ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้ในปี 2556 จะเป็นปีที่ภาพของเศรษฐกิจโลกเริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัว ซึ่งน่าจะพอเป็นแรงส่งให้ธุรกิจส่งออกหลายสาขามีทิศทางกระเตื้องขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากธุรกิจเหล่านั้นจะมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัวที่เป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ สำหรับธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่นในปี 2556 นี้ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่คาดว่าในปี 2556 นี้ การผลิตรถยนต์ในประเทศไทยจะทำสถิติใหม่สูงถึงประมาณ 2.5-2.6 ล้านคัน
สสว. ได้ดำเนินการศึกษาถึงผลกระทบจากค่าจ้าง 300 บาท โดยให้จัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ (300 บาท) โดยการจัดประชุมระดมความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดประเมินภาพรวมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทยปี 2556 ว่าน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องด้วยอัตราเลข 2 หลัก เป็นปีที่ 4 ติดต่อกันที่ระดับ 10 - 13% ตามแรงส่งของเศรษฐกิจในภาพรวม แม้จะชะลอลงเมื่อเทียบกับปี 2555 ที่ 13.5%ส่วนหนึ่งคงเป็นผลจากฐานเงินให้สินเชื่อรวมที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งกระจายไปทั้งในฝั่งสินเชื่อภาคธุรกิจ และสินเชื่อรายย่อย ขณะที่ เมื่อเทียบเป็นปริมาณเงินให้สินเชื่อสุทธิที่เพิ่มขึ้นแล้ว คาดว่าจะเห็นเงินให้สินเชื่อสุทธิเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านล้านบาท สูงกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับการเพิ่มขึ้นในปี 2555 และอาจหนุนให้ขนาดสินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ไทยแตะระดับ 10 ล้านล้านบาทภายในสิ้นปี 2556
นายอธิป พีชานนท์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัย กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการสินเชื่อสนับสนุนผู้รับเหมารายย่อย เป็นโครงการที่ผู้ประกอบการอสังหาฯ และสถาบันการเงินร่วมมือกันเพื่อสนับสนุน ให้ผู้รับเหมารายย่อยมีเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานอย่างยั่งยืน สามารถทำงานได้แล้วเสร็จ และลดปัญหาการทิ้งงานให้น้อยลงด้วย
สำหรับผลกระทบต่อต้นทุนสินค้าจากการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2556 นั้น กรมการค้าภายในได้ศึกษาภาพรวมผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 245 บาท หรือเพิ่มขึ้น 22.45%
นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงผลสำรวจของศูนย์วิจัยธุรกิจบัณฑิตย์(มธบ.)เกี่ยวกับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เป็นวันละ 300 บาท ใน 70 จังหวัด โดยคาดการณ์ว่ามีธุรกิจเอสเอ็มอีมีผลกระทบประมาณ 1 ล้านรายและแรงงานตกงานประมาณ 6.4 แสนคน รวมทั้งเสนอให้รัฐบาลตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้างแบบขั้นบันไดให้แก่ผู้ประกอบการในวงเงิน 1.4 แสนล้านบาทในช่วง 3 ปีว่า ตนเชื่อว่าภาคธุรกิจจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเนื่องจากการปรับขึ้นค่าจ้าง เพราะผู้ประกอบการมีเวลาปรับตัวกว่า 1 ปี ตั้งแต่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายดังกล่าว
นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวภายหลังประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดระบบการจ้างงานแรงงานต่างด้าว ที่มีนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เป็นประธานการประชุม ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เสนอขอให้กระทรวงแรงงานผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า กัมพูชาและลาว ที่ยังไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราวเป็นระยะเวลา3 เดือน ระหว่างรอการดำเนินการให้เป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย ซึ่งข้อมูลของ กกจ.มีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สัญชาติทั้งหมด 266,677 คน แยกเป็นพม่า จำนวน 27,474 คน ลาว จำนวน 99,019 และกัมพูชา จำนวน 140,184 คน
แหล่งข่าวจาก กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานในวันที่26 ธันวาคม ที่ประชุมจะมีการพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนส่งท้ายปี2555จำนวน 24 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 100,000 ล้านบาท
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า กระทรวงการคลังยังไม่สามารถเสนอมาตรการเยียวยาผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ในวันที่ 1 ม.ค.2556 ได้ หลังหน่วยงานราชการบางแห่งยังมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะแนวทางที่เอกชนเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือชดเชยส่วนต่างค่าจ้างที่ปรับเพิ่มขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ดำเนินการได้ยาก และไม่มีความเหมาะสม ส่วนมาตรการช่วยเหลืออื่นๆ ล่าสุดยังอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสม คาดว่าจะสรุปได้เสร็จก่อนเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาได้ในวันที่ 8 ม.ค.2556