ยูโอบีชูสินเชื่อ BizEazy เจาะ SMEs กลุ่ม Gen-Y

สยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Country Head, ธุรกิจ SME ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้เสียงตอบรับจากกลุ่มลูกค้า SME นับว่าดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้จากยอดสินเชื่อและจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังถือว่าฐานลูกค้า SME ของธนาคารยังเล็ก จึงต้องเร่งขยายให้มากกว่าเดิม และเทรนด์หนึ่งที่เรามองเห็นนั่นคือ ในประเทศเรามีเป็น SME ประมาณ 2.7 ล้านราย ใน 2.7 ล้านรายนี้ มีผู้ประกอบการใหม่เกิดขึ้นทุกปี ประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ และส่วนมากจะเป็นผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ เพราะปัจจุบันคน Gen-Y ไม่อยากทำงานเป็นลูกจ้าง เด็กกลุ่มนี้จะมองอีกแบบ อยากที่จะแตกไลน์ธุรกิจเป็นของตัวเอง ไม่อยากทำเหมือนกับพ่อแม่ ฉะนั้นการที่จะเติบโตเองก็อาจจะเป็นเรื่องยากนิดหนึ่งในการที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพราะส่วนใหญ่แบงก์มักจะขอดูงบการเงิน ดูรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งกลายเป็นข้อจำกัดให้กับคนกลุ่มนี้ไป”

 



นายสยุมรัตน์ มาระเนตร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Country Head, ธุรกิจ SME ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้เสียงตอบรับจากกลุ่มลูกค้า SME นับว่าดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้จากยอดสินเชื่อและจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังถือว่าฐานลูกค้า SME ของธนาคารยังเล็ก จึงต้องเร่งขยายให้มากกว่าเดิม และเทรนด์หนึ่งที่เรามองเห็นนั่นคือ ในประเทศเรามีเป็น SME ประมาณ 2.7 ล้านราย ใน 2.7 ล้านรายนี้ มีผู้ประกอบการใหม่เกิดขึ้นทุกปี ประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ และส่วนมากจะเป็นผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ เพราะปัจจุบันคน Gen-Y ไม่อยากทำงานเป็นลูกจ้าง เด็กกลุ่มนี้จะมองอีกแบบ อยากที่จะแตกไลน์ธุรกิจเป็นของตัวเอง ไม่อยากทำเหมือนกับพ่อแม่ ฉะนั้นการที่จะเติบโตเองก็อาจจะเป็นเรื่องยากนิดหนึ่งในการที่จะเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพราะส่วนใหญ่แบงก์มักจะขอดูงบการเงิน ดูรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งกลายเป็นข้อจำกัดให้กับคนกลุ่มนี้ไป”

ด้วยเหตุนี้เอง ธนาคารยูโอบีจึงมองเห็นโอกาสที่จะเข้ามาเติมเต็มความต้องการดังกล่าว จึงได้ออกสินเชื่อใหม่ BizEazy เพื่อมาช่วยสนับสนุนลูกค้า SMEห ที่มีความต้องการสินเชื่อสำหรับการดำเนินธุรกิจ มีระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดถึง 10 ปี โดยจุดเด่นของสินเชื่อนี้คือ ขั้นตอนในการอนุมัติจะเร็วขึ้นเนื่องจากใช้แค่ Bank Statement 6 เดือนล่าสุด โดยไม่ต้องใช้งบการเงินประกอบ อีกทั้งสามารถใช้หลักประกันที่หลากหลายได้ ไม่ว่าจะเป็นเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือแม้แต่ที่ดินเปล่า  ซึ่งหากเป็นระบบการขอสินเชื่อแบบเก่าจะต้องใช้งบการเงินและเอกสารประกอบมากมาย ทำให้ผลการอนุมัติเป็นไปอย่างล่าช้า ไม่ทันต่อความต้องการของลูกค้าที่ต้องการวงเงินสินเชื่อในขณะนั้น 

“ถ้าเขาดำเนินธุรกิจมาสักพักแล้ว เขาก็มีการหมุนเวียนเงินในบัญชี ดังนั้น แค่ Bank Statement ก็เพียงพอแล้ว ว่าเขาทำธุรกิจจริงๆ จะง่ายกว่าไหมถ้าหากจะคุยกับเด็กที่รักอิสระ ชอบทำธุรกิจสบายๆ ไม่ต้องการที่จะผูกมัดเยอะ เพียงแค่คุณมี Bank Statement และพอที่จะมีหลักทรัพย์บ้าง คุยกันแบบง่ายๆ เราให้สินเชื่อถึง 10 ปี 10 ล้านบาท เพราะเรามองว่า ช่วงของการเริ่มต้นสำคัญ ถ้าเขาเพิ่งเริ่มแล้วคุณบอกว่า เราให้แค่ 3 ปีนะ ไม่มีทางทำได้ การให้ระยะเวลาในการผ่อนชำระที่นานขึ้น ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้เขามีมากขึ้นด้วย ทำให้มีเงินหมุนในธุรกิจได้ดีขึ้น ไม่ใช่ว่าทำมาทุกบาททุกสตางค์ก็คืนแบงก์หมด เรามองว่าถ้าเป็นการผูกใจ เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มเพิ่งเริ่มต้น ไม่มีอะไรสายเกินไปที่ยูโอบีจะเริ่มต้นอย่างนี้  เรามองว่าเทรนด์ไปทางนี้ แต่ก็ต้องอยู่ในความเสี่ยงที่แบงก์รับได้ด้วย” 

อย่างไรก็ดี ด้วยระยะเวลาผ่อนชำระนาน 10 ปี สำหรับ SME ขนาดเล็ก ต้องถือว่าเป็นการฉีกจากตลาดทั่วไป ทั้งนี้ สยุมรัตน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาธนาคารยูโอบีได้เคยสร้างความแตกต่างในตลาดมาแล้ว ด้วยการทำสินเชื่อ 30 ปีสำหรับ SME และวันนี้ทำสินเชื่อ 10 ปี สำหรับลูกค้าขนาดเล็ก โดยที่ธนาคารไม่ได้สนใจว่าจะเป็นธนาคารเล็กหรือใหญ่ แต่มองที่ความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เพราะวันนี้ตลาดเป็นของลูกค้า ไม่ใช่ของธนาคารอีกต่อไปแล้ว ดังนั้น ลูกค้ามีสิทธิ์ที่จะเลือก การสร้างความแตกต่างและการเป็นผู้นำสำหรับธนาคารยูโอบีนั่นคือ ความสวยของการเป็นคนตัวเล็ก

“การทำตลาดลูกค้าขนาดเล็ก ถ้าคนอื่นมองว่ายาก เราต้องมองต่างว่าเป็นความท้าทาย ลูกค้าของเรามาจากการแนะนำต่อๆ กันมาเยอะมาก ปัจจุบันเราเพิ่มจำนวนพนักงานสินเชื่อเพื่อมุ่งเน้นบริการแบบ One Stop Service โดยเราจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับเขา แม้เขาจะเป็นลูกค้ารายเล็กก็ตาม ลูกค้ารายเล็กสำหรับบางแบงก์เขาอาจจะดูแลแบบลูกค้าบุคคล แต่ที่ยูโอบีไม่ใช่ รายเล็กของเราวงเงินสูงสุดที่ 40 ล้านบาท ฉะนั้น คุณมาขอกู้ 2 แสน 3 แสน หรือ1 ล้าน ไปจนถึง 40 ล้าน เราก็พร้อมที่จะดูแล โดยที่เราเองก็จะมีการแบ่งกลุ่มกันภายในว่าจะดูแลอย่างไรด้วย” 




 

NEWS & TRENDS