ต้นทุนผลิตสูง-เศรษฐกิจไม่ดีดึง SMEs ชะลอลงทุน

นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการ และบริษัทหลายแห่งในประเทศไทย กำลังประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้มีการพยายามลดต้นทุนโดยการระมัดระวังในการรับพนักงานเพิ่ม หรือบางรายก็ได้มีการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาใช้ทดแทนแรงงานคน เป็นผลให้แรงงานไทยเริ่มหางานได้ยากลำบากมากขึ้นนอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาจากการส่งออกของไทยที่ชะลอตัวก็มีผลต่อการรับพนักงานด้วยเช่นกัน อีกทั้งผู้ประกอบการยังได้มีการนำสินค้าบางส่วนมาขายในประเทศ เพื่อระบายสต๊อกแทน ทำให้เกิดการแย่งชิงตลาดสินค้าในประเทศขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการลดราคาแข่งขัน จนบางรายแทบไม่มีกำไรหรือขาดทุนและในที่สุดปัญหาดังกล่าวก็ทำให้บริษัทจำเป็นต้องเลือกรับพนักงานใหม่ที่รอบคอบเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

 

นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการ และบริษัทหลายแห่งในประเทศไทย กำลังประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้มีการพยายามลดต้นทุนโดยการระมัดระวังในการรับพนักงานเพิ่ม หรือบางรายก็ได้มีการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาใช้ทดแทนแรงงานคน เป็นผลให้แรงงานไทยเริ่มหางานได้ยากลำบากมากขึ้นนอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาจากการส่งออกของไทยที่ชะลอตัวก็มีผลต่อการรับพนักงานด้วยเช่นกัน อีกทั้งผู้ประกอบการยังได้มีการนำสินค้าบางส่วนมาขายในประเทศ เพื่อระบายสต๊อกแทน ทำให้เกิดการแย่งชิงตลาดสินค้าในประเทศขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการลดราคาแข่งขัน จนบางรายแทบไม่มีกำไรหรือขาดทุนและในที่สุดปัญหาดังกล่าวก็ทำให้บริษัทจำเป็นต้องเลือกรับพนักงานใหม่ที่รอบคอบเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

“นอกจากผู้ผลิตต้องการลดต้นทุนการผลิตที่สูงลงแล้ว ผลกระทบจากการส่งออกไทยที่ชะลอตัวอย่างมากจากเดิมที่มีการตั้งเป้าขยายตัวในปี’56 ในระดับ 7-7.5% แต่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ปรับตัวเลขเหลือลง 0% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกไม่ดี ก็เป็นผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องลดกำลังการผลิตลงอีกด้วย อีกทั้งการหางานทำในช่วงนี้ค่อนข้างยากต่างจากช่วงปลาย’55 ถึงต้นปี’56 ที่หลายๆบริษัทประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน จนทำให้ผู้ประกอบการต้องแย่งแรงงานโดยการให้ค่าจ้างที่สูงในการดึงดูดใจ”

ทั้งนี้ปัญหาการหางานทำที่ยากขึ้น ได้เกิดในหลายพื้นที่ ทั้งในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และในต่างจังหวัด ประชาชนก็กำลังประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่อยู่ไกลกับเส้นทางโลจิสติกส์ และผลกระทบเกี่ยวเนื่องมาจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศเท่ากัน ก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ผู้ประกอบการเกิดภาระเพิ่ม ส่งผลให้บางรายต้องปิดกิจการหรือย้ายฐานการผลิตมาอยู่ใกล้เส้นทางโลจิสติกส์ บางรายก็เกิดนโยบายรัดเข็มขัดขึ้น การจ้างงานก็ลดน้อยลงตามไปด้วย

นอกจากนี้ยังต้องยอมรับว่าปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง และการจำหน่ายสินค้าได้ลำบากส่งผลให้สถานการณ์ในช่วงนี้ไม่มีแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการธุรกิจโดยเห็นจากดัชนีความเหมาะสมในการลงทุนทำธุรกิจของ SMEs ในเดือนพ.ย. 2556 ที่อยู่ในระดับ 70.4 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 89 เดือนนับตั้งแต่มีการทำผลสำรวจในเดือนก.ค. 2548 เป็นต้นมา เนื่องจากผลกระทบจากต้นทุนการผลิตสูง เศรษฐกิจชะลอตัว และการขายสินค้าได้ลำบาก ส่งผลให้ SMEsต้องมีการชะลอการลงทุนลงเพื่อรอโอกาสให้เศรษฐกิจฟื้นกลับคืนมาในปี’57 ที่หลายฝ่ายประเมินว่าประเทศต่างๆทั่วโลกจะดีขึ้นจากเดิม และจากการสำรวจของหอการค้าไทยที่ผ่านมาพบว่าภาคเอกชนระมัดระวังในการใช้จ่ายอย่างมาก โดยส่วนใหญ่ต้องรอโอกาสการฟื้นตัวเศรษฐกิจอีกครั้งแล้วค่อยมีการลงทุนขยายกิจการต่อไป

อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าการผลักดันโครงการเมกะโปรเจกท์ของรัฐบาลโดยเฉพาะการลงทุน 2 ล้านล้านบาท จะเป็นปัจจัยที่มีผลทำให้การลงทุนของภาคเอกชนกลับการคึกคักอีกครั้ง เนื่องจากจะทำให้มีการตั้งบริษัทผู้รับเหมาและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เพื่อรับงานต่อๆกันไป แต่หากไม่มีโครงการใหญ่ๆ ก็ไม่มีผลต่อการกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนมากนัก เพราะงบลงทุนทั่วไปตามปกติของรัฐบาลส่วนใหญ่ก็จะเป็นงบฯในการซ่อมแซมถนน ซ่อมแซมสถานที่ต่างๆ

 

NEWS & TRENDS