ลางร้าย SMEs ส่อเค้าเกิดปัญหาเบี้ยวชำระหนี้

นายประชา ชัยสุวรรณ ประธานชมรมผู้ติดตามหนี้ที่เป็นธรรม และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชฎฐ์ คอลเลคชั่น แมนเนจเมนท์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การติดตามหนี้ในช่วงครึ่งปีหลังว่า ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณชัดเจนว่า ลูกค้าเริ่มมีปัญหาการชำระหนี้มากขึ้น โดยเจรจาขอลดวงเงินการผ่อนชำระหนี้ลงมาจากเดิม ซึ่งสะท้อนถึงขีดความสามารถในการทำมาหาได้

 


นายประชา ชัยสุวรรณ ประธานชมรมผู้ติดตามหนี้ที่เป็นธรรม และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เชฎฐ์ คอลเลคชั่น แมนเนจเมนท์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การติดตามหนี้ในช่วงครึ่งปีหลังว่า ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณชัดเจนว่า ลูกค้าเริ่มมีปัญหาการชำระหนี้มากขึ้น โดยเจรจาขอลดวงเงินการผ่อนชำระหนี้ลงมาจากเดิม ซึ่งสะท้อนถึงขีดความสามารถในการทำมาหาได้

นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มลูกหนี้ที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มลูกหนี้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีการใช้สินเชื่อส่วนบุคคล หรือกดเงินสดมาเป็นเงินหมุนเวียนทำธุรกิจ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องไม่สามารถหมุนเงินได้ทัน และหาเงินมาไม่พอชำระหนี้ จึงมีโอกาสเป็นหนี้เสียสูงมาก

ขณะที่ลูกค้าที่เป็นกลุ่มมนุษย์เงินเดือนจะมีอัตราส่วนการเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้น และขอลดการผ่อนชำระต่องวดลดลง โดยมีการเจรจาขอผ่อนในอัตราขั้นต่ำ เนื่องจากมีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง แต่ก็ยังสามารถประคับประคองผ่อนชำระได้

นายประชา กล่าวอีกว่า ถ้าพิจารณาปริมาณหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) หรือการติดตามหนี้ ไม่ได้มีจำนวนที่เพิ่มขึ้น เพราะฐานสินเชื่อใหญ่ขึ้น อีกทั้งลูกหนี้มีความระมัดระวังด้วยเกรงว่าจะมีประวัติเสียในการชำระเงิน

อย่างไรก็ตาม ปริมาณงานการติดตามหนี้เริ่มเข้ามามากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาสถาบันการเงินในระบบมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น รวมทั้งรัฐบาลมีนโยบายรถคันแรก ทำให้มีฐานลูกค้าสินเชื่อหรือลูกค้าที่จะต้องให้ติดตามหนี้เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับฐานการปล่อยสินเชื่อรวม ยังไม่เห็นว่ามีปัญหาหนี้เสียมากนัก เพราะในช่วงนี้ลูกค้ายังผ่อนชำระได้อยู่ หากใครผ่อนไม่ไหวก็รีบตัดสินใจขายรถ ซึ่งยังคงได้ราคาดี ไม่ขาดทุนมากนัก

ทั้งนี้ ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในสิ้นไตรมาสแรก ปี 2556 ระบบสถาบันการเงินมียอดการให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนรวมกันอยู่ที่ 8.97 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 7.72 ล้านล้านบาท เพิ่มสูงขึ้น 1.25 ล้านล้านบาท หรือ 16.24% ในจำนวนนี้เป็นการปล่อยกู้ของระบบธนาคารพาณิชย์ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 7.84 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 6.83 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านบาท ที่เหลืออีก 8.84 แสนล้านบาท เป็นการปล่อยกู้ของบริษัทบัตรเครดิตลีสซิ่ง สินเชื่อบุคคล เพิ่มขึ้น 2.44 แสนล้านบาท

ที่มา : www.posttoday.com/


 

NEWS & TRENDS