3 หัวเมืองนำร่องไทยแลนด์ฟู้ดวัลเลย์

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งหาหน่วยงานด้านวิจัยและเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการค้นคว้าวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์อาหารมุ่งต่อยอดโครงการไทยแลนด์ฟู้ดวัลเล่ย์ (Thailand Food Valley) โครงการที่ดำเนินรอยตามแนวคิดหุบเขาอาหารแห่งเนเธอร์แลนด์ประเทศผู้นำด้านการวิจัยและพัฒนาอาหารโดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาอาหารให้มีความเข้มแข็ง ต่อยอดผลิตสินค้าเชิงนวัตกรรมตอบสนองตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างไปตามวัฒนธรรมการบริโภคพร้อมวางพื้นที่เป้าหมายนำร่อง 3 แห่งแรกได้แก่ ภาคเหนือ(จังหวัดเชียงใหม่)เตรียมตั้งเป็นศูนย์กลางในเรื่องผักและผลไม้แปรรูป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา) เป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประตูสู่ภาคใต้ เป็นศูนย์กลางด้านผลิตภัณฑ์ประมง สับปะรดและมะพร้าวควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เป็นต้น

 


กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งหาหน่วยงานด้านวิจัยและเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการค้นคว้าวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์อาหารมุ่งต่อยอดโครงการไทยแลนด์ฟู้ดวัลเล่ย์ (Thailand Food Valley) โครงการที่ดำเนินรอยตามแนวคิดหุบเขาอาหารแห่งเนเธอร์แลนด์ประเทศผู้นำด้านการวิจัยและพัฒนาอาหารโดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาอาหารให้มีความเข้มแข็ง ต่อยอดผลิตสินค้าเชิงนวัตกรรมตอบสนองตลาด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างไปตามวัฒนธรรมการบริโภคพร้อมวางพื้นที่เป้าหมายนำร่อง 3 แห่งแรกได้แก่ ภาคเหนือ(จังหวัดเชียงใหม่)เตรียมตั้งเป็นศูนย์กลางในเรื่องผักและผลไม้แปรรูป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา) เป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประตูสู่ภาคใต้ เป็นศูนย์กลางด้านผลิตภัณฑ์ประมง สับปะรดและมะพร้าวควบคู่ไปกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ เป็นต้น
 
โดยปัจจุบันมีหน่วยงานวิจัยร่วมโครงการฯ อาทิ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นต้นอย่างไรก็ตาม ประเทศไทยจะสามารถเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอาหารได้ต้องมีแนวทางการพัฒนาอาหารอย่างเหมาะสมและครบวงจรเพิ่มมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิตเพื่อพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคอาเซียน สำหรับผู้ประกอบการ SMEsหรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้ารับบริการของกสอ. ได้ 
 
นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารไทยถือเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยค่อนข้างสูง หากดูจากสถานการณ์การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จะพบว่า มูลค่าการส่งออกมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องกว่าร้อยละ 20 ต่อปี โดยปัจจัยบวกที่สำคัญที่ส่งผลให้การส่งออกขยายตัว คือการขยายตัวของการส่งออกไปยังตลาดอาเซียน แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของอุตสาหกรรมอาหาร คือ ปัญหาด้านมาตรฐานการผลิตสินค้าอาหาร และปัญหาด้านประสิทธิภาพการผลิต ที่มีต้นทุนการผลิตสูงแต่ผลิตภาพอาหารต่ำ อีกทั้งยังขาดการวิจัยและพัฒนาอาหาร ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้ จึงส่งผลให้หลายประเทศติดปัญหาของการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารหลายประการดังนั้น การเริ่มต้นพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารผ่านการวิจัยและพัฒนา จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยก้าวกระโดดไปข้างหน้าและเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมไฮเทคอย่างเต็มตัวได้
 
นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารผ่านการวิจัยและพัฒนาเป็นหลัก เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกันได้ เนื่องจากในปัจจุบันมีกลุ่มผู้บริโภคอาหารหลายกลุ่ม อาทิ อาหารสำหรับเด็กทารก อาหารสำหรับผู้ป่วย อาหารสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยอาหารเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้บริโภคที่ต่างกันโดยโครงการ Thailand Food Valley เป็นโครงการที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งเน้นการพัฒนาอาหารให้มีศักยภาพ นำงานวิจัยมาต่อยอดผลิตสินค้าเชิงนวัตกรรมเพื่อตอบสนองตลาด และเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ตลอดจนเพิ่มการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กลุ่มอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวางทั้งนี้ ยังให้ความสำคัญต่อการวิเคราะห์ตลาดเพื่อคัดสรรงานวิจัยที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมการบริโภคของแต่ละตลาด อันจะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่อุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทย                   
 
ด้าน นางวันเพ็ญ รัตนกังวาน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป  กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สำหรับโครงการ Thailand Food Valley นี้ ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้พยายามเร่งสร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อต่อยอดการพัฒนาโครงการ Thailand Food Valley ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการมากยิ่งขึ้น อาทิ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ผลิตอาหาร สถาบันวิจัยและพัฒนา ตลอดจนสถาบันการศึกษา ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการค้นคว้าวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์อาหาร ซึ่งในขณะนี้ทางกรมฯ ได้สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารใหม่ ๆ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้ประโยชน์สวนอุตสาหกรรมของมหาวิทยาลัยที่สามารถทำการวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาอาหารได้อย่างครบวงจร นอกจากนี้ ยังได้สร้างความร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการค้นคว้า วิจัยรูปแบบอาหารในลักษณะเฉพาะทางและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการพัฒนาเนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น พร้อมกันนี้จะยังคงเดินหน้าประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอีกหลายแห่ง ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคที่กรมฯจะจัดตั้งเป็นพื้นที่เป้าหมายของโครงการฯ ดังกล่าว
 
นางวันเพ็ญ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการ Thailand Food Valley ด้วยการสนับสนุนการคิดค้น วิจัย ด้านอาหาร รวมถึงเป็นศูนย์ประสานระหว่างผู้เป็นเจ้าขององค์ความรู้กับภาคธุรกิจและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความรู้โดยเอื้ออำนวยให้ภาคธุรกิจ สถาบันวิจัยและผู้เชี่ยวชาญทำงานร่วมกัน ซึ่งกรมฯได้วาง 3 พื้นที่เป้าหมายของการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่)เตรียมตั้งเป็นศูนย์กลางในเรื่องผักและผลไม้แปรรูป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดนครราชสีมา) เป็นศูนย์กลาง ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประตูสู่ภาคใต้ เป็นศูนย์กลางด้านผลิตภัณฑ์ประมง สับปะรดและมะพร้าว ซึ่งนอกเหนือจากการสร้างเครือข่ายกรมส่งเริมอุตสาหกรรม ยังได้วางแผนกรอบการดำเนินงานในปี 2556 ด้วยการเชื่อมโยงงานวิจัยสู่ SMEs การนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ให้แก่SMEs จำนวน120 ราย การให้ความรู้ด้านมาตรฐาน อาหารปลอดภัย สำหรับบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ตลอดจนการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาให้โครงการ Thailand Food Valley มีความเป็นรูปธรรมและก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคอาเซียนได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

NEWS & TRENDS