อุตฯเตรียมใช้ มอก.999 ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าเตรียมเสนอให้นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม พิจารณาอนุมัติร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 9999) ตามคณะกรรมการวิชาการ ที่มีนายสุเมธ ตันติเวชกุล เป็นที่ปรึกษาเสนอ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ตั้งแต่การใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ พลังงาน เป็นต้น ให้สามารถประคองกิจการอยู่รอดภายใต้สภาวะการแข่งขันที่สูง คาดว่าจะมีผลบังคับในเดือนมีนาคม 2556

โพลระบุค่าแรง 300 บาทนายจ้างจ่ายเพิ่ม 5.1%

ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เปิดผลสำรวจ CEO Sentiment Index เดือนม.ค. –ก.พ. ค่าแรง 300 บาททำต้นทุนพุ่ง 5.1% ขณะที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว-บาทแข็ง กระทบธุรกิจเดือนม.ค. ส่งผลดัชนีสภาพคล่องมีแนวโน้มลดลง

สถาบันอาหารยกระดับ SMEs บุกตลาดฮาลาลโลก

นายอมร งามมงคลรัตน์ รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง “เชื่อมั่น ปลอดภัย มาตรฐานฮาลาลไทยสู่สากล” ว่าการผลักดันให้ตลาดฮาลาลโลกเกิดความเชื่อมั่นในการบริโภคสินค้าอาหารฮาลาลของไทย โดยเฉพาะสินค้าที่ผลิตจากวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น

รัฐร่วม 2 องค์กรจัดโครงการปั้น Smart farmer

นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า “โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรรุ่นใหม่ ภายใต้ความร่วมมือโครงการสนับสนุนการสร้างสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Smart Farmer) เป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดำเนินการขึ้นเพื่อสร้าง Smart farmer รุ่นใหม่ เข้าสู่ภาคการเกษตร ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการปรับเพิ่มผลผลิตภาพ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยการทำการเกษตรภายใต้หลักการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาวางแผนการผลิตที่เหมาะสมกับภูมิสังคม ใช้ข้อมูลเศรษฐกิจมาวางแผนการตลาด อันเป็นการปฏิรูปการเกษตรประเทศไทยจากการทำการเกษตรตามความเคยชิน ไปสู่การเกษตรที่ใช้วิชาการ ทุกสาขาวิชา

พาณิชย์ชง ครม.ของบ 400 ล้านช่วย SMEs เจอพิษบาทแข็ง

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ มีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอใช้เงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 400 ล้านบาท เพื่อใช้ช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็ง ตลาดต่างประเทศชะลอตัว

กสอ. โชว์โมเดลลดต้นทุน SMEs 7 ล้านต่อปี

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมโชว์โมเดลความสำเร็จโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอใจกลางเมือง ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน อันเป็นผลมาจากกลยุทธ์การส่งเสริมของ กสอ. ใน 2 โครงการอันได้แก่โครงการ LEAN และ MU ที่สามารถลดต้นทุน กว่า 7 ล้านบาทต่อปี

ติดอาวุธ“ซัพพลายเชน” เสริมแกร่ง SMEs

นายมาณพ ชิวธนาสุนทร สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม (สพจ.) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ประเทศไทยมักมีปัญหา เนื่องจากมีการพัฒนาซัพพลายเชนเป็นจุดๆ ไป ซึ่งขาดการเชื่อมโยงขบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดต้นทุนสูงไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะขบวนการผลิตที่โรงงานซึ่งยังมีขบวนการภายในอีกหลายส่วนจะต้องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ความต้องการของลูกค้าแล้วแปรไปสู่ขบวนการวางแผนผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามความต้องการของลูกค้า การบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง ซึ่งแต่ละขบวนการจะต้องลดต้นทุนและสร้างสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ด้วย

ย้ำสิ้นสงกรานต์เจอต่างด้าวเถื่อนจับนายจ้างโดนด้วย

นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการออกเอกสารให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายทั้ง 3 สัญชาติที่มาขอขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานที่ถูกกฎหมาย ก่อนจะหมดเขตในวันที่ 13 เมษายนนี้ ว่า จากข้อมูลของ กกจ. เมื่อวันที่ 31 มีนาคมที่ผ่านมา มีนายจ้างมายื่นขอโควตาแรงงานต่างด้าวทั้ง 3 สัญชาติจำนวน 54,702 คน มีแรงงานมาขอขึ้นทะเบียนเพื่อขออนุญาตทำงานทั้งหมด 414,820 คน แบ่งเป็นแรงงานสัญชาติพม่า 290,020 คน กัมพูชา 88,688 คน และลาว 44,712 กัมพูชา นอกจากนี้ มีบุตรของแรงงานซึ่งเป็นผู้ติดตามจะต้องมาทำ CI จำนวน 2,954 คน แบ่งเป็นบุตรชาวพม่า 920 คน กัมพูชา 1,278 คน และลาว 756 คน

กพร.จับอุตฯเครื่องน่มห่มเพิ่มทักษะแรงงาน

นายนคร ศิลปอาชา อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังลงนามร่วมกับนายสุชาติ จันทรานาคราช ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ว่า กพร.ร่วมกับมูลนิธิพัฒนาเครื่องนุ่งห่มจัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานให้สามารถปฏิบัติได้มากกว่า 1 ทักษะ เพื่อช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานและลดต้นทุนการผลิต