แนวโน้มตลาดแรงงานเมินวุฒิปริญญาเน้นเด็กอาชีวะ

เปิดแนวโน้มตลาดแรงงานชี้ต้องการเด็กจบ ป.ตรี ลดลงเหลือแค่ 10% ขณะที่ต้องสายอาชีวะถึง 50%



    รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช นายกสมาคมวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการร่วมเวทีเสวนากับผู้แทนสภาอุตสาหกรรม เมื่อเร็วๆนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มตลาดแรงงานมีความต้องการผู้ที่จบระดับปริญญาตรี ประมาณ 10% ในขณะที่ต้องการผู้ที่จบสายอาชีวศึกษาถึง 50% ส่วนที่เหลือเป็นแรงงานที่ต่ำว่ามัธยมศึกษา 

    ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบันเด็กไทยยังมีค่านิยมเรียนปริญญาตรี ดังนั้นจากแนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานจะเห็นว่าโอกาสที่คนจบปริญญาตรีแล้วไม่มีงานทำจะสูงมาก ผู้ที่จบปริญญาตรีอาจต้องทำคือการมีธุรกิจส่วนตัว แต่จากข้อมูลทราบว่าคนที่ประกอบธุรกิจแล้วล้มเหลวมีมากถึง 70% 

    เพราะฉะนั้นสุดท้ายเราอาจจะพบว่ามีคนที่จบปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ต้องกลับมาเรียนสายวิชาชีพโดยการเทียบโอนวิชาสามัญมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็พบแนวโน้มนี้บ้างแล้ว และยังพบด้วยว่าผู้ที่จบระดับปริญญาตรียอมใช้วุฒิการศึกษาระดับประกาศนีย บัตรวิชาชีพ(ปวช.)หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ในการสมัครงานด้วย

    รศ.ดร.จอมพงศ์ กล่าวต่อไปว่า ในอนาคตคงต้องรับเทียบโอนคนที่จบปริญญาเพื่อให้มีคุณวุฒิทางวิชาชีพ โดยระบบทวิภาคี ซึ่งจะเป็นระบบการเรียนที่เหมาะสมที่สุด เพราะคนที่จบปริญญาจะมีคุณวุฒิทางวิชาการ แต่ภาคอุตสาหกรรมต้องการคนมีทักษะทางวิชาชีพ หากเรียนในระบบทวิภาคีก็จะได้เรียนภาคปฏิบัติในสถานประกอบการที่กำลังเป็น ที่ต้องการอย่างมาก ซึ่งขณะนี้ทางสมาคมได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา เอกชน(สช.)และ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พัฒนาฐานสมรรถนะเพื่อแทรกเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน เมื่อผู้เรียนจบในสายวิชาชีพก็จะสามารถเทียบระดับกับคุณวุฒิวิชาชีพที่ มีอยู่ได้

    “ การปรับทิศทางการจัดการศึกษาสายอาชีพ โดยการเชิญผู้ที่จบระดับปริญญากลับมาเรียนในระบบทวิภาคีจะสามารถช่วยเพิ่ม จำนวนแรงงาน เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานได้มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาคนเรียนสายอาชีพจะไม่ค่อยตกงานอยู่แล้ว เพราะแม้ว่าจะไม่ได้ทำงานบริษัทก็สามารถประกอบอาชีพส่วนตัวได้ ทั้งนี้ผู้ที่สนใจเทียบโอนสายอาชีพสามารถติดต่อได้ที่สมาคมวิทยาลัย เทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย หรือที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จะได้ประสานสถานศึกษาที่รับเทียบ

NEWS & TRENDS