อวสานฟาสต์ฟู้ด! ทำยังไง? เมื่อร้านสะดวกซื้อเขยิบขึ้นมาเป็นคู่แข่ง ตอบโจทย์ผู้บริโภค ถูก ดี และสะดวก

Text : nim.sri


     ทำยังไง? เมื่อคุณกำลังทำธุรกิจร้านอาหาร แต่คู่แข่งของคุณวันนี้ ไม่ใช่แค่กลุ่มร้านอาหารด้วยกันเองอย่างเดียวเสมอไป แต่เป็น C-Stores” (Convenience Stores) หรือร้านสะดวกซื้อที่อยู่ใกล้บ้าน, ปั๊มน้ำมัน หรือกระจายอยู่ตามตรอกซอกซอยต่างๆ ที่กำลังเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์และถูกใจผู้บริโภคยุคใหม่ ที่ทั้งถูก ดี และสะดวก จนแชร์ส่วนแบ่งการตลาดไปได้แบบไม่ทันตั้งตัวก็ได้

การเติบโตธุรกิจอาหารของร้านสะดวกซื้อ

     ที่ผ่านมาเราอาจคุ้นเคยภาพร้านสะดวกซื้อ เป็นเพียงจุดแวะพักเพื่อซื้อกาแฟ ขนมขบเคี้ยวสำเร็จรูปต่างๆ แต่วันนี้ภาพเหล่านั้นอาจหมดไปแล้ว เพราะปัจจุบันร้านสะดวกซื้อเหล่านี้กำลังกลายเป็นจุดหมายปลายทางด้านอาหารที่เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น

     มีรายงานข้อมูลการเติบโตของตลาดร้านสะดวกซื้อในสหรัฐอเมริกาว่าคาดว่าจะเติบโตถึง 58,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2029 (ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น 2.77%) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากความต้องการซื้ออาหารพร้อมรับประทานและอาหารเพื่อสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นของผู้บริโภค โดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้จ่ายออกไปจากเดิม เช่น ยอดจำหน่ายอาหารแซงหน้าผลิตภัณฑ์ยาสูบที่แต่เดิมขายดีเป็นอันดับต้นๆ แต่ปัจจุบันกลับเป็นการจำหน่ายอาหารแทน

     โดยเท็กซัสเป็นรัฐที่มีร้านสะดวกซื้อมากที่สุด รองลงมา คือ แคลิฟอร์เนีย, ฟลอริดา และนิวยอร์ก ขณะที่ Mintel บริษัทวิจัยชื่อดังจากอังกฤษ คาดการณ์ว่ายอดขายอาหารในร้านสะดวกซื้อจะสูงถึง 54.7 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2027

3 ปัจจัย ส่งผลสินค้าอาหารร้านสะดวกซื้อเติบโต

     ความสะดวกสบาย : นับเป็นจุดเด่นของร้านสะดวกซื้ออยู่แล้ว โดยมีการเก็บสถิติว่า โดยเฉลี่ยลูกค้าหนึ่งคนใช้เวลาใช้เวลาภายในร้านสะดวกซื้อ ไม่ถึง 4 นาทีก็ทำการซื้อเสร็จสิ้น ซึ่งน้อยกว่าเวลาเฉลี่ยในการรอ 7 นาทีที่ช่องบริการอาหารแบบไดรฟ์ทรูของร้านฟาสต์ฟู้ดเกือบครึ่งหนึ่ง นี่เองที่เป็นอีกจุดดึงดูดหลักสำหรับผู้บริโภคที่มีเวลาจำกัด ทำให้มองหาอาหารมื้อด่วนหรือของขบเคี้ยวระหว่างเดินทางจากร้านสะดวกซื้อมากกว่าเลือกต่อคิวในร้านฟาสต์ฟู้ด

     ราคาย่อมเยา : ผู้บริโภคหลายคนอาจเบื่อหน่ายกับการที่ต้องจ่ายเงินมากเกินไปสำหรับการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ ดังนั้นหากมีร้านค้าที่สามารถเลือกซื้อได้สะดวก คุณภาพใกล้เคียงกัน แต่ราคาย่อมเยากว่า ร้านสะดวกซื้อจึงกลายมาเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า และถูกนึกถึงมากขึ้น ตัวอย่างเช่น แซนวิชไก่ที่ร้านสะดวกซื้อมีราคาเฉลี่ย 4.90 ดอลลาร์ ขณะที่ร้านอาหารจานด่วน (QSR) กลับมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 9.11 ดอลลาร์ หรืออย่างพิซซ่าชีสที่ร้านสะดวกซื้อขายประมาณ 6.63 ดอลลาร์ ขณะที่ร้านอาหารจานด่วนจำหน่ายอยู่ที่ 13.11 ดอลลาร์ 

     นวัตกรรม : ปกติแบรนด์ร้านสะดวกซื้อต่างๆ มักมีการนำเสนอโซลูชัน นวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้เสมออยู่แล้ว เพื่อยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้า ดังนั้นจึงไม่แปลกหากวันหนึ่งจะมามุ่งเน้นที่ธุรกิจกลุ่มอาหาร และนำมาใช้เพื่อยกระดับประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กบลูกค้า เช่นเดียวกับร้านสะดวกหลายแห่งในสหรัฐฯ ที่มีการปฏิวัติวิธีการเสนอรูปแบบใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ดีให้กับลูกค้าเทียบเท่ากับร้านอาหาร Fast Casual (ร้านอาหารจานด่วนแบบพรีเมียม มาจากคำว่า Fast food + Casual dining รวมกัน )

     ตัวอย่างเช่น 7-Eleven มีการปรับเปลี่ยนจากร้านสะดวกซื้อแบบดั้งเดิมมาเป็นร้านค้าปลีกระดับพรีเมียม โดยจำหน่ายแซนด์วิช สลัด และพิซซ่าคุณภาพสูงที่แข่งขันกับร้านฟาสต์แคชชวลได้โดยตรง หรืออย่างร้าน Sheetz หนึ่งในแบรนด์ร้านสะดวกซื้อในอเมริกา ที่มีการให้ลูกค้าสามารถปรับแต่งด้วยเมนูที่สั่งทำขึ้นมาด้วยตัวเองได้ ทำให้ลูกค้าสามารถสร้างสรรค์มื้ออาหารจากรูปแบบเดิมมากกว่าหลายร้อยเมนู ผ่านระบบสั่งอาหารแบบบริการตนเอง ทำให้เกิดมาตรฐานใหม่ของการรับประทานแบบบริการด่วนที่ทำได้มากกว่าร้านฟาสต์ฟู้ด หรือร้าน Wawa ที่มีการมอบรางวัลส่วนบุคคล, คะแนนโบนัสสำหรับการซื้อเฉพาะ และข้อเสนอพิเศษเฉพาะ เพื่อจูงใจลูกค้าให้มาเลือกใช้ โดยโปรแกรมดังกล่าวไม่เพียงช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังทำให้แบรนด์สามารถเข้าใจความต้องการ และปรับแต่งข้อเสนอให้เหมาะสมกับลูกค้าได้ด้วย เพื่อให้เกิดความภักดีกับแบรนด์

ธุรกิจร้านอาหารจะรับมืออย่างไรได้บ้าง

      สำหรับข้อเสนอในการรับมือของธุรกิจร้านอาหารกับการเปลี่ยนแปลงของร้านสะดวกซื้อ ที่อนาคตอาจแซงหน้าขึ้นมา สามารถทำได้หลายข้อด้วยกัน ดังนี้

     สร้างเมนูซิกเนอเจอร์พิเศษเฉพาะของร้าน : ถึงแม้ว่าร้านสะดวกซื้อจะพัฒนาคุณภาพ และเมนูอาหารให้มีความพรีเมียมมากขึ้น ทั้งรสชาติ ประสบการณ์ หรือด้านสุขภาพ แต่ด้วยความที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ มีหลายสาขา การบริหารจัดการ หรือสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ จึงต้องเป็นไปพร้อมกัน ไม่สามารถจับจุดเล็กๆ สร้างความพิเศษเฉพาะแต่ละสาขาได้ จึงเป็นข้อได้เปรียบของธุรกิจร้านอาหารต่างๆ ที่จะทำเมนูพิเศษเฉพาะของร้านขึ้นมาได้ เพื่อสร้างกลุ่มลูกค้าแฟนพันธุ์แท้ตัวยง ที่หากินจากที่ไหนไม่ได้ ต้องเป็นลูกค้าเฉพาะของที่ร้านนี้เท่านั้น โดยอาจมาจากการเลือกใช้วัตถุดิบพิเศษ, รสชาติสูตรพิเศษเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครก็ได้

     การอัพเกรดช่องทางด่วน : สิ่งหนึ่งที่ร้านอาหารส่วนใหญ่ยังขาด แต่กลับเป็นจุดเด่นของร้านสะดวกซื้อ ก็คือ ความรวดเร็ว ฉะนั้นร้านอาหารต่างๆ จึงควรนำจุดแข็งข้อนี้มาปรับปรุงการให้บริการของตัวเองกลับคืนไปบ้าง เช่น อาจทำช่องทางสั่งด่วน สำหรับลูกค้าที่ซื้อกลับ, การนำโซลูชันดิจิทัลระบบการสั่งซื้อที่ทันสมัยมาใช้ หรือแม้แต่วิธีพื้นฐาน เช่น การจัดเรียงสินค้าให้สามารถหยิบซื้อได้สะดวก รวดเร็วขึ้น สินค้าไหนขายดี ก็วางให้เป็นตัวเลือกด้านหน้า เป็นต้น

     เพราะการพัฒนาตนเองขึ้นมาของร้านสะดวกซื้อ ก็ไม่ได้เกิดจากการตั้งคำถามว่าจะแข่งขันกับตลาดอาหารจานด่วนได้อย่างไร แต่เกิดจากคำถามว่าจะพัฒนารูปแบบสินค้าอาหารที่มีอยู่อย่างไร ให้มีคุณภาพมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์การให้บริการแบบด่วนแก่ลูกค้าได้เช่นกัน

   

ที่มา :https://bluegrassingredients.com/thinking/c-stores-become-culinary-destinations/

           - https://www.kearney.com/industry/consumer-retail/article/how-are-convenience-stores-transforming-food-service-into-a-competitive-advantage-and-what-can-grocers-learn-from-their-success

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

“Grandfluencer” อินฟลูวัยเก๋า เพราะเรายังมีไฟ วัยไหนก็พร้อมมันส์ ฮาสนั่นไปกับ “คุณยายวัลย์ & น้องบูรพา”

เมื่อ Grandfluencer ลูกผสมระหว่างคำว่า “Grandparent” กับ “Influencer” จนออกมาเป็น “อินฟลูวัยเก๋า” กำลังเป็นเทรนด์ล่ามาแรง เราจึงมี Trick สำหรับผู้ประกอบการสูงวัยที่ยังมีไฟและอยากขยับมาเป็น Grandfluencer มาฝากกัน

ขายวันละล้าน แต่กำไรศูนย์ บทเรียนธุรกิจแสนแพง จาก PABLO Cheesetart ในไทย

ในโลกของธุรกิจอาหารและขนมหวาน ยอดขายวันละล้านบาทคือความฝันของผู้ประกอบการ แต่ใครจะเชื่อว่าเบื้องหลังตัวเลขมหาศาลนั้นอาจซ่อนความจริงที่ขมขื่น และนี่คือบทเรียนราคาแพงจาก PABLO Cheesetart ที่ เบียร์ ใบหยกไม่มีวันลืม

ทำคอนเทนต์ท่องเที่ยวให้เป็นธุรกิจเงินล้าน ถอดบทเรียนจาก Go Went Go และ อาสาพาไปหลง

พาคุณเจาะลึกเส้นทางธุรกิจของ Go Went Go และ อาสาพาไปหลง พร้อมถอดบทเรียนที่นำไปใช้ได้จริง และชี้ทางให้คุณเปลี่ยนคอนเทนต์ท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน โดยออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มคนทำธุรกิจบนเฟซบุ๊ก