21 บทเรียนทำให้ SME รอดและรุ่ง จากประสบการณ์คนทำธุรกิจ 21 ปี

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • นอกจากการตลาด 4P นี่คือบทเรียนการทำธุรกิจที่ได้เรียนรู้จากการเป็นผู้ประกอบการมากว่า 21 ปี ของ Adrian Falk, Founder & CEO of Believe Advertising & PR

 

  • ตั้งแต่การไม่มีลูกค้า ต้องโทรหาลูกค้าวันละ 20 ราย ไปจนถึงวิกฤตโรคระบาดโควิดที่ต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้มากว่าสองทศวรรษ

 

1.ความสมบูรณ์แบบไม่มีอยู่จริง

     แม้คุณมีแผนธุรกิจที่ดีที่สุด แต่ไม่ได้หมายความว่าแผนนั้นจะใช้ได้ผลเสมอไป ฉะนั้นอย่ามัวแต่ใช้เวลาหมดไปกับการคิดทุกรายละเอียดในการวางแผนมากไป แต่ให้ใช้เวลานั้นกับการลงมือทำ อย่างน้อยก็ยังได้เห็นความคืบหน้าของโครงการหรือโปรเจ็กต์ต่างๆ 

2.เครดิตเทอมยิ่งยาวยิ่งส่งผลกระทบ

     ถึงแม้คุณจะมีกำหนดเวลาให้ลูกค้าชำระเงินภายใน 30 วัน แต่หลายครั้งที่ 30 วันไม่มีอยู่จริง และมักยืดเวลาออกไปกลายเป็น 90 วัน ซึ่งบางครั้งการผิดนัดชำระแค่ครั้งเดียวอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อกระแสเงินสดในบริษัทของคุณ

3.สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ

     พยายามหาเวลาว่างให้ตัวเองทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายหนึ่งชั่วโมงหรือเพียงห้านาที ความคิดที่ดีย่อมมาจากสุขภาพที่ดี และจะไร้ประโยชน์ทันทีถ้าคุณต้องใส่ถังออกซิเจนเพื่อบริหารงาน

4.ไม่จำเป็นต้องบอกเป้าหมายกับทุกคน

     บางครั้งการที่คุณมีเป้าหมายธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ อาจได้รับเสียงทัดทานจากคนรอบข้างทั้งผู้หวังดีและไม่หวังดีที่จะคอยบั่นทอนกำลังใจคุณได้ สิ่งที่ง่ายที่สุดที่คุณจะไล่ล่าความฝันคือ การทำให้สำเร็จโดยไม่ต้องบอกใคร และเมื่อคุณบรรลุเป้าหมายนั้นแล้วคุณสามารถบอกคนเหล่านั้นได้อย่างเต็มปากโดยที่ไม่เสียกำลังใจ

5.แยกเงินเสียภาษีต่างหาก

     การทำเช่นนี้จะช่วยในเรื่องกระแสเงินสดของคุณเมื่อถึงเวลาต้องจ่ายภาษีประจำปี จากประสบการณ์ส่วนตัวบ่อยครั้งที่ฉันได้ยินคนรอบข้างที่ธุรกิจมีรายได้ดี แต่เมื่อถึงคราวต้องจ่ายภาษีในแต่ละปี กลับต้องดิ้นรนหาเงินก้อนโตมาเสียภาษี

6.ขยายธุรกิจในระดับสากล

     ทุกวันนี้โลกแคบลงทุกวัน ยังมีคนอีกมากมายที่อยู่ในต่างประเทศที่ต้องการสินค้าหรือบริการของคุณ คุณอาจสร้างธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณก้าวไปทั่วโลกและช่วยให้คุณเติบโตได้มากกว่าที่คุณคิด

7.ความสำเร็จไม่มีรูปแบบตายตัว

     อะไรก็ตามที่ได้ผลในปีที่แล้ว เดือนที่แล้ว หรือแม้แต่เมื่อวานไม่ได้หมายความว่ามันจะใช้ได้ในวันนี้ คุณต้องติดตามเทรนด์อยู่เสมอและลองใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น การยิงแอดเฟซบุ๊ก คุณอาจพบว่าราคาต่อหนึ่งคลิกสูงขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา เนื่องจากผู้คนเลือกที่จะไม่รับข่าวสารแนวนี้มากขึ้น คุณต้องเรียนรู้การประชาสัมพันธ์ด้วยวิธีอื่นๆ หรือสื่ออื่นๆ มากขึ้น

8.หมั่นหาลูกค้าใหม่ๆ เสมอ

     การมีลูกค้าประจำเป็นเรื่องดี แต่ถ้าคุณไม่หาลูกค้าใหม่มาเติมอาจทำให้ธุรกิจเครียดเกินไปเมื่อลูกค้าเก่าคนนั้นหายไป แทนที่จะใช้เวลาทั้งหมดของคุณกับลูกค้าหลักเพียงไม่กี่ราย ลองใช้เวลาบางส่วนเพื่อเริ่มหาลูกค้าใหม่เพิ่มเติมเพื่อกระจายฐานลูกค้าของคุณและความเสี่ยงในท้ายที่สุด

9.อยากได้อะไรก็ให้ปฏิบัติกับผู้อื่นตามนั้น

     ในการทำธุรกิจที่เกิดความขัดแย้งได้เสมอไม่ว่าจะกับพนักงานหรือกับซัพพลายเออร์ไปจนถึงลูกค้า สิ่งสำคัญคือคุณต้องปฏิบัติต่อผู้อื่นในแบบที่คุณต้องการได้รับการปฏิบัติ และพึงระลึกไว้เสมอว่าคุณปฏิบัติตัวอย่างไร เพราะท้ายที่สุดแล้ว มันสะท้อนถึงธุรกิจของคุณที่คุณกำลังพยายามสร้างขึ้น

10.ต้องมี Storytelling

     ทุกวันนี้มีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเสมอ และทุกคนต่างมีเรื่องราวที่ยอดเยี่ยม อย่าลืมแบ่งปันเรื่องราวของคุณและทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารองค์กรของคุณไปถึงลูกค้าเพื่อให้ลูกค้ายังจดจำแบรนด์ของคุณได้

11.มีที่ปรึกษาธุรกิจ

     การมีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยชี้แนะให้คุณได้เห็นในมุมที่คุณอาจไม่เคยเห็น และได้บทเรียนใหม่ๆ ในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น

12.หมั่นเพิ่มสกิลให้ตัวเองเสมอ

     การทำธุรกิจในวันนี้จะมีวิธีการใหม่ๆ เกิดขึ้น ดังนั้นอาจมีหลายเรื่องที่คุณยังไม่รู้แต่ก็จงอย่าหยุดรู้ หมั่นเพิ่มสกิลให้ตัวเอง ตั้งแต่การฟังพอดแคสต์ที่เจาะลึกในเรื่องที่คุณจำเป็นต้องรู้มากขึ้น ไปจนถึงการลงทุนฝึกอบรมที่จะช่วยให้คุณลับคมชุดทักษะทางธุรกิจ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

13.อย่าลืมวางแผนงานให้เป็นระบบ

     การทำธุรกิจที่ดีจะต้องทำเป็นทีม งานทั้งหมดต้องไม่กระจุกที่คนใดคนหนึ่ง ทุกคนสามารถช่วยกันทำงานได้ หากคนใดคนหนึ่งป่วยหรือไม่สะดวก คุณมีเอกสารบันทึกวิธีการปฏิบัติงานนั้นเพื่อให้คนอื่นสามารถปฏิบัติตามได้

14.ทำข้อตกลงทุกอย่างให้เป็นลายลักษณ์อักษร

     บทเรียนข้อนี้ต้องเรียกว่า กันไว้ดีกว่าแก้ ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างคุณกับลูกค้าหรือซัพพลายเออร์ สิ่งสำคัญคือคุณต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรเสมอ ด้วยเหตุผลสองประการ อย่างแรกคือ คุณอาจจะยุ่งมากและอาจลืมสิ่งที่คุณสัญญากับไว้ และอย่างที่สองคือ การทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นเหมือนบันทึกที่คุณสามารถอ้างอิงได้หากมีปัญหาใดๆ ในอนาคต

15.ต้องมุ่งมั่นและจริงจัง

     "ไม่มีสิ่งใดเลยหากปราศจากการทำงานหนัก" และเป็นสิ่งที่ผมไตร่ตรองอยู่ทุกวัน

16.ควบคุมอารมณ์ให้ได้

     คุณไม่สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวคุณได้ แต่คุณสามารถควบคุมวิธีที่คุณตอบสนองต่อเหตุการณ์ภายนอกได้ การเป็นเจ้าของธุรกิจมีทั้งขาขึ้นและขาลงเสมอ และคุณต้องเรียนรู้วิธีรับมือกับคลื่นเหล่านี้ที่เข้ามาหาคุณ

17.รักในสิ่งที่ทำ

     ถ้าไม่สนุกก็เลิกทำแล้วเปลี่ยนอาชีพ ชีวิตสั้นเกินไป

18.คืนกลับสู่สังคม

     ยิ่งให้ยิ่งได้คืน คำๆ นี้ยังใช้ได้ผลดีนอกจากการสร้างกำไรแล้ว เงินจำนวนหนึ่งคุณอาจจะส่งต่อไปที่การบริจาค การทำงานเพื่อการกุศล หรือการเป็นอาสาสมัครในองค์กรการกุศล เป็นรางวัลและจะเพิ่มความหมายให้กับชีวิตของคุณ

19.นามบัตรยังมีผล

     นามบัตรก็ยังถือว่าเป็นมาร์เก็ตติ้งรูปแบบที่ดีรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าคุณจะไปงานแต่งงาน การปาร์ตี้ หรือการประชุม การแจกนามบัตรก็ยังใช้ได้ผล 

20.มีความสม่ำเสมอ

     ไม่ว่ากลยุทธ์การตลาด การขาย อะไรที่ทำให้ธุรกิจคุณเติบโต คุณต้องทำมันอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างเช่น หากคุณพยายามโปรโมทธุรกิจให้มากขึ้นโดยการโพสต์บน Linkedin คุณจะไม่สามารถโพสต์สามครั้งต่อสัปดาห์และห้ามโพสต์เป็นเวลาหนึ่งเดือน คุณต้องมีความสม่ำเสมอในแนวทางของคุณ

21.เชื่อมั่นใจตัวเอง

     จงเชื่อมั่นในตัวเอง และที่สำคัญ ถ้าคุณไม่สนับสนุนตัวเอง ก็จะไม่มีใครสนับสนุนคุณ

     แม้คุณทำธุรกิจมาหลายปี ไม่ได้หมายความว่าเกมมันจะง่ายขึ้น แต่อย่างน้อย 21 บทเรียนนี้ก็จะช่วยเติมความนำทางไปยังเส้นทางที่อยู่ข้างหน้าได้ 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2