แฉทุจริตปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีแบงก์เพียบ

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ณ สิ้นปี 2555 ธนาคารมียอดเอ็นพีแอล สูงถึง 3.13 หมื่นล้านบาท และ BIS ที่ระดับ 3.28% พบสาเหตุที่ทำให้เอ็นพีแอล สูงจนทำให้ธนาคารเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง BIS ต่ำกว่ามาตรฐานธปท. กำหนดไว้ที่ 8.5% นั้น เกิดจากการธนาคารมีการปล่อยสินเชื่อจำนวนมากในปี 2552-2554 วงเงินสินเชื่อถึง 9 หมื่นล้านบาท และกลายเป็นเอ็นพีแอลประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ 100-200 ล้านบาทต่อราย ทั้งนี้ จากตรวจสอบลูกหนี้ 100 รายใหญ่ ที่ทำให้มีเอ็นพีแอล ถึง 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ดำเนินการตรวจสอบเจอแล้ว 2-3 ราย วงเงินสินเชื่อต่อรายประมาณ 100 ล้านบาท นับว่าเป็น การปล่อยสินเชื่อผิดวัตถุประสงค์ของแบงก์ เนื่องจากปล่อยสินเชื่อรายใหญ่วงเงินเกิน 20 ล้านบาท และให้วางหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่เป็นสินทรัพย์เสื่อมมูลค่า ไม่ได้เป็นสัมปทานทางธุรกิจ เป็นต้น

 


  แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ณ สิ้นปี 2555 ธนาคารมียอดเอ็นพีแอล สูงถึง 3.13 หมื่นล้านบาท และ BIS ที่ระดับ 3.28% พบสาเหตุที่ทำให้เอ็นพีแอล สูงจนทำให้ธนาคารเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง BIS ต่ำกว่ามาตรฐานธปท. กำหนดไว้ที่ 8.5% นั้น เกิดจากการธนาคารมีการปล่อยสินเชื่อจำนวนมากในปี 2552-2554 วงเงินสินเชื่อถึง 9 หมื่นล้านบาท และกลายเป็นเอ็นพีแอลประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ 100-200 ล้านบาทต่อราย ทั้งนี้ จากตรวจสอบลูกหนี้ 100 รายใหญ่ ที่ทำให้มีเอ็นพีแอล ถึง 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ดำเนินการตรวจสอบเจอแล้ว 2-3 ราย วงเงินสินเชื่อต่อรายประมาณ 100 ล้านบาท นับว่าเป็น การปล่อยสินเชื่อผิดวัตถุประสงค์ของแบงก์ เนื่องจากปล่อยสินเชื่อรายใหญ่วงเงินเกิน 20 ล้านบาท และให้วางหลักทรัพย์ค้ำประกัน ที่เป็นสินทรัพย์เสื่อมมูลค่า ไม่ได้เป็นสัมปทานทางธุรกิจ เป็นต้น

แหล่งข่าว กล่าวต่อว่า ยังมีการพบทุจริตในการปล่อยสินเชื่อดังกล่าว ในรูปแบบการรับซื้อเช็ค รวมมูลค่า 100 กว่าล้านบาท ถือว่าทำให้ธนาคารไม่มีใบเสร็จในการปล่อยสินเชื่อ เพราะไม่ได้ระบุชื่อผู้รับผิดชอบปล่อยสินเชื่อ เมื่อการสินเชื่อมีปัญหาเอ็นพีแอล จึงไม่สามารถติดตามเอาผิดได้ และยังพบหนี้รีไฟแนนซ์ ที่ปล่อยวงเงินสินเชื่อเกินมูลหนี้เดิม ส่วนใหญ่มาจากธนาคารกสิกรไทย และทหารไทย ในช่วงปี 2553-2554 รวมกันประมาณ 2 พันล้านบาท นอกจากนี้ยังได้รับการร้องเรียนทางวาจาว่า การปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่ผ่านมา ใครจะกู้เอสเอ็มอีแบงก์ ต้องจ่ายค่าหัวคิว 10% เบื้องต้นประเด็นนี้ ยังต้องติดตามหลักฐานเพื่อหาข้อเท็จจริงต่อไป

ที่มา : บ้านเมือง

NEWS & TRENDS