คาดไม่เกิน 5 ปีแรงงานพม่าทยอยคืนถิ่น

น.ส.เปรมใจ วังศิริไพศาล นักวิชาการศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการสัมมนาวิชาการสถาบันเอเชียศึกษา ปี 2555 “จากน่านทะเลอันดามันถึงทะเลจีนใต้ : เอเชียกับก้าวย่างของประเทศไทย” ว่า ได้ทำวิจัยเรื่อง “เมื่อพม่าเปลี่ยนแปลง ฤาแรงงานพม่าในไทยจะคืนถิ่น?” ระหว่างเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2555 ได้สำรวจความคิดเห็นแรงงานพม่าที่เข้ามาทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายและผิดกฎหมายทั้งชายและหญิง อายุ 18-35 ปี รวม 204 คน ที่ทำงานด้านเกษตรกรรม ประมงต่อเนื่อง บริการทั่วไปและโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ อ.พบพระ จ.ตาก จ.สมุทรสาคร และกรุงเทพฯ เป็นเวลาตั้งแต่ 1 ปีและเกิน 5 ปี พบว่า ร้อยละ 10 ตั้งใจจะกลับพม่าในปีนี้ ร้อยละ 16 จะกลับหลังอยู่ในไทย 3 ปี แต่กลับไปแค่ชั่วคราว

รัฐเพิ่มกูรูร่วมแก้ขึ้นค่าแรง-บาทแข็งช่วย SMEs

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการแข็งค่าของค่าเงินบาทในปัจจุบันซึ่งมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการฯโดยมีนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง นายเผดิมชัยสะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน นายพันศักดิ์วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบาย นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาฯ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมประชุม

เตรียมรับ สปป.ลาวเข้า WTO หลังพิจารณานาน 16 ปี

นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า องค์การการค้าโลก หรือ World Trade Organization (WTO) เตรียมที่จะรับ สปป.ลาว เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 158 ต่อจากรัสเซียและวานูอาตู ที่เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 156 และ 157 ก่อนหน้า โดย สปป.ลาวได้ยื่นใบสมัครไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2539 ในที่สุดวันที่ 26 ตุลาคม 2555 คณะมนตรีใหญ่ WTO ได้มีมติเห็นชอบใบสมัครของสปป.ลาว ซึ่งสปป.ลาวมีหน้าที่จะต้องดำเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อให้การสมัครเข้าเป็นสมาชิก WTO มีความสมบูรณ์

เอกชนยื่น 7 ข้อเสนอ ธปท.คุมค่าเงินบาท

ภาคเอกชนโดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ยื่น 7 ข้อเสนอการดูแลค่าเงินบาทต่อภาครัฐและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้แก่ 1.ดูแลค่าเงินบาทไม่ให้มีความผันผวนเร็วเกินไป 2.ดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่ากว่าคู่แข่งในภูมิภาค โดยเฉพาะอินโดนีเซียและมาเลเซีย 3.ควรมีการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การถือครองเงินตราต่างประเทศ 4.การลดวงเงินการทำธุรกรรมในการป้องกันความเสี่ยงและลดค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถเข้าถึงมาตรการป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น 5.ควรมีการแยกบัญชีต่างประเทศ ระหว่างบัญชีที่เข้ามาลงทุนและบัญชีเก็งกำไร 6.ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการออกไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเร่งแก้ พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน และ 7.ให้ภาครัฐและเอกชนเร่งลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ

ญี่ปุ่นวางอนาคตหนีไทยไปเพื่อนบ้าน

นายเชตซูโอะ อิอุจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยช่วงครึ่งหลังปี 2555 ว่า ผู้ประกอบการญี่ปุ่นในประเทศไทยเห็นว่านโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันของรัฐบาลไทย จะส่งผลกระทบต่อค่าแรงงานให้เพิ่มสูงขึ้นในระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งไทยจะมีปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงานเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการญี่ปุ่นในไทยจึงได้เตรียมแผนรองรับปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว โดยจะมีการนำเข้าเครื่องจักรมาทดแทนการใช้แรงงานคนมากขึ้น รวมทั้งมาตรการต่อไปที่จะรองรับปัญหาดังกล่าวคือการปรับขึ้นราคาขายสินค้าในอนาคต

ครม.ตั้งบอร์ดช่วย SMEs กระทบขึ้นค่าแรง 300 บาท

นพ.ทศพร เสรีรักษ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ทั้งจากปัจจัยภายในและนอกประเทศในช่วงที่ผ่านมา อาทิ วิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออก การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท และการปรับเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำที่ 300 บาท

Kbank ปรับแผนช่วย SMEs พักหนี้ เพิ่มทุน ปล่อยกู้เครื่องจักร

นายพัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า จากการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการเกษตร เฟอร์นิเจอร์ไม้ สิ่งทอ และพลาสติก ที่ต้องอาศัยแรงงานจำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น ทั้งนี้มีหลายจังหวัดที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง อาทิ จังหวัดในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้

ร่าง 5 มาตรการด่วนเสนอ ครม. ช่วย SMEs

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้ทางกระทรวงได้ร่างมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี พร้อมเสนอที่ประชุมครม.ให้ความเห็นชอบในสัปดาห์หน้า โดยจะแบ่งเป็น 5 มาตรการเร่งด่วน และ 2 มาตรการ เพื่อการเพิ่มศักยภาพและเตรียมพร้อมของ SMEs ระยะยาว โดยเบื้องต้นคาดว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะจัดงบผ่านแนวทางดังกล่าวไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท

อรท.วอนรัฐเร่งแก้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

ตัวแทนองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (อรท.) กว่า 20 คน นำโดย นายมนัส โกศล ประธาน อรท.เข้าพบนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.กระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้สนับสนุนในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย “ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่...) พ.ศ. ... (ฉบับผู้ใช้แรงงาน)” โดยมีประเด็นที่แก้ไขเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำนวน 14 ประเด็น