รัฐเพิ่มกูรูร่วมแก้ขึ้นค่าแรง-บาทแข็งช่วย SMEs

เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการแข็งค่าของค่าเงินบาทในปัจจุบันซึ่งมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการฯโดยมีนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง นายเผดิมชัยสะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน นายพันศักดิ์วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบาย นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาฯ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมประชุม

 


  เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2556 ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และการแข็งค่าของค่าเงินบาทในปัจจุบันซึ่งมีนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการฯโดยมีนายวราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง นายเผดิมชัยสะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน นายพันศักดิ์วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาด้านนโยบาย นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาฯ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เข้าร่วมประชุม

นายกิตติรัตน์กล่าวภายหลังการประชุมว่านายนิวัฒน์ธำรงได้รายงานจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นกรรมการเพิ่มเติม เช่นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ รมว.อุตสาหกรรม รมว.พาณิชย์ที่จะทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (สอท.) สภาหอการค้าไทย สถาบันการเงินต่างๆธนาคารต่างประเทศที่ประกอบการในไทย สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ

นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการปิดกิจการในภาคอุตสาหกรรมบางแห่งพบว่าหลายรายเป็นเรื่องการหยุดประกอบกิจการก่อนหน้านี้ซึ่งเป็นภาวะทั่วไปในการหยุดกิจการไม่ว่าจะมีผลจากค่าแรงหรือไม่ แต่ก็มีหลายรายที่กำลังขยายกิจการใหม่สิ่งเหล่านี้ก็เกิดควบคู่กันไป แต่ขณะนี้จากข้อมูลยังไม่พบสัญญาณผิดปกติใดๆ แต่ยังต้องเตรียมตัวรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

พร้อมกันนี้ยังได้หารือกันถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจเอสเอ็มอีด้านการส่งออก โดยได้สอบถามถึงสาเหตุการแข็งค่าของเงินบาทเกิดจากอะไร ซึ่งธปท.รายงานว่าเกิดจากเงินทุนไหลเข้าในช่วงสั้นๆ โดยเฉพาะช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาและมีความเสี่ยงเพราะเงินทุนเหล่านี้แม้จะมาถือตราสารระยะยาว แต่หากนักลงทุนต้องการขายออกก็มีสิทธิ์ทำได้ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้ค่าเงินแข็งและยังไม่มีหลักประกันว่าเงินทุนเหล่านี้จะอยู่ในระยะยาว

ขณะที่สภาพัฒน์ได้ชี้แจงถึงทิศทางที่รัฐบาลได้วางแผนไว้ซึ่งเป็นมาตรการระยะปานกลางและยาว เช่น การส่งเสริมให้ไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งที่ประชุมมีข้อสังเกตว่าอาจจะทวนกระแสการแข็งค่าของเงินซึ่งอาจไม่ใช่มาตรการที่ดีพอ ดังนั้นจึงเห็นว่าควรจะหารือเฉพาะในส่วนที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักการเงินว่าจำเป็นจะต้องดำเนินนโยบายทางการเงินอะไรหรือไม่ ที่จะดูแลการไหลเข้าของเงินทุนที่เรียกว่ามีความเสี่ยง

“ยืนยันได้ว่ารัฐบาลไม่มีความคิดที่จะใช้มาตรการควบคุมการไหลเข้าออกของเงินเด็ดขาด รวมถึงไม่คิดใช้มาตรการภาษีที่จะกระทบกับระบบอัตราผลตอบแทนไม่ว่าจากการลงทุนหรือเงินปันผล เพราะเราเป็นประเทศเปิดที่ประชุมจึงมอบหมายให้ผมเรียกประชุมร่วมกับผู้ว่าฯธปท. คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ต่อไปแต่ขอย้ำว่าสิทธิในการตัดสินใจที่เกี่ยวกับนโยบายการเงินเป็นเรื่องของธปท.และกนง.” นายกิตติรัตน์กล่าว

นายกิตติรัตน์ย้ำว่านายกฯและที่ประชุมเป็นห่วงเรื่องค่าเงินบาทอยากเห็นเสถียรภาพการที่เงินบาทแข็งค่ามากในสองสามวันที่ผ่านมาและทำท่าอ่อนตัวลงจะต้องดูเรื่องของการเก็งกำไรโดยนายกฯเป็นห่วงว่าภาคธุรกิจจะได้รับผลกระทบไปด้วย

NEWS & TRENDS