิจชาวต่างชาติมายื่นเงิน 13 – 15 ล้านบาท เพื่อขอซื้อแบรนด์ โดยมีข้อตกลงว่าเขาและชุมชนต้องเป็นเพียงแค่ฐานการผลิต แต่ไม่สามารถออกชื่อหรือออกหน้าแสดงความเป็นเจ้าของได้ แต่ทางแบรนด์ก็ไม่รับ เพราะมองว่าการจะทำให้เกิดความยั่งยืนได้ต้องทำตัวเองให้แข็งแรงก่อน วางรากฐานให้แข็งแรงก่อน จนสุดท้ายได้ก่อตั้งเป็นบ้านช่างสกุลบายศรี ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ขึ้นมา

     ซึ่งวิธีการสร้างแบรนด์ให้เข้มแข็งของตานีสยาม ก็เหมือนกับระบบรากของพืช ที่มีหน้าที่สำคัญในการดูดน้ำและแร่ธาตุจากดินเข้าไปสู่ลำต้นลำเลียง เพื่อให้พืชเติบโตได้ต่อไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามจุดกำเนิด

     1. รากแก้ว (Tap root) มีหน้าที่เป็นเสาหลัก รับส่วนอื่นๆ ของพืชให้ทรงตัวอยู่ได้ ซึ่งเหมือนกับการวางรากฐานให้แข็งแรงตั้งแต่ต้นน้ำของตานีสยาม

     ต้นน้ำ : เริ่มจากการนำภูมิปัญญาส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชนให้ปลูกต้นกล้วยตานี ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก เพื่อนำไปผลิตเป็นหนังจากกาบกล้วย ทำให้มีวัตถุดิบเพียงพออยู่เสมอ โดยจากเดิมมีชาวบ้านปลูกอยู่ประจำ 30 ครัวเรือน ปัจจุบันส่งเสริมเพิ่มอีก 50 ครัวเรือน ทำให้พื้นที่ที่เคยรกร้างว่างเปล่า กลับทำประโยชน์เป็นรายได้เสริมขึ้นมาได้ โดยรับซื้อในราคาต้นละ 50 บาท

     2. รากแขนง (Lateral root)เป็นรากที่เจริญเติบโตออกมาจาก รากแก้ว และสามารถแตกแขนงไปได้เรื่อยๆ และช่วยแยกไปหาอาหารในดินได้มากขึ้น เหมือนกับการวางรากฐานให้แข็งแรงในช่วงกลางน้ำของแบรนด์

     กลางน้ำ : จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ และแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยมีการจ้างพนักงานประจำราว 18 คน ทำหน้าที่ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็นรูปแบบต่างๆ ให้มีความทันสมัย เหมาะกับการใช้งานของผู้บริโภค เช่น กระเป๋า, หมวก โดยการใช้เทคนิคจากงานช่างบายศรี เช่น การพับ จับ จีบใบตองใส่ลงไปด้วย ทำให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มโดยกระเป๋าใบหนึ่งเคยขายได้ตั้งแต่ 2 – 3 พันบาท ไปจนถึง 4 – 5 หมื่นบาทเลยก็มีจากต้นกล้วยเพียง 1 ต้น

     3. รากที่เปลี่ยนแปลงตัวเองไปทำหน้าที่พิเศษ (Adventitious root) เป็นรากที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะไปทำหน้าที่พิเศษ เช่น รากฝอย, รากค้ำยัน, รากยึดเกาะ เหมือนกับการวางรากฐานให้แข็งแรงในช่วงปลายน้ำของตานีสยาม

     ปลายน้ำ : สร้างช่องทางการจำหน่ายด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน เช่น ช่องทางออนไลน์ และฝากหน้าร้านในห้างสรรพสินค้าในเครือสยามพิวรรธน์ อาทิ ไอคอนสยาม, สยามพารากอน เป็นต้น

     และนี่คือ วิธีสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง และยั่งยืน ฉบับ Tanee Siam สามารถอ่านเรื่องราวเต็มๆ ของแบรนด์เพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/entrepreneur/7724.html

ที่มา: https://shorturl.asia/EduBk

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก